Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เชื่ออีก 3-5 ปีไทยเป็นมหาอำนาจยางพารา  

          รบ.ตั้งเป้าไทยเป็นมหาอำนาจยางพาราใน 3-5 ปี หวังแปรรูปให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40
          สกว.จับมือ กยท. โชว์ผลงานวิจัยเด่นในการประชุมวิชาการยางพา รองนายกฯ ประจิน จั่นตอง ตั้งเป้าภายใน 3-5 ปี ไทยจะเป็นมหาอำนาจด้านยางพารา หวังทุกฝ่ายผนึกกำลังกันแก้ปัญหาคอขวด และเพิ่มการแปรรูปให้เกิดมูลค่าตลอดห่วงโซ่เพิ่มเป็นร้อยละ 40
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ “การผลักดันผลงานวิจัยยางพาราสู่การใช้ประโยชน์” เมื่อ 30 เมษายน 2561 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มีความสามารถในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยางพารา
งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์งานวิจัย สร้างเครือข่ายวิจัยและบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เชื่อมโยงผลงานวิจัยให้เกิดการจับคู่ธุรกิจเพื่อทำให้เกิดเครือข่ายห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย เพิ่มปริมาณการใช้ยางพารา รวมถึงส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านมาตรฐานยางพารา ผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัยด้านยางพาราไปใช้ประโยชน์ในหลายมิติ โดยเฉพาะเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างการปาฐกถาพิเศษว่าทำอย่างไรให้สัดส่วนการแปรรูปยางพาราเพิ่มขึ้นโดยผู้ประกอบการในประเทศ ผสมผสานเทคโนโลยีจากต่างประเทศและในประเทศ ทั้งระดับชุมชน พื้นที่ มหาวิทยาลัย จนถึง คอบช. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก เพื่อเพิ่มมูลค่าการใช้ยางพาราจากที่มีอยู่เพียงร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่า 4.5 แสนล้านบาท ให้เพิ่มเป็นร้อยละ 40 ปรับปรุงวัตถุดิบให้มีคุณค่ามากขึ้น มีวิธีการกรีด การเก็บ และการแพ็คส่งขายเพื่อแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเพื่อการส่งออกต่างประเทศ เพื่อทำให้เกิดการจ้างงานและรายได้แก่เกษตรกร ชุมชน ไปจนถึงรัฐบาล อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ได้ทำมาเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า ปัญหาจึงยังคงตกกับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และปลูกพืชตัวอื่นเสริมเพื่อสร้างรายได้
“เราต้องผนึกกำลังแก้ปัญหาคอขวด ทั้งเรื่องการลงทุน ความเชื่อมั่น ความปลอดภัยในพื้นที่ ให้เกิดเป็น “Rubber city” และสร้างความคุ้มค่าในการลงทุน ในปี 2561 เป็นต้นไปจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัย นำผลงานไปใช้ประโยชน์ตลอดห่วงโซ่ แก้ปัญหาความผันผวนเรื่องราค่าและขาดเสถียรภาพ รวมถึงการเติบโตของประเทศคู่แข่ง ซึ่ง กยท.และทุกหน่วยงานต่างทราบปัญหาดี สร้างมูลค่าเพิ่ม คุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีขึ้นและปลอดภัย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้ทั้งประชาชนและกองทัพ การประชุมครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะสามารถเพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนทิศทางที่จะนำไปสู่การผลักดันต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่สอดรับกับความต้องการใช้งาน ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและมั่นคง เสริมด้วยนโยบายภาครัฐและทุนต่างๆ รัฐบาลจะช่วยหาตลาดทั้งในส่วนราชการ เช่น ที่นอนของผู้ต้องหาในเรือนจำ การใช้ประโยชน์สาธารณะ เช่น พื้นลู่วิ่ง ลู่จักรยาน สวนสาธารณะ ตลอดจนสร้างคุณค่าทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าภายใน 3-5 ปี ทิศทางของยางพาราไทยจะเปลี่ยนไป และเป็นมหาอำนาจอย่างแท้จริง" พล.อ.อ.ประจินระบุ
ตัวอย่างงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของ สกว. ที่ส่งผลให้ราคายางมีเสถียรภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน คือ “วัสดุเทอร์โพพลาสติกผสมยางธรรมชาติสำหรับทาเครื่องหมายบนผิวทาง” ซึ่งมี ผศ.อนุวัตร วอลี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี เป็นหัวหน้าโครงการ โดยคาดว่าจะช่วยเพิ่มการใช้ยางธรรมชาติได้ปีละ 4 พันตัน ทั้งนี้ประเทศไทยนิยมใช้วัสดุเทอร์โมพลาสติกในการตีเส้นจราจรมากว่าสีจราจร เนื่องจากใช้งานง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพสูงกว่า แต่จุดด้อย คือ มีค่าอุณหภูมิคล้ายแก้วสูง จึงมีความยืดหยุ่นต่ำ มีความสามารถในการยึดเกาะต่ำ และไม่ทนต่อการสึกหรอ
นักวิจัยจึงนำยางธรรมชาติมาเตรียมให้อยู่ในรูปพอลิเมอร์เบลนด์เพื่อใช้เป็นสารยึดเกาะ เตรียมเป็นวัสดุเทอร์โมพลาสติกสำหรับทาเครื่องหมายบนผิวทาง ซึ่งมีจุดเด่นทนต่อแรงกระแทก ยึดเกาะกับพื้นผิวและความทนต่อการสึกหรอที่ดีเยี่ยม สามารถนำไปหลอมเพื่อใช้ตีเส้นจราจรได้ง่าย และสะดวก ทั้งนี้นักวิจัยสามารถผสมยางธรรมชาติแทนที่เรซินได้สูงสุดถึงร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก และมียางธรรมชาติผสมประมาณร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก เมื่อคำนวณด้านต้นทุนวัตถุดิบพบว่าไม่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุทางการค้า จึงมีโอกาสที่จะนำไปแปรรูปและจำหน่ายจริงจึงมีความเป็นไปได้สูงและมีความน่าสนใจมาก เพราะช่วยเพิ่มช่องทางใหม่ในการนำยางธรรมชาติไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยหากใช้วัสดุนี้ในทุกเส้นทางในประเทศจะช่วยลดการนำเข้าวัตถุดิบเรซินจากจีนได้เกือบ 4 พันตันต่อปี
ขณะที่ ดร.เจริญชัย ฤทธิรุทธ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เผยถึงงานวิจัย “จีโอโพลิเมอร์คอนกรีตก่อตัวเร็วผสมน้ำยางพาราสำหรับงานผิวทางคอนกรีต” ว่าถนนคอนกรีตมีความคงทนกว่าถนนยางมะตอย แต่ยิ่งมีปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์มากเท่าใดยิ่งส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศมากขึ้น โดยกระบวนการผลิตปูนซิเมนต์ 1 ตัน จะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา 1 ตันเช่นกัน นอกจากนี้วัสดุตั้งต้นที่ได้มาจากธรรมชาติเกิดจากการขุดเจาะและระเบิดภูเขาหรือขุดเมือง ส่งผลให้ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเสียและหมดไป นักวิจัยจึงใช้สารซีเมนต์ประเภทใหม่ที่ปราศจากการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม 100% และนำน้ำยางพารามาผสมในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ดีขึ้น เช่น กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตเพิ่มความยืดหยุ่นตัวของคอนกรีตและทำให้คอนกรีตสามารถคงทนต่อการขัดสีได้สูงขึ้น
"คอนกรีตชนิดใหม่ที่สังเคราะห์ขึ้นนี้ยังก่อตัวหรือให้กำลังที่รวดเร็ว โดยผู้ทำงานสามารถเหยียบหรือนำรถขนาดเล็กวิ่งบนผิวคอนกรีตได้ในเวลา 30 นาทีหลังจากผสม จึงเปิดช่องทางจราจรได้รวดเร็วกว่าคอนกรีตปกติ โดยการผลิตถนนคอนกรีตที่ความหนา 15 เซนติเมตร ความกว้าง 4-6 เมตร จะใช้น้ำยางพาราข้น 60% ประมาณ 2.2-2.5 ตันต่อหนึ่งกิโลเมตร และเมื่อเปรียบเทียบงานวิจัยกับมาตรฐานพบว่าคุณสมบัติทางกลมีค่าผ่านมาตรฐานของกรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวงทุกคุณสมบัติ แต่ก็ยังมีงบประมาณในการก่อสร้างสูงกว่าคอนกรีตทั่วไปอยู่ประมาณเท่าตัว เนื่องจากยังอยู่ในการใช้งานในระดับห้องปฏิบัติการ หากสามารถต่อยอดไปสู่การใช้งานในระดับการค้าแล้วจะสามารถลดราคาการผลิตได้เป็นอย่างมาก โดยมีราคาถูกกว่าคอนกรีตที่นำเข้าจากต่างประเทศถึงร้อยเท่า"
ส่วน “การพัฒนาเนื้อดินและเคลือบสำหรับทำแบบพิมพ์เซรามิกขึ้นรูปถุงมือยาง” นั้น ดร.อนุชา วรรณก้อน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญของอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราเป็นถุงมือยาง คือ แบบพิมพ์ที่ใช้ในการขึ้นรูปส่วนใหญ่เป็นแบบพิมพ์เซรามิกที่นำเข้า หรืออาศัยเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติทนต่อกรดด่างและการแตกร้าวจากการเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างฉับพลัน จึงต้องอาศัยความรู้ในการผลิตเนื้อดินและเคลือบ ตลอดจนการออกแบบแม่พิมพ์ที่เหมาะสม ผู้ประกอบการเซรามิกในประเทศส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้ เพราะขาดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่จะใช้ในการผลิต นักวิจัยนี้จึงได้พัฒนาสูตรเนื้อดินและเคลือบโดยใช้วัตถุดิบในประเทศ โดยนำไปขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อ วิธีการลดอุณหภูมิการเผา และวิธีการวิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติ รวมถึงวิธีการออกแบบและทำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์สำหรับการหล่อขึ้นรูปแบบพิมพ์รูปถุงมือ เพื่อทำเป็นต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ ก่อนขยายสเกลการผลิตเป็นระดับภาคสนามและทดลองใช้งานจริง
"องค์ความรู้ทั้งหมดที่จะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยให้ผู้ประกอบการเซรามิกในประเทศที่มีความสนใจจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นำไปแนวทางในการผลิต และสามารถประยุกต์ใช้เพื่อให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง มีรูปแบบที่หลากหลาย ตลอดจนมีคุณสมบัติ เช่น ความทนทานต่อสารเคมีมากขึ้น การลดน้ำหนักให้เบาลงเพื่อลดภาระของเครื่องจักรในการผลิตถุงมือยางและต้นทุนด้านพลังงาน เป็นต้น ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี โครงการวิจัยนี้จึงช่วยพัฒนาห่วงโซ่ของการผลิตในกระบวนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางให้เข้มแข็ง อีกทั้งส่งเสริมขีดความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางของไทยในตลาดโลกได้"
อีกหนึ่งงานวิจัยเด่นในปีนี้คือ “การพัฒนาวัสดุเชิงประกอบยางพาราและขี้เลื่อยไม้ยางพาราสำหรับผลิตของเล่นเด็ก” ซึ่งมี ผศ.ดร.ชาตรี หอมเขียว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นหัวหน้าโครงการ ที่มีแนวคิดสร้างจุดขายและจุดเด่นผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กร่วมกับบริษัทผู้ผลิตของเล่นเด็กโดยใช้วัตถุดิบที่ได้มาจากต้นยางพารา จึงได้วิจัยและพัฒนาวัสดุเทอร์โมพลาสติกอีลาสโทเมอร์เสริมแรงด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นของเล่นเด็ก จนได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทฯ ใช้ไม้ยางพารา (solid wood) เป็นวัตถุดิบ ซึ่งมีความสามารถการดูดซับน้ำที่สูง ทำให้มีข้อจำกัดไม่สามารถผลิตเป็นของเล่นเด็กที่เล่นในน้ำได้
"วัสดุชนิดใหม่ที่พัฒนาขึ้นมานี้จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และยังปราศจากสารเคมีเจือปน จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัย อีกทั้งมีผิวสัมผัสที่นุ่มมือ ไม่แข็งกระด้าง ส่วนการใช้วัสดุขี้เลื่อยไม้ยางพารานับเป็นการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้นจากการแปรรูปของเล่นเด็กจากไม้ยางพาราอีกด้วย โดยรองนายกรัฐมนตรีได้แนะนำให้เพิ่มการผลิตในรูปแบบของเลโก้ซึ่งเด็ก ๆ นิยมเล่นด้วย"

Manager online 30.04.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร