Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ฮิตาชิจับมือ ม.นาโกย่า เตรียมทดสอบ “วิธีตรวจมะเร็งจากปัสสาวะ” คาดอีก 2 ปีได้ใช้จริง  

          เอเอฟพี/เอ็นเอชเค – บริษัทฮิตาชิร่วมกับมหาวิทยาลัยนาโกย่า เตรียมทำการทดสอบวิธีตรวจหาเชื้อมะเร็งเต้านมและลำไส้ จากตัวอย่างปัสสาวะจำนวน 250 ตัวอย่าง ชี้ถ้าสำเร็จจะทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งรวดเร็วขึ้น ช่วยชีวิตคนและประหยัดค่าใช้จ่าย แถมการตรวจหามะเร็งในเด็กเล็กก็ทำได้ง่ายขึ้น คาดนำมาใช้ได้จริงในปี 2563
          เมื่อสองปีก่อนนักวิจัยของ “ฮิตาชิ” บริษัทด้านวิศวกรรมและไอทียักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานของการตรวจสอบเชื้อมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้จากตัวอย่างปัสสาวะ
ล่าสุดฮิตาชิกำลังจะเริ่มดำเนินการทดสอบวิธีการตรวจดังกล่าวด้วยตัวอย่างปัสสาวะ 250 ตัวอย่างที่ถูกทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องว่าได้ผลอย่างไร นายชิฮารุ โอไดระ โฆษกของบริษัทฮิตาชิกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีวานนี้ (17 เม.ย.) พร้อมกันนั้นยังระบุด้วยว่า “หากวิธีนี้สามารถนำมาใช้งานได้จริง ต่อไปจะเป็นเรื่องง่ายมากในการที่ผู้คนจะตรวจสอบหาเชื้อมะเร็งโดยไม่มีความจำเป็นที่จะเดินทางไปทำการเจาะเลือด ณ สถานพยาบาล หรือห้องแล็บต่าง ๆ”
นอกจากนี้วิธีการตรวจหามะเร็งด้วยตัวอย่างปัสสาวะนั้นยังสามารถนำไปใช้ในการตรวจหามะเร็งในเด็ก (Pediatric cancer) ได้อีกด้วย
“มันจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการนำไปใช้เพื่อตรวจหาเชื้อมะเร็งในเด็กเล็ก ซึ่งมักจะกลัวการเจาะเลือด” นายโอไดระระบุ
ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นปี ผลงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า วิธีการตรวจเลือดแบบใหม่สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการตรวจสอบเนื้องอกประเภทต่าง ๆ ได้ถึง 8 ประเภท ก่อนที่จะมีการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นในร่างกาย
ทั้งนี้ วิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมแบบปกตินั้นจะเริ่มต้นด้วยการทำแมมโมแกรม (Mammogram) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจด้วยรังสีเอ็กซเรย์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อค้นหาความผิดปกติที่เต้านม ก่อนที่จะมีการตัดเนื้อเยื่อออกมาตรวจสอบหากพบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง ขณะที่มะเร็งลำไส้นั้นจะเริ่มต้นด้วยการตรวจอุจจาระ และการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงว่าอาจจะเป็นมะเร็งลำไส้
ในส่วนของเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นโดยฮิตาชินั้นจะใช้วิธีการตรวจหาสิ่งปฏิกูลที่ตกค้างอยู่ในปัสสาวะ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) แถลงการณ์ของฮิตาชิระบุ
สำหรับการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะ 250 ตัวอย่างนั้น ฮิตาชิได้จับมือกับมหาวิทยาลัยนาโกย่า โดยจะเริ่มต้นในเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อดูว่าอุณหภูมิของปัสสาวะ และระยะเวลาที่ใช้ในการส่งตัวอย่างปัสสาวะเข้าทดสอบนั้นส่งผลกระทบอย่างไรหรือไม่กับผลลัพธ์
อนึ่งทางฮิตาชิระบุว่า แม้จะต้องผ่านขั้นตอนการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายขั้น แต่บริษัทตั้งเป้าว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะสามารถนำมาใช้ได้จริงภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) และเชื่อว่าวิธีการตรวจสอบมะเร็งจากปัสสาวะแบบใหม่นี้จะช่วยทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งนั้นรวดเร็วขึ้น ช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านการแพทย์อีก

Manager online 19.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร