Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ชุดตรวจไซยาไนด์ในมันสำปะหลัง ลดขั้นตอนยุ่งยาก ไม่ต้องใช้สารอันตราย  

          มจธ.ชูผลงานเพื่อการเกษตร ชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลัง ลดขั้นตอนการตรวจยุ่งยาก และไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ตรวจ
          นักศึกษาปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผลิตงานวิจัยเพื่อการเกษตรและผลผลิตส่งออก “ชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลังแบบเปรียบเทียบสีโดยใช้อนุภาคนาโนโลหะคู่” โดยมี ผศ.ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
นางสาววรวรรณ เสาวรส นักศึกษาภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ เจ้าของผลงาน กล่าวว่า มันสำปะหลังเป็นสินค้าทางการเกษตรชนิดหนึ่งที่มีมูลค่าส่งออกเป็นจำนวนมากต่อปี แต่หัวมันสำปะหลังดิบจะมีสารไซยาไนด์ (Cyanides) ในปริมาณที่ต่างกันตามสายพันธุ์ คือพันธุ์หวานประกอบอาหารได้โดยระดับปริมาณไซยาไนด์ไม่เป็นอันตราย ขณะที่มันสำปะหลังพันธุ์ขมจะมีปริมาณไซยาไนด์ที่สูง
ไซยาไนด์มีความเป็นพิษ มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและทางเดินโลหิต เป็นอันตรายมากหากรับประทานดิบ จึงไม่นิยมทานเป็นอาหารโดยตรง แต่จะนำไปแปรรูปเป็นแป้งมัน มันแห้ง มันอัดเม็ด หรืออาหารสัตว์ อีกทั้งไซยาไนด์ เป็นสารเคมีที่ใช้ในการทำงานบางอย่าง เช่น การถลุงโลหะ การสังเคราะห์สารเคมี การตรวจวิเคราะห์ทางเคมีในห้องปฏิบัติการ
ดังนั้นการทดสอบปริมาณของไซยาไนด์จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับการส่งออกผลผลิตมันสำปะหลังให้ตรงตามมาตรฐานและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค จากเดิมขั้นตอนในการตรวจสอบไซยาไนด์ในมันสำปะหลัง ต้องสกัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลังออกมาโดยใช้เอนไซม์ซึ่งมีความยุ่งยากในการเก็บรักษา และตรวจสอบการเปลี่ยนสีโดยใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษ ทำในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ
นางสาววรวรรณจึงต้องการคิดค้นวิธีการตรวจสอบที่ลดขั้นตอนและมีความเป็นพิษต่ำลง เพื่อป้องกันสุขภาพของผู้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นที่มาของชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลังแบบเปรียบเทียบสี โดยใช้อนุภาคนาโนโลหะคู่ หลักการคือสังเคราะห์อนุภาคที่มีลักษณะเป็น 2 ชั้น หลักการคือสังเคราะห์อนุภาคที่มีลักษณะเป็น 2 ชั้น ที่มีแกน (core) เป็นอนุภาคนาโนเงินและมีเปลือก (shell) เป็นชั้นทองบางๆ หุ้มอยู่ จึงทำให้สารละลายสามารถเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีอมส้ม เป็นสีเหลือง และสีใส เพื่อบอกระดับปริมาณไซยาไนด์ที่ต้องการตรวจสอบ
“เพียงสกัดน้ำจากมันสำปะหลังที่ต้องการตรวจสอบใส่ลงในสารละลายอัตราส่วน 1:1 และสังเกตการเปลี่ยนสีของสารละลายในเวลา 5 นาที หากตรวจพบไซนาไนด์สารละลายจะเกิดการเปลี่ยนสี จากสีม่วงเป็นสีอมส้ม เป็นสีเหลือง และสีใส จากไซนาไนด์ปริมาณน้อยไปถึงปริมาณมากตามลำดับ หากสารละลายเป็นสีใส คือมันสำปะหลังมีปริมาณไซยาไนด์ในระดับที่เป็นอันตราย ไม่สามารถบริโภคโดยตรงได้”
ผลงานดังกล่าวยังคว้ารางวัลระดับดีเด่น การเขียนข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2560 และรางวัลระดับดีเด่น การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2560 ในกลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 หรือ Thailand Research Expo 2017” ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” จัดขึ้นในปี 2561 นี้ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับเครือข่ายในระดับวิจัยทั่วประเทศ

 

Manager online 12.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร