Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นวัตกรรมยืดอายุมะม่วงสุกได้นาน 1 เดือนพร้อมฉลากบอกความสุก  

          บอกลาปัญหามะม่วงช้ำ-เน่าหนุนเกษตรกรไทย ด้วย นวัตกรรมแถบสีบอกความสุก และนวัตกรรมชะลอการสุกมะม่วงออกไปได้นานถึง 1 เดือน ผลงานนักวิจัย มธ. ซึ่งการันตีรางัลจากการประกวดที่กรุงเจนีวา
          คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัว “นวัตกรรมแถบสีชีวภาพบอกความสุก (Bio-ripeness indicator) และนวัตกรรมชะลอการสุกมะม่วง” ครั้งแรกของโลก ลดอัตราการเสียหายของผลผลิตเมื่อวางจำหน่าย 100 %
ทั้งนี้มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง” มะม่วงพันธุ์ผสม ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาดจีน-ญี่ปุ่น โดยมีราคาขายสูงถึงผลละ 200-300 บาท แต่การห่อผลมะม่วงด้วยถุงห่อ เพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย เป็นเวลา 1 เดือนทำให้ผลมะม่วงมีสีเหลืองทอง ทำให้ผู้บริโภคไม่ทราบว่ามะม่วงสุกแล้วหรือยัง เมื่อวางจำหน่ายในตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ และตลาดต่างประเทศ จะเกิดปัญหารอยช้ำและเน่าเสียจากการบีบหรือกดของผู้บริโภคเพื่อแยกแยะความดิบหรือสุกของมะม่วงได้ ส่งผลให้ผลผลิตต่อวันได้รับความเสียหายและไม่สามารถวางขายต่อได้กว่า 30 %
รศ.ดร.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า เพื่อเป็นการลดความสูญเสียของผลผลิตของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ส่งขายในตลาดต่างประเทศ โดยเพาะตลาดพรีเมียม และโมเดอร์นเทรด สำหรับการค้าและการส่งออก พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค จึงได้คิดค้นและพัฒนา “นวัตกรรมแถบสีชีวภาพบอกความสุก (Bio-ripeness indicator) และนวัตกรรมชะลอการสุกมะม่วง”
นวัตกรรมดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 ส่วนหลักๆ คือ สวนแรกคือสารละลายกระตุ้นการสร้างสารสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll supplement) ทำหน้าที่สร้างคลอโรฟิลล์ให้มากขึ้น พร้อมกับชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในมะม่วง ด้วยการฉีด 1 ครั้งที่ผลก่อนการห่อผล และชะลอการสุกของมะม่วง สามารถชะลอได้สูงถึง 30 วันหรือ 1 เดือนที่อุณหภูมิ 12 องศาเซลเซียส โดยที่ไม่ทิ้งสารตกค้าง
ส่วนที่สองคือถุงห่อแอคทีฟ (Active Bag) ใช้ห่อมะม่วงขณะอยู่บนต้นก่อนการเก็บเกี่ยว 1 เดือน โดยถุงห่อมีหน้าต่างให้แสงสามารถส่องผ่านถึงผลมะม่วงได้ เพื่อให้ผิวผลมะม่วงสร้างคลอโรฟิลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเก็บเกี่ยวมะม่วงมาแล้วผลมะม่วงจะมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์เป็นวงกลม ซึ่งออกแบบหน้าต่างให้เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของบริษัทแทนได้ โดยสีเขียวนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการสุกของมะม่วงโดยเทียบกับแถบสีมาตรฐาน
ส่วนที่สามคือแถบสีอินดิเคเตอร์ (Indicator) แถบสีมาตรฐานแสดงการสุกของเนื้อมะม่วงใน 4 ระยะ ประกอบด้วย สีเขียว : เนื้อมะม่วงที่ยังดิบ สีเหลืองอ่อน : เนื้อมะม่วงที่เริ่มสุก สีเหลือง : เนื้อมะม่วงที่พร้อมรับประทาน และ สีเหลืองเข้ม : เนื้อมะม่วงที่สุกเกินมาตรฐาน ทั้งนี้ แถบสีอินดิเคเตอร์ดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลผลิตที่ปลูกทั้งในแบบปกติ และออร์แกนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพและพร้อมวัดผลได้อย่างแม่นยำ 100%
"สำหรับนวัตกรรม “นวัตกรรมแถบสีชีวภาพบอกความสุก และนวัตกรรมชะลอการสุกมะม่วง” ถูกพัฒนาขึ้นด้วยต้นทุนต่ำ โดยเฉลี่ยไม่เกิน 2 บาทต่อมะม่วง 1 ผล โดยที่สารกระตุ้นคลอโรฟิลล์ มีต้นทุนเฉลี่ยเพียง 20 สตางค์ต่อการฉีด 1 ครั้ง ถุงแอคทีฟ มีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5-3 บาทต่อถุง และแถบสีอินดิเคเตอร์ มีต้นทุนเพียง 5 สตางค์ต่ออัน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพผลผลิตของเกษตรกรให้สามารถวางจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น หรือมีโอกาสวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ"
ขณะที่ดิสทริบิวเตอร์ (Distributor) หรือผู้ประกอบการที่รับซื้อผลไม้เพื่อการค้าและการส่งออกนั้น รศ.ดร.วรภัทร กล่าวว่าก็จะได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งลดอัตราการเสียหายของผลผลิตเมื่อวางจำหน่าย 100 เปอร์เซนต์ กล่าวคือ หากผู้ประกอบการรับซื้อมะม่วงจากเกษตรกรจำนวน 100 ผล ก็จะสามารถจำหน่ายได้ครบทั้ง 100 ผล โดยที่ไม่มีผลผลิตช้ำหรือเน่าเสียจากการบีบ-กดของผู้บริโภค
รศ.ดร.วรภัทร กล่าวต่อว่า นวัตกรรมดังกล่าว ถือเป็นมิติใหม่ของการส่งเสริมการค้าและการส่งออกผลไม้ไทยให้สามารถส่งออกในตลาดพรีเมี่ยม และตลาดต่างประเทศได้อย่างมีศักยภาพ ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตรและการตลาด ตลอดจนเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลผลิต อันจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ล่าสุดนวัตกรรมนี้ได้รับการการันตีด้วยรางวัลเหรียญทองจากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์เวทีนานาชาติ ครั้งที่ 46 (46th International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส รวมทั้งได้ยืนการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยพร้อมถ่ายทอดนวัตกรรมแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการที่สนใจ
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. โทรศัพท์ 02-564-4488 หรือเว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

Manager online 26.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร