Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มธ.เปิด 2 หลักสูตรใหม่ "นักวิทย์ข้อมูล-คณิตการเงิน" รับอุตสาหกรรมดิจิทัล  

          คณะวิทย์ มธ.เปิด 2 หลักสูตรใหม่ "สถิติประยุกต์-คณิตการเงิน" หวังปั้นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และบุคลากรการเงินยุคใหม่ รับความต้องการอุตสาหกรรมดิจิทัล เน้นสอนวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และคณิตแก้ปัญหาทางการเงิน เปิดรับ 50 คนต่อหลักสูตร เริ่มปีการศึกษา 2561
          รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) เป็นอาชีพที่มีความต้องการในตลาดงานสูงเป็นอันดับหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 117,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,656,135 บาท โดยเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถจัดการ รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลชุดข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อพัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพสูงสุดในยุคปัจจุบัน ทำให้เข้าใจสภาพตลาด เข้าใจผู้บริโภค จัดการชื่อเสียงขององค์กร ประหยัดงบประมาณ และพัฒนาแผนการตลาดของภาคธุรกิจ รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมได้มหาศาล จึงเป็นที่มาของอาชีพใหม่มาแรงอย่าง
รศ.ดร.สมชาย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลอยู่ประมาณ 200 ราย ซึ่งสวนทางกับความต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาของไทยยังคงมีจำนวนน้อย คณะวิทย์ มธ.เห็นถึงประเด็นความต้องดังกล่าวของตลาดแรงงานจึงเป็นที่ มีของการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ วิชาเอกสถิติประยุกต์ เพื่อตอบสนองในทุกภาคธุรกิจด้านการเงินและการจัดการข้อมูลในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิชาเอกการเงิน ที่มุ่งเน้นการสอนกระบวนการทางคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อแก้ปัญหาทางการเงินและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในอุตสาหกรรมการเงิน เพื่อตอบโจทย์การผลิตบุคลากรด้านคณิตศาสตร์การเงินยุคใหม่ ที่ต้องใช้งานนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ในการปฏิบัติงาน
ดร.ขจี จันทรขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า การเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสถิติประยุกต์ และวิชาเอกคณิตศาสตร์การเงิน จะเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผ่านการจำลองสถานการณ์ตัวอย่างของภาคธุรกิจ อาทิ การศึกษาแบบจำลองการลงทุนทางด้านการเงินของภาคธุรกิจ การเปรียบเทียบนโยบายทางภาษี ของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจ เทคนิคเหมืองข้อมูลสำหรับการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อปรับปรุงการแนะนำสินค้าให้ ตรงกับความสนใจของผู้บริโภค โดยทั้งสองหลักสูตรมีรายละเอียด ดังนี้
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสถิติประยุกต์ มุ่งสอนเกี่ยวกับหลักสถิติ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมถึงการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ปัญหาจริง ผ่านการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ อาทิ วิทยาศาสตร์ข้อมูลและการประยุกต์ ซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์ทางสถิติ การจัดการข้อมูล เหมืองข้อมูลและธุรกิจอัจฉริยะ ตลาดการเงินและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ เพื่อนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจหลากมิติ อาทิ วางแผนการตลาด การประเมินพฤติกรรมผู้บริโภคเป้าหมาย การจัดกลุ่มข้อมูลลูกค้า การแนะนำสินค้า และการตรวจสอบความผิดปกติของข้อมูล โดยบัณฑิตสามารถต่อยอดองค์ความรู้สู่อาชีพต่างๆ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) นักวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ นักวิเคราะห์การวางแผน วิจัยและประมวลผล นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ งานด้านการควบคุมคุณภาพ ฯลฯ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกคณิตศาสตร์การเงิน มุ่งสอนเกี่ยวกับการศึกษากระบวนการทางคณิตศาสตร์ และสถิติที่ใช้ในการแก้ปั ญหาทางการเงินเป็นหลัก และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในอุตสาหกรรมการเงิน ผ่านการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ทั้งแคลคูลัส คณิตศาสตร์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ คณิตศาสตร์การเงิน การวิเคราะห์ปริมาณทางการเงิน วิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับคณิตศาสตร์การเงิน คณิตศาสตร์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ อนุพันธ์ทางการเงินเชิงคณิตศาสตร์ ฯลฯ ที่ช่วยให้ระบบการเงินของภาคธุรกิจหรือธนาคารสามารถดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว โดยบัณฑิตสามารถทำงานธุรกิจการเงินยุคใหม่ ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยเป็นองค์ ประกอบหลัก รวมไปถึงอาชีพต่างๆ อาทิ นักวางแผนการลงทุน (Investment Planner: IP) นักวิเคราะห์การลงทุน (Investment Analyst: IA) นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary) นักวิเคราะห์ความเสี่ยง ฯลฯ
สำหรับสองหลักสูตรข้างต้น ทางสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มีแผนเปิดรับนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อ จำนวน 50 คนต่อหลักสูตร ผ่านระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา (TCAS) ปีการศึกษา 2561 โดยเปิดรับใน 3 รอบ คือ รอบรับตรงร่วมกัน ระหว่างวันที่ 9-13 พฤษภาคม 2561 รอบแอดมิชชั่นกลาง ระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2561 และ รอบรับตรงแบบอิสระ ระหว่างวันที่ 6-20 กรกฎาคม 2561 โดยสามารถตรวจสอบคุณสมบัติ และสมัครออนไลน์ได้ที่ www.reg.tu.ac.th

 

Manager online 17.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร