Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ดาวเทียมนาซาพบน้ำจืดบนโลกลดลงเพราะน้ำมือมนุษย์  

          น้ำจืดบนโลกนั้นพบได้ในทะเลสาบ แม่น้ำ ดิน หิน น้ำบาดาล และน้ำแข็ง ซึ่งน้ำจืดจากแผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกที่หลุดออกมาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น มีนัยสำคัญต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ส่วนน้ำจืดบนบกนั้นเป็นทรัพยากรโลกที่สำคัญ ทั้งเป็นน้ำดื่มและเพื่อการเกษตร ขณะที่บางพื้นที่การจ่ายน้ำเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่พื้นที่อื่นนอกเหนือออกไปนั้นกลับเผชิญภาวะน้ำท่วมหรือไม่น้ำแล้ง
          “สิ่งที่เรากำลังเป็นประจักษ์พยานคือการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาอย่างมหาศาล เราได้เห็นรูปแบบที่เด่นชัดของบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของโลกชุ่มน้ำมากขึ้น ซึ่งพื้นที่เหล่านี้อยู่ในละติจูดสูงๆ และเขตร้อน ขณะที่พื้นที่แห้งแล้งกลับแล้งมากขึ้น เมื่อผนวกเข้ากับพื้นที่แห้งแล้งเราได้เห็น “จุดร้อน” ในหลายพื้นที่ซึ่งเป็นผลจากการสูญเสียน้ำใต้ดิน” เจย์ เฟมิกลิเอตติ (Jay Famiglietti) ผู้ร่วมศึกษาเรื่องนี้จากห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน (Jet Propulsion Laboratory: JPL) ของนาซาในพาสาดีนา แคลิฟอร์เนีย กล่าว
เฟมิกลิเอตติระบุด้วยว่า ขณะที่สูญเสียน้ำไปในบางภูมิภาคอย่างการละลายของแผ่นน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็งนั้น ชัดเจนว่ามีปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แต่การเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำจืดในพื้นที่อื่นๆ นั้น ยังต้องใช้ทั้งข้อมูลและเวลามากกว่านี้ เพื่อพิจารณาว่าอะไรคือปัจจัย
ทั้งนี้ แบบจำลองจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้เคยคาดการณ์ไว้แล้วว่า พื้นที่มีน้ำมากจะยิ่งมีน้ำมากขึ้น แต่พื้นที่แห้งแล้งกลับจะยิ่งแห้งแล้งมากขึ้น แต่เฟมิกลิเอตติกล่าวว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังต้องอาศัยชุดข้อมูลที่ยาวนานกว่านี้อีกมาก เพื่อที่จะบอกได้อย่างชัดๆ ว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นเป็นต้นเหตุให้เกิดรูปแบบอย่างเดียวกันนี้เหมือนที่ได้จากข้อมูลดาวเทียมเกรซ
สำหรับดาวเทียมเกรซนั้นเป็นดาวเทียมแฝดที่ส่งขึ้นไปเมื่อปี 2002 ในปฏิบัติการความร่วมมือกับศูนย์การบินอวกาศเยอรมัน (German Aerospace Center: DLR) โดยดาวเทียมทั้งคู่สามารถระยะทางระหว่างกันได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็กโลก อันเกิดจากการเคลื่อนย้ายของมวลบนโลกที่อยู่เบื้องล่างดาวเทียมทั้งสอง ซึ่งวิธีการดังกล่าวทำให้ดาวเทียมเกรซได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของแหล่งเก็บน้ำบนโลกทุกเดือน จนกระทั่งปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของดาวเทียมได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือน ต.ค. 2017 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสังเกตการณ์จากดาวเทียมเกรซเพียงอย่างเดียว ไม่อาจบอกได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงแหล่งน้ำดังที่ปรากฏ โรเดลล์, เฟมิกลิเอตติ และทีมจึงตรวจสอบข้อมูลปริมาณน้ำฝนและน้ำจากฟ้าในรูปแบบต่าง การเกษตร การสูบน้ำบาดาล เพื่อหาคำอธิบายที่เป็นไปได้ สำหรับเมินการเปลี่ยนปริมาณน้ำที่ได้จากข้อมูลดาวเทียมเกรซ
แม้ว่าการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เพื่อการเกษตรนั้นจะมีส่วนสำคัญต่อการลดลงของน้ำจืดทั่วโลก ขณะเดียวกันระดับน้ำใต้ดินก็อ่อนไหวต่อวัฏจักรความแห้งแล้งที่ยาวนานหรือฝนที่ตกยาวนาน ซึ่งเฟมิกลิเอตติระบุว่า เมื่อเกิดปัจจัยทั้งสองพร้อมๆ กัน จึงเป็นเหตุให้ปริมาณน้ำใต้ดินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังที่สำรวจพบในหุบเขาเซ็นทรัลวัลเลย์ที่แคลิฟอร์เนียระหว่างปี 2007-2015 ซึ่งฝนและหิมะที่เติมเต็มน้ำใต้ดินนั้นลดลง กอปรกับมีการสูบน้ำใต้ดินขึ้นไปใช้ทางการเกษตรมากขึ้น
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคลิฟอร์เนียนั้นสูญเสียน้ำจืดในช่วงเวลาเดิมๆ ปีละ 4 กิกะตัน ซึ่งปริมาณน้ำ 1 กิกะตันนั้นเราสามารถเติมให้สระว่ายน้ำมาตรฐานโอลิมปิกได้ถึง 400,000 สระ โดยแหล่งน้ำจืดหลักๆ ของแคลิฟอร์เนียนั้นมาจากฝนและหิมะที่สะสมอยู่ ณ ทุ่งหิมะละลายในเซียร์ราเนวาดา โดยหิมะจะค่อยๆ ละลายลงสู่แหล่งน้ำผิวดิน แต่เมื่อวัฏจักรทางธรรมชาติทำให้ฝนและหิมะตกน้อยลง เป็นเหตุให้ทุ่งหิมะและน้ำผิวดินมีขนาดเล็กลง ยิ่งส่งผลให้คนใช้น้ำใต้ดินกันหนักหน่วงยิ่งขึ้น
การลดลงของน้ำจืดที่เห็นได้ชัดในซาอุดิอาระเบียนั้นสะท้อนถึงการทำเกษตรที่หนักหน่วง โดยระหว่างปี 2002-2016 นั้น ซาอุฯ สูญเสียน้ำใต้ดินมากถึงปีละ 6.1 กิกะตัน ซึ่งภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนแซทเผยให้เห็นประเทศที่แห้งแล้งนี้มีการเติบโตของพื้นที่เกษตรที่มีการจัดสรรน้ำเพิ่มขึ้นเป็นดอกเห็ดมาตั้งแต่ปี 1987 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อธิบายได้ถึงการ ความแห้งแล้งที่เพิ่มมากขึ้น
ทีมวิจัยยังพบด้วยว่าการผนวกกันระหว่างปัจจัยทางธรรมชาติและความบีบคั้นจากมนุษย์นั้น จะทำให้ภาพสมมุติอันเลวร้ายในบางพื้นที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น อย่างมณฑลซินเจียงของจีนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีทิศตะวันตกติดคาซัคสถาน และติดทะเลทรายทากลามากัน (Taklamakan desert) ทางตอนใต้ และรายล้อมด้วยเทือกเขาเทียนซาน (Tien Shan Mountains) ก็เคยประสบภาวะน้ำแล้งเมื่อหลายทศวรรษก่อน แต่ไม่ได้รับการบันทึกข้อมูลไว้
โรเดลล์และคณะพยายามประกอบภาพปัจจัยต่างๆ เพื่ออธิบายถึงการสูญเสียน้ำในแหล่งน้ำจืดที่ซนเจียงมากถึงปีละ 5.5 กิกะตัน ซึ่งไม่อาจกล่าวโทษเพียงเพราะปริมาณน้ำฝนน้อย เนื่องจากน้ำผิวดินได้รับการเติมเต็มจากน้ำแข็งละลายที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงการสูบน้ำใต้ดินออกจากเหมืองถ่านหิน แต่การลดลงของน้ำจืดนั้นยังเป็นผลจากการใช้น้ำไปในการเกษตรระบบชลประทาน รวมถึงการระเหยของแม่น้ำในทะเลทราย
ดาวเทียมรุ่นถัดไปที่จะขึ้นไปปฏิบัติภารกิจต่อจากดาวเทียมเกรซคือดาวเทียมเกรซฟอล์โลว์ออน (GRACE Follow-On) อันเป็นปฏิบัติการร่วมระหว่างนาซาและศูนย์วิจัยเยอรมันทางด้านภูมิศาสตร์ (German Research Centre for Geosciences: GFZ) ซึ่งกำลังประจำอยู่ที่ฐานทัพอากาศแวนเดอร์เบิร์ก เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งดาวเทียมรุ่นใหม่นี้ในวันที่ 22 พ.ค.2018 ที่จะถึงนี้

 

Manager online 18.05.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร