Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

บริษัทอเมริกันพัฒนาเครื่องผลิตไฟฟ้าจากกระเเสน้ำในแม่น้ำเเละคลื่นในทะเล  

          กระแสน้ำในเเม่น้ำควิคชาก (Kvizhak River) ในหมู่บ้านอิกิอากิก (Igiugig) ในชนบทห่างไกลของรัฐอลาสก้า ไหลเชี่ยวกราก เรือลากจูงลำหนึ่งกำลังลากแพที่มีกรงเเนวขวางขนาดใหญ่ที่ทำจากแท่งเหล็กกล้าไปตามลำน้ำอย่างช้าๆ ตรงกลางของกรงมีเครื่องปั่นกระเเสไฟฟ้าที่มีกังหันติดอยู่ทั้้งสองข้าง
          เมื่อนำแพไปจอดในจุดที่ต้องการในเเม่น้ำ แพที่บรรทุกเครื่องปั่นไฟดังกล่าวจะค่อยๆ จมลงไปในน้ำ ไปอยู่บนพื้นแม่น้ำที่ไม่ลึกนัก เเละเครื่องปั่นไฟจะเริ่มทำงานด้วยเเรงไหลของกระแสน้ำเเละเริ่มผลิตกระเเสไฟฟ้าให้ประชาชนในหมู่บ้านใช้
คริสโตเฟอร์ ซอร์ (Christopher Sauer) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารเเละผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Ocean Renewable Power Company หรือ ORPC ผู้ผลิตเครื่องปั่นกระเเสไฟฟ้าพลังงานคลื่นน้ำ กล่าวว่า เครื่อง RivGen Power System ได้รับการออกแบบโดยเฉพาะ ให้เหมาะกับการใช้งานในชุมชนเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกลที่ไม่มีแหล่งกระเเสไฟฟ้า
เขากล่าวว่าเครื่องผลิตกระเเสไฟฟ้าพลังงานคลื่นน้ำนี้ไม่สูงมาก เพื่อช่วยให้ง่ายแก่การติดตั้งในจุดที่ไม่ลึกมากในเเม่น้ำ โดยใครก็ทำการติดตั้งได้
กังหันของเครื่องผลิตกระเเสไฟฟ้าพลังงานคลื่นน้ำสามารถเริ่มทำงานได้ในระดับความลึกของแม่น้ำที่ 5 เมตร ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 50 กิโลวัตต์ ซึ่งมักเพียงพอแก่ความต้องการในชุมชนเล็กๆ
ซอร์ กล่าวว่า กังหันทั้งสองข้างของเครื่องปั่นไฟมีความปลอดภัยต่อสิ่งเเวดล้อม ในฤดูที่ปลาซัลมอนมาวางไข่ จะมีปลาเกือบ 2 ล้านตัวว่ายน้ำผ่านเเม่น้ำในบริเวณนี้ เเละยังไม่เคยพบเลยว่ามีปลาได้รับบาดเจ็บจากกังหันของเครื่องปั่นไฟที่ติดตั้งในกระแสน้ำ
เครื่องปั่นไฟระบบกังหันน้ำของบริษัท ORPC ยังเหมาะกับการผลิตกระเเสไฟฟ้าจากพลังงานคลื่นน้ำทะเลอีกด้วย ซึ่งในบางจุด คลื่นน้ำทะเลมีความเเรงสูง อย่างที่อ่าวคอปสคุ๊กในรัฐเมน
คริสโตเฟอร์ ซอร์ กล่าวว่า กังหันของเครื่องปั่นไฟจะทำงานได้ตลอดไม่ว่ากระเเสน้ำ หรือ แรงน้ำจะพัดมาทางใด เพราะกังหันจะหมุนไปในทิศทางเดียวกันกับเเรงน้ำ
กังหันที่ใช้กับเครื่องปั่นไฟจากเเรงคลื่นน้ำในทะเลมีขนาดใหญ่กว่า เรียกว่า ไทด์เจน (TidGen) สามารถผลิตกระเเสไฟฟ้าได้ถึง 600 กิโลวัตต์ เพียงพอแก่ความต้องการไฟฟ้าของชุมชนชายฝั่งขนาดเล็ก
ปริมาณกระเเสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะมีความแตกต่างกันไปมากน้อยขึ้นอยู่กับความเเรงของคลื่นใต้ทะเล แต่หากมีเครื่องใช้อิเลคทรอนิกส์เพิ่มเติม ก็สามารถรักษาระดับปริมาณกระเเสไฟฟ้าให้คงที่ได้ เเละสามารถกำหนดการทำงานให้พร้อมเพรียงกับระบบจ่ายไฟฟ้าหลัก
ซอร์ คำนวณเเล้วว่า ราคาค่าไฟฟ้าแบบนี้อยู่ที่ 50 เซ็นต์สหรัฐฯ ต่อหนึ่งกิโลวัตต์ หรือ 15 บาท ระบบผลิตไฟฟ้าพลังกระเเสน้ำนี้อาจเเข่งกับแก๊สธรรมชาติได้ เเต่สำหรับหมู่บ้านและชุมชนห่างไกล เครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันดีเซลเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า หรือมากกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมง
ดังนั้นการผลิตกระเเสไฟฟ้าจากพลังงานกระเเสน้ำเเละคลื่นทะเล จะถูกกว่าอย่างเเน่นอน

 

Voice of America 06.05.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร