Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

‘นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใหม่’ ที่พยายามจบวงจรขยะพลาสติก  

          วาระระดับโลกเพื่อรับมือ “ขยะพลาสติก”เป็นเรื่องใหญ่ในการพัฒนาด้านกรีน ไม่แพ้การต่อสู้กับภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะเมื่อขยะพลาสติกตกไปอยู่ในทะเล ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการ นำกลับมาเข้ากระบวนการรีไซเคิล และปริมาณขยะพลาสติกราว 8 ล้านตันต่อปี จึงยังพบจุดหมายปลายทางอยู่ที่ ท้องทะเลทั่วโลก
แม้ว่าการนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือ Reuse จะเป็นหนทางหนึ่งที่ใช้กับถุงพลาสติก ขวดน้ำดื่มและแก้วกาแฟ ซึ่งเป็นสินค้ายอดนิยมของโลกที่มีความเคลื่อนไหวและก้าวหน้าอยู่เสมอสำหรับการหาทางจัดการกับหีบห่อที่เป็นส่วนหนึ่งของขยะพลาสติก แต่ก็ยังมีขยะพลาสติกอีกหลายแบบที่ต้องหานวัตกรรมเพิ่มเติมมาจัดการในแต่ละวัน เช่น ฟิล์มพลาสติกที่ช่วยรักษาอาหารให้มีความสดได้ยาวนานขึ้น หรือแรปที่หุ้มห่อยาเพื่อความปลอดภัยและป้องกันแสงสว่างเข้าก่อนที่จะถึงมือของผู้ป่วยที่ใช้บำบัด เป็นต้น
การแสวงหาแนวทางการจัดการบริหารขยะพลาสติกที่เหมาะสม ถูกต้อง ประหยัดรายจ่าย กลายเป็นภาระของทั้งผู้ประกอบการ รัฐบาล องค์กร NGOs และเหล่าเซเลบดังทั่วโลก โดยมี 3 แนวทางหลักๆ ที่พยายามแก้ปัญหากัน
แนวทางแรก การริเริ่มใช้นวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยในการบริหารขยะพลาสติก ด้วยการปรับเปลี่ยนวัสดุที่ย่อยสลายได้ หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิลขยะก่อนที่จะหลุดออกไปถึงทะเล เพื่อลดหรือมิให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ให้เหลือเป็นภาระในการจัดเก็บจากชายหาดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็ยังคงดำเนินต่อไป
แนวทางที่สอง การบำบัดด้วยการทำความสะอาดทะเลโดยตรง ก็เป็นหนทางที่พยายามดำเนินการอยู่ เพียงแต่ได้ผลในสัดส่วนที่เล็กน้อยมาก ว่ากันว่าไม่ถึง 0.5% ของปริมาณขยะพลาสติกในทะเลทั้งหมดที่ถาโถมเข้าสู่ทะเลในแต่ละปี และเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุมากกว่าต้นเหตุ เพียงให้เกิดผลในเชิงของสัญลักษณ์มากกว่าจะเอาผลสัมฤทธิจริงจัง
แนวทางที่สาม การย้อนรอยขึ้นไปจัดการที่ต้นน้ำ ด้วยการปรับการออกแบบหีบห่อพลาสติกใหม่แต่แรก ให้ปราศจากขยะพลาสติกโดยสิ้นเชิง หรือ Zero Waste
ทว่าจุดอ่อนของการบริหารจัดการ คือการปล่อยให้ใช้พลาสติกตั้งแต่ต้นทาง ย่อมนำไปสู่ขยะพลาสติกที่ปลายทางอยู่ดี ไม่ว่าจะมาจากจุดใดๆ บนโลกใบนี้ ที่มีผู้บริโภคนับพันล้านคนในแต่ละวัน บางคนอาจจะพยายามใช้พลาสติกให้น้อยลง ก็มีผลเพียงน้ำหนักขยะพลาสติกในวันนั้นลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อใดที่ปล่อยออกสู่ทะเลก็ยากต่อการกำจัดขยะพลาสติกเหล่านั้น ลำพังคนไม่กี่คนบนโลกที่ตระหนักเรื่องนี้ ก็ไม่ได้มีผลให้ความรุนแรงของปัญหาขยะพลาสติกลดลงไปแต่อย่างใด
การออกแบบรูปแบบใหม่ในการใช้หีบห่อที่ดีกว่าเดิมแบบยั่งยืน จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ด้วยเหตุนี้ Ellen MacArthur Foundation ได้ร่วมกับ Prince of Wales's International Sustainability Unit และเงินทุนที่สนับสนุนโดย Wendy Schmidt ได้ก่อกำเนิด The New Plastics Economy Innovation Prize ในปี 2017 ที่ผ่านมา เป็นการเปิดการแข่งขันนำเสนอของนักออกแบบและนักวิทยาศาสตร์วัสดุภัณฑ์ในการทบทวนการออกแบบหีบห่อพลาสติกใหม่ ที่ไม่ต้องกลับไปเก็บขยะและไม่ต้องแม้แต่ละรีไซเคิล ไม่เกิดขยะพลาสติกแบบถาวร ในทุกจุดบนโลก
ผู้ชนะเลิศรางวัลนี้จะได้รับเงิน 2 ล้านดอลลาร์ เป็นรางวัล และโปรแกรมการส่งเสริมการนำไปใช้จริงอีก 12 เดือน ให้สามารถทำการพัฒนาต่อยอดกับองค์กร Think Beyond Plastic
การแจกรางวัลนี้มี 2 ส่วน ในการประชุม the Our Ocean conference ในเดือนตุลาคม จะมีการประกาศกลุ่มที่ชนะ เพื่อเข้าโปรแกรมการแข่งขัน Circular Design Challenge เพื่อเลือกผู้ที่มีผลงานที่เป็นเลิศ ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกชิ้นเล็กแต่มียอดสะสมรวมกันเกิน 10% ของขยะพลาสติกทั้งหมด
กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์รอบที่ 2 จะประกาศผลในปีนี้ ในการประชุมประจำปีของ The World Economic Forum ที่ดาวอส ในการพยายามหานวัตกรรมในการรีไซเคิลพลาสติก ไม่ให้เกิดขยะในรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น โดยให้มีผลในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลาสติกของโลกอย่างจริงจัง
กลุ่มพัฒนานวัตกรรมสามารถแบ่งออกเป็น
กลุ่มแรก กลุ่มที่ใช้หีบห่อจากวัสดุธรรมชาติมากขึ้น เพื่อให้ย่อยสลายแบบธรรมชาติ
กลุ่มที่สอง การใช้หีบห่อที่รีไซเคิลได้ใหม่ๆ
กลุ่มที่สาม หีบห่อจากขยะอาหาร
การใช้รางวัลและการยกย่อง รวมทั้งการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจในเชิงพาณิชย์จริง ที่ทำอย่างต่อเนื่องนี้ จึงเป็นหนทางที่เชื่อว่าจะทำให้การจัดการขยะพลาสติกได้ผลในไม่ช้าก็เร็ว

Manager online 17.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร