Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พิสูจน์น้ำดื่มไทยปลอดภัยจากไมโครพลาสติก  

          ซินโครตรอนใช้เทคนิคกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรด พิสูจน์ความปลอดภัยของน้ำดื่มบรรจุขวดในไทย   พบมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนน้อยมาก เฉลี่ยแค่  2  อนุภาคต่อน้ำ 1 ลิตร  เชื่อปลอดภัยต่อผู้บริโภค
          ดร.สมชาย  ตันชรากรณ์   หัวหน้าทีมวิจัยเรื่องไมโครพลาสติกของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   กล่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้เอง นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการหลายแห่งทั้งในยุโรป และอเมริกา ได้ให้ความสนใจในเรื่องไมโครพลาสติกหรืออนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตรในน้ำดื่ม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากห้องปฏิบัติหนึ่งในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำดื่มบรรจุขวดจำนวน 250 ขวดจาก 11 ยี่ห้อที่มีจำหน่ายใน 9 ประเทศ พบว่าตัวอย่างจำนวน 93 % ปนเปื้อนไมโครพลาสติก โดยมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 11 อนุภาคต่อน้ำ 1 ลิตร
ดังนั้นเพื่อเป็นการพิสูจน์ในเรื่องความปลอดภัยของน้ำดื่มบรรจุขวดของประเทศไทย  ทีมวิจัยของซินโครตรอนจึงได้เก็บตัวอย่างน้ำดื่ม จำนวน 24 ขวดจาก 12 ยี่ห้อที่วางขายในร้านสะดวกซื้อทั่วไป มาทำการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรด (FTIR-Microspectroscopy) พบว่ามีเพียง 41 % ของจำนวนทั้งหมดที่พบไมโครพลาสติกปนเปื้อน  และมีปริมาณโดยเฉลี่ย  2  อนุภาคต่อน้ำ 1 ลิตร ซึ่งถือว่ามีปริมาณน้อยมาก จนเชื่อได้ว่าปลอดภัยต่อการบริโภค
ด้านดร.วราภรณ์  ตัณฑนุช  หนึ่งในทีมวิจัย  กล่าวว่า เทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดื่มนั้น ระบบกรองสามารถดักจับอนุภาคที่มีขนาดเล็กในระดับ 4 – 6 ไมโครเมตร หรือ ประมาณ 1 ใน 20 เท่า ของขนาดเส้นผมมนุษย์ได้   ดังนั้นอนุภาคส่วนใหญ่รวมถึงไมโครพลาสติกจะถูกกรองในระบบก่อนการบรรจุขวด ทั้งนี้การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำดื่มอาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น บรรจุภัณฑ์ คือ ขวดพลาสติก หรือฝาปิดเอง
 " นอกจากนั้น ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ของเรา สามารถระบุสิ่งที่ตรวจพบได้อย่างแม่นยำ  ซึ่งเราตรวจพบเส้นใยธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตราย เช่น เส้นใยฝ้าย กระดาษ เซลลูโลส และอนุภาคที่เป็นสารอินทรีย์ เป็นต้น ในน้ำดื่มทุกยี่ห้อ มีปริมาณเฉลี่ย 5 อนุภาคต่อน้ำ 1 ลิตร  การปนเปื้อนนี้อาจเกิดขึ้นจากฝุ่นผงที่เบาบางล่องลอยอยู่ในอากาศ มีที่มาจากหลายแหล่ง เช่น เสื้อผ้า กระดาษ ฯลฯ แล้วปนเปื้อนระหว่างขั้นตอนการบรรจุนั่นเอง”
ศ.นท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า "ในฐานะที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐบาล เรามีหน้าที่สร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลที่ถูกต้องโดยใช้ความรู้และเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง เพื่อพิสูจน์ความจริง และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย งานวิจัยนี้ถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันในความปลอดภัยของน้ำดื่มไทย” .

 

Dailynews online 16.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร