Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ติวนักวิจัยใหม่ชู “โครงการพระราชดำริ” ผลงานวิชาการรับใช้สังคม  

          สกว.จับมือ สกอ. ปลุกพลังนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และต่อยอดผลงานวิจัยให้ “ไม่ขึ้นหิ้ง” ท่ามกลางสภาวการณ์การแข่งขันค่อนข้างสูงและท้าทาย พร้อมแนะให้ดู “โครงการพระราชดำริ” เป็นตัวอย่างของผลงานวิชาการรับใช้สังคม ขณะที่เมธีวิจัยอาวุโส สกว.ย้ำนักวิจัยต้องไม่ทิ้งราก เพราะการต่อยอดงานสู่พาณิชย์ต้องมีความรู้พื้นฐานที่ดีและเป้าหมายที่ชัดเจน
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการ สกว. ด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา “โครงการฝ่ายวิชาการ สกว. สัญจร ครั้งที่ 2” ภาคกลาง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ทิศทางการให้ทุนวิจัยรูปแบบใหม่และยุทธศาสตร์ต่างๆ ของ สกว. และ สกอ. แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ รวมถึงแนะนำเทคนิคการนำเสนอโครงการวิจัยและผลงานวิจัยให้ได้รับการตอบรับในเชิงบวก การทำวิจัย “ไม่ขึ้นหิ้ง” พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำวิจัยที่ประสบความสำเร็จจากเมธีวิจัยอาวุโส สกว.
รองผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาวการณ์การแข่งขันค่อนข้างสูง และวิตกกังวลกับสถานะที่เป็นอยู่ ดังนั้นเราจึงต้องมองงานให้ใหญ่ขึ้น ไม่เฉพาะแค่รางวัลระดับประเทศที่ตัวเองได้รับ และต้องการความร่วมมือในระดับภูมิภาค ทั้งนี้อยากฝากกระตุ้นให้นักวิจัยรุ่นใหม่ทุกคนมองเป็นความท้าทายที่จะต้องมองไปข้างหน้าว่างานของตัวเองจะเป็นประโยชน์อย่างไรกับประเทศชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปีของประเทศ และยุทธศาสตร์ 5 ปี ของ สกว. จึงขอให้ทุกคนมีความเข้มแข็งทางวิชาการ ต่อยอดขยายผลงานวิจัยให้ใช้ได้จริงเพื่อสังคมและประเทศของเรา งานวิจัยจึงจะไม่ขึ้นหิ้ง รางวัลที่ได้รับนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางในการพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขณะเดียวกันก็เป็นหน้าที่ของทั้ง สกว. และ สกอ. ที่จะต้องสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้จริง
ขณะที่ สุทิศา จั่นมุกดา ผู้อำนวยการกลุ่มมาตรฐานการบริหารงานบุคคล สกอ. ระบุว่าการประเมินผลงานทางวิชาการจะคำนึงถึงประเภทของผลงานทางวิชาการ การเผยแพร่ การมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ และความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ โดยแบ่งประเภทของผลงานออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 งานวิจัย กลุ่มที่ 2 ผลงานวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ กรณีศึกษา งานแปล และพจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการในลักษณะเดียวกัน ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ/ศิลปะ สิทธิบัตร และซอฟต์แวร์ กลุ่มที่ 3 ผลงานวิชาการรับใช้สังคม กลุ่มที่ 4 ตำรา หนังสือ และบทความทางวิชาการ ทั้งนี้ในส่วนของผลงานวิชาการรับใช้สังคมนั้น ขอให้ดูโครงการในพระราชดำของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นตัวอย่าง ซึ่งนักวิจัยจะต้องลงไปดูว่าชุมชนมีปัญหาอะไร และใช้ความรู้ในการแก้ปัญหานั้นๆ
ศ.ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. กล่าวระหว่างการเสวนา “ทำอย่างไรงานวิจัย “ไม่” ขึ้นหิ้ง: การพัฒนานวัตกรรมและการนำไปใช้เชิงพาณิชย์” ว่าการทำวิจัยด้านสัตว์น้ำและต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมนั้นเกิดขึ้นจากโจทย์ความต้องการของชาวบ้านและใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย อย่างไรก็ตาม ผู้รับผิดชอบนโยบายยังไม่รู้บริบทของงานวิจัยอย่างแท้จริง จึงไม่เข้าใจความสำคัญของงานวิจัยพื้นฐานที่จะต้องมีรากของงานจึงจะออกดอกออกผลได้ “นักวิจัยก็ต้องมีเป้าหมายในชีวิตว่าอยากรู้เรื่องใด สนใจเรื่องใด อย่าหวั่นไหวทิ้งรากและลำต้น ที่สำคัญต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะเดินไปที่ใด แต่ต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับเจ้าของทุนได้ จะได้ไม่เสียเวลาทำงานและเกิดความยั่งยืนมากกว่า ความรักในการทำงานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้ทำวิจัยด้วยความสนุกและไม่อยากทิ้งงาน”
เช่นเดียวกับ ศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา กล่าวว่า การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยของตนเริ่มต้นจากการทำงานวิจัยพื้นฐานที่มุ่งได้ความรู้เป็นสำคัญ จนได้รับการต่อจากภาคเอกชนที่เชื่อใจ จึงสามารถขยายระดับจากห้องปฏิบัติการสู่ระดับอุตสาหกรรม สิ่งที่อยากบอกนักวิจัยคืองานวิจัยจำนวนมากไปไม่ถึงหิ้ง ไม่สามารถขึ้นหิ้งได้ เป็นเพราะงานยังไม่ดีพอจึงไม่รู้จะนำไปใช้ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังต้องมีความชัดเจนในเป้าหมายและความอดทนต่อการทำวิจัยเพื่อให้สามารถเดินทางต่อไปถึงเป้าหมายได้

Manager online 10.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร