Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

อาหารแช่แข็ง กินอย่างไรให้ปลอดภัย  

          ในยุคที่การใช้ชีวิตเร่งรีบ เร่งด่วน แบบ ณ ปัจจุบันนี้ ทำให้หลายคนอาจจะไม่มีเวลาเข้าครัวลงมือทำอาหารรับประทานเอง ดังนั้นอาหารแช่แข็งจึงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากหาซื้อง่าย อีกทั้งยังสามารถเก็บรักษาในตู้เย็นได้เป็นเวลานาน แถมสะดวกรวดเร็วเพราะแค่ต้องการรับประทานเมื่อไหร่ก็เพียงหยิบออกมาจากตู้เย็นแล้วนำไปอุ่นในไมโครเวฟเพียงไม่กี่นาทีก็สามารถรับประทานได้แล้ว แต่จะว่าไปแล้วถึงจะสะดวกแค่ไหนก็ตาม หลายคนก็อาจจะยังสงสัยกันไม่น้อยว่าแล้วถ้ารับประทานบ่อยๆ ล่ะ จะปลอดภัยจริงๆ เหรอ? แล้วต้องทำอย่างไรถึงปลอดภัยล่ะ? มาหาคำตอบกัน
          อาหารแช่แข็ง ถือได้ว่าเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง โดยการนำผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านกระบวนการการแปรรูปด้วยการให้ความเย็นระดับเยือกแข็ง เพื่อให้คงความสด และรักษาคุณภาพของอาหารให้เก็บได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีทั้งอาหารแช่แข็งสำเร็จรูปที่สามารถนำมาอุ่นด้วยไมโครเวฟทานได้เลย และอาหารชนิดอื่นที่ไม่ใช่อาหารแช่แข็งสำเร็จรูป อาทิ เนื้อสัตว์แช่แข็ง ผักแช่แข็ง และผลไม้แช่แข็ง เป็นต้น
อาหารแช่แข็งเก็บรักษาได้นานแค่ไหน
อาหารแช่แข็งสำเร็จรูปแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนซื้อหรือรับประทานควรดูวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง
ระยะเวลาการเก็บอาหารแช่แข็ง ยกตัวอย่างเช่น
-อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เก็บได้ 3-4 เดือน
-เบคอน แฮม และไส้กรอก เก็บได้ 1-2 เดือน
-ซุปและอาหารที่ผ่านการเคี่ยว เก็บได้ 2-3 เดือน
-เนื้อหมูหรือเนื้อวัวที่สุกแล้ว เก็บได้ 2-3 เดือน
-เนื้อเป็ดไก่ที่สุกแล้ว เก็บได้ 4 เดือน
-ไข่ขาว เก็บได้ 12 เดือน
ความปลอดภัยของอาหารแช่แข็ง
อาหารแช่แข็งที่ถูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสอย่างต่อเนื่องจะมีความปลอดภัยจากเชื้อโรค เนื่องจากการแช่แข็งจะช่วยชะลอการเคลื่อนไหวของโมเลกุล ทำให้จุลินทรีย์ภายในอาหารหยุดเจริญเติบโตชั่วคราว แต่ก็ไม่ได้ทำให้ตาย เพราะเมื่ออาหารละลาย จุลินทรีย์เหล่านี้อาจจะกลับมาเคลื่อนไหวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นได้ในบางสภาวะ
นอกจากนี้โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นอาหารกล่องแช่แข็งสำเร็จรูปมักจะมาพร้อมกับภาชนะที่เป็นกล่องพลาสติกที่ปิดมิดชิด ด้านในมีอาหารที่ถูกแช่เย็นจนแข็ง เมื่อจะรับประทานต้องเจาะรูเล็กน้อยก่อนจะนำเข้าไมโครเวฟ แต่ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้มาพร้อมกับกล่อง เวลาจะอุ่นด้วยไมโครเวฟบางคนอาจจะนำไปใส่ภาชนะที่เป็นแก้ว เซรามิค พลาสติก เมลามีน หรือถุงพลาสติกแล้วจึงนำไปอุ่นในไมโครเวฟ ซึ่งถ้าหากเป็นแก้วหรือเซรามิคที่ไม่ได้ถูกเคลือบด้วยสีสันต่างๆ ก็จะปลอดภัยสามารถนำเข้าไมโครเวฟเพื่อทำการอุ่นได้เลย แต่ถ้าหากว่าภาชนะแก้วหรือเซรามิคนั้นมีการเคลือบสีหรือวาดลวดลายก็จะไม่เหมาะที่จะนำมาใส่อาหารเพราะสีหรือลวดลายเมื่อโดนความร้อนของอาหารขณะอยู่ในไมโครเวฟจะละลายและปนเปื้อนในอาหารได้ และเมื่อกินอาหารที่มีสารปนเปื้อนเข้าไปก็จะเกิดการสะสมในร่างกายทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมาเพราะความร้อนจะทำให้พลาสติกเกิดการละลายและสารพิษจากพลาสติกจะปนเปื้อนอาหารที่อุ่นเอาไว้ เมื่อทานสารพิษเหล่านี้มากๆ จะเกิดการสะสมทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ดังนั้นเวลาจะละลายอาหารแช่แข็งสำเร็จรูปด้วยไมโครเวฟ ควรเลือกภาชนะที่สามารถนำไปเข้าไมโครเวฟให้ดีๆ เช่น สังเกตสัญลักษณ์รูปไมโครเวฟ และคำว่า Microwave Safe, Oven Safe, Dishwasher Safe ฯลฯ เป็นต้น เพื่อจะลดการเสี่ยงอันตรายดังกล่าว
วิธีเก็บรักษาอาหารแช่แข็งที่ดี
-เมื่อซื้ออาหารแช่แข็งสำเร็จรูปมาแล้ว ให้รีบใส่ช่องฟรีซให้เร็วที่สุด
-ไม่ควรนำอาหารมาตั้งทิ้งให้ละลาย แล้วนำกลับเข้าแช่แข็งอีก โดยเฉพาะอาหารแช่แข็งที่ทำให้สุกแล้ว จะต้องไม่อยู่นอกตู้เย็นนานกว่า 1 ชั่วโมงแล้วนำกลับไปแช่แข็งอีก เพราะจะทำให้อาหารนั้นเสียได้
-ส่วนอาหารแช่แข็งที่ยังไม่ผ่านการทำให้สุกสามารถละลายแล้วนำกลับไปแช่อีกครั้งได้ แต่อาจจะทำให้มีคุณภาพลดลงไปบ้าง
-อาหารแช่แข็งที่ไม่ใช่อาหารแช่แข็งสำเร็จรูป หากจะนำมาทำอาหารรับประทาน ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนทุกครั้งเพราะช่วยลดสารเคมีที่อยู่กับอาหารได้ ซึ่งจะได้นำมารับประทานได้อย่างปลอดภัย
-พยายามรับประทานอาหารที่แช่แข็งไว้ให้หมดภายใน 2-3 เดือน จะดีที่สุด
ข้อมูลประกอบบางส่วน : www.pobpad.com, www.honestdocs.co

Manager online 18.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร