Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วิจัยพบยาคู่ใหม่ “โซฟอสบูเวียร์+เรวิดาสเวียร์” รักษา “ตับอักเสบซี” หายขาด 96-100%  

          สธ.ร่วม สวทช. DNDi แถลงผลวิจัยยารักษาไวรัสตับอีกเสบซีคู่ใหม่ “โซฟอสบูเวียร์+เรวิดาสเวียร์” ช่วยรักษาไวรัสซีสายพันธุ์ 1 และ 3 ได้ 97-100% ทั้งผู้ป่วยที่มีอาการตับแข็งระยะต้นและไม่มี ผลข้างเคียงต่ำ ไม่มีฤทธิ์ต้านยารักษาเอชไอวี ใช้เวลารักษา 12-24 สัปดาห์ พ่วงไทยเข้าถึงยาเรวิดาสเวียร์ถูกลงไม่ถึง 10,000 บาท เตรียมศึกษาเพิ่มในคนตับแข็งและผู้ติดเชื้อไวรัสซีสายพันธุ์ 6 หวังขึ้นทะเบียนรักษาได้ทุกสายพันธุ์ ลดขั้นตอนตรวจคัดกรองสายพันธุ์
วันนี้ (7 พ.ค.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าว “ความสำเร็จโครงการวิจัยยาต้านไวรัสโซฟอสบูเวียร์+ราวิดาสเวียร์ สำหรับรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี” ว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ติดต่อทางเลือดและเพศสัมพันธ์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง 71 ล้านคนทั่วโลก ส่วนไทยคาดว่ามีประมาณ 3-7 แสนราย โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบซี มี 6 สายพันธุ์ ในไทยมักตรวจพบสายพันธุ์ที่ 3 มากที่สุด รองลงมาคือ สายพันธุ์ที่ 1 และ 6 ทั้งนี้ โรคไวรัสตับอักเสบซีรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเร็ว ซึ่งตั้งแต่ปี 2556 รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณปีละ 300-400 ล้านบาท จัดหายาเพกอินเตอเฟอรอนและไรบาไวริน แต่รักษาผู้ป่วยได้เพียงปีละ 3,000 ราย เนื่องจากยามีราคาแพง ขณะที่ประสิทธิผลให้หายขาดอยู่ที่ร้อยละ 60-80 ใช้เวลาในรักษานาน 48 สัปดาห์ และมีผลข้างเคียงสูง
นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า แม้ต่อมาจะมียาต้านไวรัสตับอักเสบซีกลุ่มใหม่ Direct Acting Antivirals (DAAs) คือ ยาโซฟอสบูเวียร์ ซึ่งจะใช้โซฟอสบูเวียร์ร่วมกับยาเพกอินเตอเฟอรอน และไรบาไวริน รักษาไวรัสซีสายพันธุ์ที่ 3 และโซฟอสบูเวียร์ร่วมกับยาเรดิพาสเวียร์ รักษาไวรัสสายพันธุ์ที่ 1, 2, 4 และ 6 โดยประสิทธิภาพในการรักษาให้หายขาดสูงมากกว่าร้อยละ 90 ใช้ระยะเวลาสั้นลง ผลข้างเคียงต่ำ แต่ยายังมีราคาแพงคิดเป็นเงิน 16,800-48,720 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ดังนั้น คร.จึงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และองค์กรเพื่อการริเริ่มจัดหายาสำหรับโรคที่ถูกละเลย (Drugs for Neglected Diseases initiative, DNDi) ศึกษาวิจัยยาคู่ใหม่ คือ โซฟอสบูเวียร์ร่วมกับยาราวิดาสเวียร์ เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ในโรงพยาบาล 4 แห่ง คือ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.นครพิงค์ และสถาบันบำราศนราดูร พบว่ารักษาหายขาดสูงถึงร้อยละ 96-100 ที่สำคัญจากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ทำให้ไทยได้ประโยชน์ในการเข้าถึงยาราวิดาสเวียร์ในราคาถูกพิเศษไม่เกิน 10,000 บาทต่อการรักษา 1 ราย
ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรอง ผอ.สวทช.กล่าวว่า จากการรักษาได้เพียง 3,000 รายต่อปีคือเป็นเพียง 1% เท่านั้นของผู้ติดเชื้อ จึงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงยามากขึ้น สวทช.จึงจัดสรรงบประมาณ 9.9 ล้านบาท ในการดำเนินการทดสอบยารักษาไวรัสตับอีกเสบซีคู่ใหม่ดังกล่าวระยะแรกในผู้ป่วยไทยที่ยังไม่มีอาการตับแข็ง จำนวน 81 ราย ซึ่งพบว่าสามารถรักษาไวรัสซีสายพันธุ์ต่างๆ ให้หายขาดได้เกือบ 100% มีความปลอดภัยสูง ถือว่าผลการรักษาออกมาดีกว่าที่คาดไว้มาก ซึ่จะมีการศึกษาในระยะต่อไปในจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นเพื่อให้ยานำมาใช้ทั่วไปได้
รศ.พญ.อัญชลี อวิหิงสานนท์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (HIV-NAT) ในฐานะผู้ร่วมทำการวิจัย กล่าวว่า โครงการวิจัยครั้งนี้มีอาสาสมัครที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทั้งสิ้น 301 ราย เป็นคนไทย 81 ราย โดย 1 ใน 3 มีภาวะตับแข็งระยะต้นร่วมด้วย 1 ใน 3 มีภาวะติดเชื้อเอชไอวีร่วม และ 1 ใน 3 เคยรักษาด้วยยาฉีดเพกอินเตอเฟอรอนและยาไรบาไวรินมาก่อน ซึ่งการวิจัยได้ให้ยาคู่ใหม่โซฟอสบูเวียร์และราวิดาสเวียร์ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และผู้ที่มีภาวะตับแข็งระยะเริ่มต้น 24 สัปดาห์ หลังให้ยาครบและหยุดยาพบว่า ไม่มีเชื้อไวรัสหรือรักษาหายขาดได้ โดยสายพันธุ์ที่ 1 หายขาดถึง 99-100% สายพันธุ์ที่ 3 ได้ผล 97% ส่วนสายพันธุ์ที่ 6 หายขาด 81% คนที่เคยรับยามาก่อนให้ผลดีเช่นกัน ส่วนคนที่รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งตามปกติแล้วยาไวรัสตับอักเสบซีจะห้ามใช้กับยาต้านไวรัสเอชไอวี เพราะส่งผลต่อกันและกัน ก็พบว่าไม่มีการต้านกัน จึงไม่ต้องมีการปรับสูตรยาต้านไวรัสเอชไอวี และผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงร้อยละ 8 อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาต่อ เนื่องจากไม่ได้ศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการตับแข็ง ขณะที่อาสาสมัครที่เป็นไวรัสซีสายพันธุ์ที่ 6 ยังน้อยคือประมาณ 5% ของอาสาสมัคร จึงต้องเก็บตัวอย่างเพิ่มอีก 300 คน เนื่องจากประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สายพันธุ์ที่ 6 ราว 15% และต้องดูว่ามีโอกาสกลับมาติดเชื้อซ้ำหรือไม่ แต่ถือเป็นโอกาสดีที่จะสามารถยุติการติดเชื้อไวรัสตับอีกเสบซีได้ในอนาคต ส่วนการขึ้นทะเบียนยา หากการศึกษาขั้นต่อไปได้ผลดีในสายพันธุ์ที่ 6 ก็จะสามารถขึ้นทะเบียนได้ว่ารักษาได้ทุกสายพันธุ์ ซึ่งจะทำให้การรักษาง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น เพราะไม่ต้องตรวจสายพันธุ์ แต่หากไม่ได้ผลดีก็ยังขึ้นทะเบียนรักษาสายพันธุ์อื่นได้
พญ.อิซาเบล ออนดิเยอ-เมแยร์ หัวหน้าโครงการวิจัยทางคลินิกด้านเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบซี DNDi กล่าวว่า จากผลวิจัยทั้งในไทยและมาเลเซียพบว่า ยาคู่ใหม่ให้ผลการรักษาที่ดีมาก โดยเฉพาะไวรัสซีสายพันธุ์ที่ 1 และ 3 รักษาหายขาดในผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งระยะต้นร้อยละ 96 ในผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวีร่วมร้อยละ 97 และในผู้ป่วยที่เคยรับการรักษาด้วยยาเพกอินเตอเฟอรอนและไรบาไวรินมาก่อนร้อยละ 96 แต่ยังมีความจำเป็นในการศึกษาต่อในประเทศไทยเพิ่มอีก 300 คน โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ 6 เพื่อพิสูจน์ว่ายาคู่ใหม่นี้สามารถรักษาได้ทุกสายพันธุ์ และจะลดเวลาในการรักษาลงจาก 12-24 สัปดาห์ เหลือเพียง 8 สัปดาห์ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยในไทยเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะยังมีการวิจัยในประเทศอื่นด้วย เช่น มาเลเซีย ยูเครน อาร์เจนตินา กัมพูชา และอียิปต์ อย่างอียิปต์ก็พบว่าให้ผลการรักษาไวรัสสายพันธุ์ที่ 4 ได้ดี ซึ่ง DNDi จะพยายามรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อผลักดันในการยื่นขอทะเบียนยาราวิดาสเวียร์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศต่างๆ ให้เร็วที่สุดรวมถึงประเทศไทย
นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เรื่องราคายาเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาไวรัสตับอีกเสบซี แม้จะมีการผลักดันให้ยาโซฟอสบูเวียร์เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติได้แล้ว แต่ก็ยังมีการผูกขาดยาอยู่ จากการที่เรานำเข้าจากอินเดียเพียงเจ้าเดียว ทำให้ต่อรองราคายาก ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวที่ช่วยให้เข้าถึงยาราวิดาสเวียร์ไม่ถึง 10,000 มาก จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัยด้านราคา ทำให้ยาราคาถูกลง ถือเป็นเรื่องที่ดี และรัฐบาลมีโอกาสขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มมากขึ้น สำหรับการวิจัยดังกล่าวพบว่าประสิทธิภาพค่อนข้างดีในทุกสายพันธุ์ แต่ที่หวังจะเห็นจากงานวิจัยสามารถลดระยะเวลาการรักษาลงเหลือเพียง 8 สัปดาห์ และไม่มีปฏิกิริยาร่วมกับยาอื่น
นายมนูญ สาระชัย อาสาสมัครคนสุดท้ายคนที่ 81 ของโครงการ กล่าวว่า ตนฉีดยารักษาไวรัสตับอักเสบซีมากกว่า 10 ปี ก็ยังไม่หาย และการฉีดยาก็มีผลข้างเคียงทำให้อ่อนเพลียไปถึง 3 วัน แต่จากการใช้ยาตัวใหม่พบว่าไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายเลย สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และหลังจากรับยาไป 3 เดือน มาเมื่อมาตรวจก็พบว่าไม่มีไวรัสในร่างกายแล้ว ก็ดีใจมาก เพราะคิดว่าต้องอยู่ร่วมับไวรัสไปตลอดชีวิต

 

Manager online 07.05.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร