Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ศิริราชโชว์ความสำเร็จปลูกถ่าย 3 อวัยวะ “หัวใจ-ตับ-ไต” พร้อมกันรายแรกในเอเชีย  

         ศิริราชโชว์ความสำเร็จผ่าตัดปลูกถ่าย 3 อวัยวะ “หัวใจ - ตับ - ไต” ในผู้ป่วยรายเดียว สำเร็จเป็นครั้งแรกในเอเชีย เป็นรายที่ 15 ของโลก เผยผู้ป่วยเจอปัญหาไตวาย ตามด้วยหัวใจและตับล้มเหลว ต้องเปลี่ยนอวัยวะ ระบุเหมือนฟ้าประทานมาให้เจออวัยวะที่เข้ากันได้
          วันนี้ (2 พ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว “ศิริราชปลูกถ่าย 3 อวัยวะ หัวใจ ตับ ไต สำเร็จในผู้ป่วยรายเดียว ครั้งแรกในเอเชีย” ว่า ศิริราชทำการปลูกถ่ายอวัยวะมาตั้งแต่ปี 2516 เริ่มจากไต หัวใจ ปอด ตับ ตับอ่อน ไขกระดูก และกระจกตา ส่วนการปลูกถ่าย 2 อวัยวะในผู้ป่วยรายเดียวเริ่มตั้งแต่ปี 2548 คือ ตับร่วมกับไต ทั้งนี้ การปลูกถ่ายอวัยวะมีความยากตรงที่อวัยวะของผู้บริจาคต้องเข้าได้กับผู้ป่วย ดังนั้น ยิ่งปลูกถ่ายหลายอวัยวะพร้อมกัน การจะหาอวัยวะที่เข้ากันได้ก็ยิ่งยากขึ้น จะเห็นได้จากอัตราการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งหากเป็นอวัยวะเดียวศิริราชทำมาแล้ว 1,692 ราย ส่วนปลูกถ่าย 2 อวัยวะมีเพียง 25 รายเท่านั้น
“การปลูกถ่าย 3 อวัยวะในผู้ป่วยรายเดียวที่ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า เพราะมาจากฟ้าประทาน ให้มีอวัยวะที่เข้ากันได้ถึง 3 อวัยวะ และบุคลากรทางการแพทย์สามารถสานต่อ โดยทำการปลูกถ่ายอวัยวะทั้ง 3 จนสำเร็จ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงอยากฝากให้ทุกคนตระหนักถึงการบริจาคอวัยวะว่า ในวันหนึ่งอวัยวะของเราจะช่วยต่อชีวิตให้กับคนอื่นได้ สำหรับค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดครั้งนี้ประมาณ 3 ล้านกว่าบาท ซึ่งสิทธิบัตรทองครอบคลุมบางส่วน ส่วนที่เกินศิริราชก็ออกให้ ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจาการบริจาคของคนไทย จึงขอเชิญชวนให้คนไทยร่วมบริจาคไม่ว่าจะเป็นเงินเท่าไร ก็สามารถช่วยกู้ชีวิตผู้อื่นได้” ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว
พญ.ศรีสกุล จิรกาญจนากร อายรุแพทย์โรคหัวใจและปลูกถ่ายหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ 3 อวัยวะ เป็นโรคไตตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ระยะแรกสามารถรักษาด้วยยาและควบคุมอาการได้ ต่อมาการทำงานของไตแย่ลง จนเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายขณะอยู่ระดับอุดมศึกษา จึงรับการรักษาด้วยการฟอกเลือด ต่อมาผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย พบว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวจากไตวายเรื้อรัง จึงใส่เครื่องกระตุกหัวใจก็ช่วยควบคุมได้ส่วนหนึ่ง แต่อาการกลับเป็นมากขึ้น โดยพบอาการท้องโต มีน้ำคั่งในช่องท้อง ต้องเจาะระบายน้ำในช่องท้องเป็นระยะๆ จึงพบภาวะตับแข็งจากหัวใจล้มเหลว จึงได้รับการส่งตัวมารักษาต่อที่คลินิกหัวใจล้มเหลว รพ.ศิริราช เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 เพื่อพิจารณาการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะหัวใจ ตับ และไต โดยผู้ป่วยได้รับการตรวจประเมินอย่างละเอียดตามมาตรฐานจากทีมแพทย์สหสาขาผู้เชี่ยวชาญการปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อพิจารณาความพร้อมและข้อห้ามในการผ่าตัด จากนั้นทีมแพทย์ได้ประชุมวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรักษาอย่างละเอียดก่อนลงมือปลูกถ่ายอวัยวะ โดยเฉพาะเรื่องของการขาดโปรตีน เพราะผู้ป่วยเจาะเอาน้ำในช่องท้องออก ทำให้สูญเสียโปรตีนมาก ก็ต้องเตรียมผู้ป่วยให้พร้อม แต่ข้อดีคือผู้ป่วยอายุยังน้อย การฟื้นตัวจึงรวดเร็ว
รศ.นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร รอง ผอ.รพ.ศิริราช หัวหน้าทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ และศัลยแพทย์ปลูกถ่ายตับ กล่าวว่า การจะปลูกถ่ายอวัยวะนั้นต้องมีการประเมินว่าอวัยวะนั้นล้มเหลวจริงหรือไม่ จำเป็นต้องเปลี่ยนอวัยวะหรือไม่ ซึ่งการเปลี่ยนจะพิจารณาจากความเร่งด่วนของเคส สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะทั้ง 3 อวัยวะนั้นต้องมีความแม่นยำและประสานกันเป็นอย่างดี โดยเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2560 ได้รับแจ้งว่ามีอวัยวะเข้ากันได้กับผู้ป่วย จึงมีการโทร.นัดผู้ป่วยให้มา รพ. ช่วงเช้าวันที่ 3 ธ.ค. เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการผ่าตัด การเตรียมเลือดและสารประกอบต่างๆ โดยเริ่มให้ยาระงับความรู้สึกตั้งแต่เวลา 11.30 น. ระหว่างนั้นจึงได้ส่งทีมแพทย์ 2 ทีมไปเอาอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตาย โดยทีมแรกไปนำหัวใจ ทีมที่สองไปนำตับและไตมา ซึ่งการผ่าตัดปลูกถ่ายต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุด โดยเริ่มจากปลูกถ่ายหัวใจ ตามด้วยตับ และไต ซึ่งจะต้องมีการประสานกันอย่างดีระหว่างทีมวิสัญญีแพทย์ ทีมแพทย์ผ่าตัดหัวใจ ทีมตับ และทีมไต รวมไปถึงพยาบาล เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดในการผ่าตัด ก็ต้องประสานว่าช่วงไหนทีมไหนต้องเข้าต้องดำเนินการ
รศ.นพ.ปรัญญา สากิยลักษณ์ ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายหัวใจ กล่าวว่า ที่ต้องผ่าตัดหัวใจก่อน เนื่องจากแต่ละอวัยวะมีความทนทานหลังออกนอกร่างกายต่างกัน โดยหัวใจไม่ควรนำออกเกิน 4 ชั่วโมง คือเมื่อมาถึงแล้วต้องปลูกถ่ายได้ทันที ดังนั้น เพื่อความรวดเร็วระหว่างทีมแพทย์ไปนำหัวใจ ก็ต้องเตรียมพร้อมผู้ป่วย โดยดำเนินการเลาะหัวใจเดิมออกจากร่าง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.50 น. แล้วใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมแทน เมื่อหัวใจมาถึงก็ดำเนินการปลูกถ่ายทันที โดยทำการต่อเส้นเลือดใหญ่ทั้งหมด 6 จุด เสร็จแล้วจึงปล่อยเลือดให้ไหลกลับเข้าสู่หัวใจให้หัวใจกลับมาเต้น ผ่าตัดเสร็จสิ้นในเวลา 16.54 น. อย่างไรก็ตาม ปกติหลังผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจเสร็จสิ้นจะนำเครื่องปอดและหัวใจเทียมออก แต่รายนี้มีการปลูกถ่ายตับต่อ จึงยังคงเครื่องปอดและหัวใจเทียมไว้ก่อน
รศ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ขณะผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ ทีมปลูกถ่ายตัดก็ต้องเข้าทำการเลาะตับเดิมของผู้ป่วยออกมา โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. ซึ่งพบว่าพังผืดจำนวนมาก ทำให้เสียเวลาจากที่วางแผนไว้ประมาณ 15 - 30 นที แต่ก็สามารถเลาะตับเดิมออกได้มาอย่างเรียบร้อย และเมื่อผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจเสร็จสิ้น พบว่า หัวใจฟื้นกลับมาเต้นอย่างเดิมได้แล้วจึงดำเนินการผ่าตัดปลูกถ่ายตับต่อทันที โดยตัดต่อเส้นเลือดใหญ่ 4 จุด และตัดต่อเชื่อมกับท่อน้ำดี เสร็จสิ้นการปลูกถ่ายตับในเวลา 21.20 น.
รศ.นพ.ธวัชชัย ทวีมั่นคงทรัพย์ ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายไต กล่าวว่า สำหรับการปลูกถ่ายไตเริ่มเวลา 23.15 น. โดยเป็นอวัยวะสุดท้าย เนื่องจากหากหัวใจและตับไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้ดี ปลูกถ่ายไตไปก็ไม่มีประโยชน์ และไตเป็นอวัยวะที่นำออกจากร่างกายได้นานกว่าอวัยวะอื่น จึงสามารถรอได้ อย่างไรก้ตาม เนื่องจากปลูกถ่ายหัวใจและตับใช้เวลามาเกือบ 10 ชั่วโมงแล้ว การปลูกถ่ายไตจึงยิ่งต้องรวดเร็วที่สุด โดยทำการตัดต่อเส้นเลือดดำและแดงที่บริเวณอุ้งเชิงกราน และเมื่อปล่อยให้เลือดเข้าไปสู่ไต ก็ต้องรอดูการทำงานของไตว่าฟื้นขึ้นมาดีหรือไม่ และเมื่อไตเริ่มทำงานมีปัสสาวะออกมา จึงทำการต่อเชื่อมไปที่กระเพาะปัสสาวะ โดยดำเนินการเสร็จสิ้นเวลา 01.55 น. ของวันที่ 4 ธ.ค.2560
รศ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า การผ่าตัดทั้งหมดต้องมาลุ้นว่าทุกอวัยวะทำงานได้ดีหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดก็ผ่านไปได้ด้วยดี รวมระยะเวาผ่าตัดทั้งหมด 12 ชั่วโมง 5 นาที ถือเป็นเวลาที่รวดเร็วมากสำหรับการปลูกถ่าย 3 อวัยวะ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องดูแลหลังการผ่าตัดด้วย ว่า ร่างกายปฏิเสธอวัยวะหรือไม่ ซึ่งก็ต้องมีการให้ยากดภูมิ โดยต้องให้ยาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายหรือร่างกายปฏิเสธอวัยวะ แต่จากการตรวจติดตามพบว่า หัวใจทำงานปกติดี การทำงานของตับดีขึ้นในการหลั่งสารต่างๆ หรือกำจัดของเสียในร่างกาย ค่าการทำงานของไตก็ดีขึ้น โดยต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลถึง 3 วอร์ดรวมกว่า 84 วัน ทั้งนี้ จากการค้นประวัติการปลูกถ่ายหัวใจ ตับ และไตร่วมกัน พบว่ามีการดำเนินการครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี 1989 มีรายงานทั้งสิ้น 14 ราย การผ่าตัดในผู้ป่วยรายนี้ของศิริราชถือว่าเป็นรายที่ 15 ของโลก และรายแรกในเอเชีย
นายรชานนท์ รุ่งสว่าง ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ กล่าวว่า ตนป่วยเป็นกรวยไตอักเสบตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แต่มาเป็นหนักตอนอายุ 21 ปี มีอาการบวมทั้งหน้า ขา และลำตัว ทำให้ไม่อยากไปเรียน จนเมื่ออายุ 23 ปี หลังเรียนจบได้เข้าฟอกเลือดโดยการเจาะคอ พอฟอกได้ 2 อาทิตย์ก็ตัดสินใจออกมาล้างหน้าท้อง หลังจากนั้น 6 เดือน จึงรู้ว่าเป็นโรคหัวใจด้วย น้ำท่วมปอดบ่อย ต้องใส่เครื่องกระตุกหัวใจ จากนั้นจึงได้รับการส่งตัวมายัง รพ.ศิริราช เพื่อพิจารณาเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะ ทั้งนี้ ช่วงที่ป่วยรู้สึกเหนื่อยง่ายมาก มีความเจ็บปวดและทรมาน ซึ่งเคยท้อจนถึงคิดฆ่าตัวตายและรู้สึกเป็นภาระของครอบครัว แต่เมื่อมีโอกาสเข้ามาว่ามีอวัยวะให้เปลี่ยนก็ตัดสินใจลองดู หลังจากปลูกถ่ายเสร็จ ช่วงพักฟื้นที่มีสายต่อเข้าร่างกายจำนวนมากก็รู้สึกท้อเหมือนกัน แต่หลังจากร่างกายเริ่มดีขึ้น เริ่มถอดสายนั้นนี้ ก็มีกำลังใจมากขึ้น ทุกวันนี้หลังออกจากโรงพยาบาลก็มาตรวจติดตามตามนัดตลอด ส่วนร่างกายก็ดีขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย สามารถทำงานได้ รู้สึกขอบคุณผู้บริจาคอวัยวะ ทีมแพทย์ทั้งหมดที่ช่วยให้ตนมีชีวิตใหม่

 

Manager online 02.05.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร