Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วศ.ลงพื้นที่บุรีรัมย์ใช้วิทย์ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม "ผ้าไหมหางกระรอก"  

          วศ.ลงพื้นที่รับประชุม ครม.สัญจร บุรีรัมย์ นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ช่วยกระบวนการผลิต – สร้างมูลค่าเพิ่ม “การทอผ้าไหมหางกระรอก” สร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค
          กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่รับประชุม ครม.สัญจร บุรีรัมย์ นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม Color ID Labeling ช่วยกระบวนการผลิต – สร้างมูลค่าเพิ่ม “การทอผ้าไหมหางกระรอก” ของกลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมืองบ้านสนวนนอก หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมและวิถีชีวิตพอเพียง อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ เพื่อสร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาคตาม ตามนโยบายวิทย์แก้จนในโครงการบิ๊กร็อก เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศ
นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่ จ.บุรีรัมย์ วันที่ 7 – 8 พ.ค. 2561 นั้น วศ.จะลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมืองบ้านสนวนนอก หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมและวิถีชีวิตพอเพียง อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ เพื่อสร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค ตามนโยบายวิทย์แก้จนในโครงการบิ๊กร็อค (Big Rock) เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วท. และตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สามารถลดความเหลื่อมล้ำหรือแก้จนให้กับคนส่วนใหญ่ได้
ทั้งนี้ กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมืองบ้านสนวนนอก หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมและวิถีชีวิตพอเพียง อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ มีชื่อเสียงในเรื่องวิธีการทอผ้าไหมแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า “ผ้าไหมหางกระรอก” กระบวนการผลิตผ้าทอของกลุ่มเริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การสาวไหม ตีเกลียว รวมถึงการทอออกมาเป็นผ้าทอที่เป็นผืนสวยงาม โดย วศ. นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าไปแก้ไขปัญหาพัฒนาการผลิตของกลุ่ม หลังจากพบว่า การผลิตผ้าทอของกลุ่มฯ มีปัญหาด้านต้นทุนการผลิตและปัญหาด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่ได้ยังไม่คงที่
อธิบดี วศ.กล่าวต่อว่า วศ. ส่งทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่เชิงลึกเพื่อให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนากระบวนการผลิต ตั้งแต่ช่วยให้คำแนะนำเรื่องการปรับลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่หาง่าย เช่น การฟอกกาวไหมด้วยด่างจากธรรมชาติ โดยใช้ด่างจากขี้เถ้าใต้เตามาใช้ฟอกกาวไหม ไปจนถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีเส้นใยไหมด้วยวัสดุธรรมชาติ ที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น แก่นขนุน เปลือกเพกา แก่นเข เปลือกมะพร้าว มาย้อมเส้นใยเพื่อให้ได้สีจากธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วชาวบ้านยังมีความต้องการสีย้อมเคมีที่ปลอดภัย ทางนักวิจัยจาก วศ. จึงได้นำเทคโนโลยีการย้อมสีเคมีที่ปลอดภัยและประหยัดพลังงานไปถ่ายทอดให้แก่กลุ่มด้วย
นางอุมาพร กล่าวอีกว่า ที่สำคัญ วศ. ช่วยเพิ่มมูลค่าผ้าทอ ด้วยนวัตกรรม Color ID Labeling เนื่องจากผ้าทอมือที่ย้อมสีธรรมชาติยังมีข้อจํากัดของวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศของแต่ละช่วงเวลา ทําให้การย้อมในแต่ละปี มีเฉดสีที่แตกต่างกันไป นวัตกรรม Color ID Labeling จะเป็นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาตรวจวิเคราะห์และกําหนดค่ามาตรฐานการย้อมให้ได้มาตรฐานและสามารถอ่านค่าของสีออกมาเป็นตัวเลขทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานสากล
อีกทั้งยังส่งเสริมอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ประจําท้องถิ่นทําให้กลุ่มลูกค้าสามารถจําแนกแหล่งที่ผลิตได้ว่า ผ้าผืนดังกล่าวได้ผลิตที่ไหนและปีไหน สามารถรักษาองค์ความรู้และออกแบบลวดลายผืนผ้า และเทคนิคการทอให้มีเอกลักษณ์สินค้าเฉพาะถิ่น โดยเฉพาะผ้าทอมือของไทยไม่ให้สูญหาย รวมถึงสามารถนําค่าสีนั้นตั้งเป็น color id ร่วมกับ การทํา AR Code ในฉลากที่สามารถทําให้ผู้ซื้อสามารถสอบกลับถึงแหล่งที่มาและกระบวนการผลิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคว่าได้สินค้าของแท้จากแหล่งที่ผลิตโดยตรงอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังสามารถขยายตลาดของผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีเอกลักษณ์ประจําถิ่นอีกทางหนึ่ง นําไปสู่การสร้างตลาดระดับสากลในอนาคตได้

Manager online 04.05.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร