Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ก.วิทย์ฯ เล็งใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับเทศบาล-อบต.  

          "สุวิทย์ เมษินทรีย์” รมว.วิทยาศาสตร์ฯ เรียกประชุมสตาร์ทอัพ 17 พ.ค.นี้ ดึงเข้าระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เผยไทยใช้ สหรัฐฯ กับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้นแบบ เริ่มปรับใช้กับฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ทั้ง เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
          ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยเมื่อ วันที่ 15 พ.ค.61 ว่าในวันที่ 17 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันเปิดงานสตาร์ทอัพไทยแลนด์ ประจำปี 2561 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จะเรียกประชุมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพทั้งหมด เพื่อหารือและชี้แจงทำความเข้าใจการสร้างตลาดให้แก่สตาร์ทอัพ (Market Creation) เพื่อเปิดโอกาสให้สตาร์อัพไทย เข้าร่วมประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้
ดร.สุวิทย์ระบุว่า ขณะนี้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กำลังหารือกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เพื่อแก้ไขระเบียบจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องนี้ รวมทั้งตรวจสอบว่า สตาร์ทอัพยังติดขัดเรื่องอะไรบ้างที่ทำให้เข้าประมูลไม่ได้ บางครั้งหน่วยงานรัฐจะกำหนดให้ผู้เข้าประมูลต้องเป็นบริษัทในบัญชีรายชื่อของกรมบัญชีกลาง ซึ่งนับเป็นงานใหญ่มากของ วท.
"คาดว่าอีก 2-3 เดือนน่าจะได้ข้อมูลชัดเจน การที่ วท.ผลักดันเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมา วท.มีการดันให้สตาร์ทอัพเริ่มทำธุรกิจไปแล้ว จากนี้ ควรจะดึงเขาเข้ามาหาตลาดของรัฐ เพื่อให้สตาร์ทอัพ รู้ว่า วท.ไม่ได้ทิ้งพวกเขาให้หาตลาดเอาเอง"
ด้าน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผอ.สนช. กล่าวว่า สนช.จะพูดคุยกับฝั่งสตาร์ทอัพที่ติดปัญหาไม่สามารถประมูลงานภาครัฐได้เพื่อกำหนดโจทย์ว่าควรแก้ไขอย่างไร และคาดว่าจะต้องหารือกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ด้วย นอกจากกรมบัญชีกลางแล้ว
"สนช. มองว่าสตาร์ทอัพหลายรายมีศักยภาพพอที่จะสนับสนุนงานบริหารจัดการภาครัฐและงานบริการสาธารณะอยู่แล้วในด้านต่างๆ เช่น กลุ่มที่พัฒนาด้านระบบบัญชี การจัดเก็บภาษี เทคโนโลยีภาคเกษตร เทคโนโลยีการแพทย์ การจัดการข้อมูล ทั้งนี้ การดึงสตาร์ทอัพเข้ามาช่วยในระบบบริหารของรัฐเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ โดยโมเดลการทำงานของประเทศต้นแบบที่คาดว่าจะนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้ คือสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์"
ดร.พันธุ์อาจยกตัวอย่างว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะมีศูนย์พัฒนานวัตกรรมรัฐบาล ซึ่งเปิดให้สตาร์ทอัพเข้ามาเป็นพันธมิตร ขณะที่สหรัฐฯ มีระบบการบริหารที่แยกเป็นระดับรัฐและระดับเมือง โดยเมืองต่างๆ เช่น นิวยอร์ค ซีแอตเทิล แอตแลนตา จะมีประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของเมือง หน้าที่คือผลักดันให้เมืองใช้เทคโนโลยีมาบริหารจัดการให้เป็นสมาร์ทซิตี้ (Smart City) ซึ่งแต่ละเมืองจะมีการเลือกจัดจ้างสตาร์ทอัพมาพัฒนาระบบแตกต่างกันตามความเหมาะสม
“เรามองว่าในประเทศไทยอาจจะนำมาปรับใช้กับฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อช่วยในการบริการประชาชน” ดร.พันธุ์อาจ กล่าว

Manager online 15.05.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร