Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เปิด 10 เคล็ดลับดันองค์กรสู่ ‘ดิจิทัล เวิร์คเพลส’  

          ทุกวันนี้ธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมต่างตื่นตัวกับการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็น “องค์กรดิจิทัล” บางองค์กรเปลี่ยนจุดยืนไปเป็น “เทค คอมพานี” หรือบางองค์กรเริ่มพัฒนา “ดิจิทัล เวิร์คเพลส” เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ปรับโฉมสำนักงานให้รองรับการทำงานยุคใหม่
          ศิษฏพงศ์ เศรษฐภัทร ผู้อำนวยการฝ่ายบิ๊กดาต้าและอนาไลติกส์ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญขององค์กรที่ต้องการทำดิจิทัล เวิร์คเพลส(Digital Workplace) คือต้องการปรับปรุงรูปแบบการทำงานภายในองค์กรให้เป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ ช่วยให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น ขณะเดียวกันทันต่อการแข่งขันที่รวดเร็วในโลกดิจิทัล
“การที่จะเกิด ดิจิทัล เวิร์คเพลส ได้หลักๆ ที่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องของการทำให้เกิดการทำงานร่วมกันภายในองค์กรมากขึ้น(Collaboration) เช่นเดียวกับการที่ต้องรู้ว่าบุคลากรใดเหมาะสมกับการทำงานรูปแบบใด(Visibility) และเขาเหล่านั้นจะช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างไร"
 ขณะเดียวกัน องค์กรที่ต้องการปรับรูปแบบการทำงานควรตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการมุ่งหน้าสู่ ดิจิทัล เวิร์คเพลส เพื่อให้องค์กรชับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วและทรงประสิทธิภาพ”
มิติใหม่สถานที่ทำงาน
จีเอเบิลได้สรุปการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการทำงาน 10 ด้าน เพื่อการปรับองค์กรสู่การเป็น ดิจิทัล เวิร์คเพลส เต็มรูปแบบ ประกอบไปด้วย
1.สร้างแหล่งศึกษาความรู้(Ambient Knowledge) เนื่องจากทุกคนมีความต้องการที่จะเรียนรู้เฉพาะเรื่อง เพื่อนำไปแก้ปัญหาในการทำงาน การจัดคอร์สเทรนนิ่งที่ใช้เวลาไม่นานในองค์กรจะช่วยก่อให้เกิดศูนย์กลางความรู้
2.เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์(Embedded Analytics) เพื่อช่วยให้องค์กรหรือบุคลากรตัดสินใจง่ายขึ้น การเข้าไปรายงานการทำงานต่างๆ จะมีการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และแสดงผล โดยมีการบันทึกลงในโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่ช่วยในการวิเคราะห์ แล้วจึงนำข้อมูลนั้นไปใช้งาน
3.เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน(Production Studio) เช่นการจัดเตรียมเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมได้ พร้อมจัดพื้นที่สำหรับการพรีเซนต์ข้อมูลในการประชุมต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในการทำงาน
4.เครื่องมือช่วยลดระยะเวลาทำงาน ลดขั้นตอนการทำงาน(Process Hacking) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพในความถูกต้องและแม่นยำ เช่น ใช้เครื่องมืออัตโนมัติมาช่วยตรวจสอบคุณภาพของสินค้า โปรแกรมตรวจคำผิด
5.คอร์สระยะสั้น(Microlearning) เพื่อเสริมศักยภาพของบุคลากรและสร้างความรู้ใหม่ๆ การจัดคอร์สที่ให้ความรู้ที่มีหัวข้อหลากหลาย เพื่อให้บุคลากรที่สนใจสามารถเข้ามาเลือกที่จะเรียนรู้ได้ โดยจะเน้นเป็นคอร์สระยะสั้นภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง
6.ปรับภูมิทัศน์องค์กร(Office Landscape) ปัจจุบันทุกคนทำงานผ่านโน้ตบุ๊ค ผ่านโลกการสื่อสารดิจิทัล จึงควารปรับภูมิทัศน์ของสถานที่ทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และสร้างบรรยากาศการทำงานที่สามารถตอบสนองการทำงานร่วมกันให้ได้มากที่สุด
7.การก่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน(Silo-buster) ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแสดงให้เห็นความชัดเจนในการทำงาน(Visibility) ให้ทุกคนสามารถโชว์ผลงานของตัวเองได้เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในผลสำเร็จของงานที่ทำ โดยการสร้างพื้นที่หรือแพลตฟอร์มในการพูดคุย ลงรายละเอียดงานต่างๆ ให้แก่สมาชิกทุกคนในองค์กร
8.นำเทคโนโลยีเสมือนจริง วีอาร์ และ เออาร์ มาใช้(Immersive Technologies) ด้วยการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาช่วยในการเทรนนิ่งเช่น การนำวีอาร์มาสอนวิธีใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ซึ่งสามารถทำให้เราได้เห็นมุมมองเสมือนจริง
9.สร้างพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนตัวบนคลาวด์(Personal Cloud) เพราะปัจจุบันในการทำงานไม่จำเป็นต้องทำผ่านโน้ตบุ๊กเครื่องเดียวอีกต่อไปแต่สามารถเก็บข้อมูลไว้บนคลาวด์เพื่อเรียกใช้งานจากอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับรูปแบบของงาน
10.การมีผู้ช่วยเสมือน(Virtual Personal Assistants) อย่างแชทบอทหรือเทคโนโลยีสูงๆ ที่เข้ามาช่วยตอบคำถามเบื้องต้น หรือใช้ในการแนะนำฝ่ายที่เหมาะสมเพื่อที่จะเข้าไปพูดคุยได้ต่อไป
เสิร์ฟทุกบริการบนดิจิทัล
สำหรับบทบาทของกลุ่มบริษัทจีเอเบิล ให้บริการโซลูชั่นสำหรับการทำ ดิจิทัล เวิร์คเพลส ให้กับองค์กรต่างๆ โดยเริ่มจากการทำ ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง(Digital Marketing) ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจนำเทคโนโลยีมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยยกระดับองค์กร
โซลูชั่นดังกล่าวจะมีทั้งโปรดักทิวิตี้ สวีท (Productivity Suite) ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น ระบบจัดการการประเมินประสิทธิภาพของบุคลากรระบบการจัดการทางด้านการเงินระบบการลาเป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีดิจิทัลรีครูทเม้นท์ (Digital Recruitment) ระบบการเปิดรับผู้ร่วมงานทางด้านดิจิทัลเพื่อค้นหาบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพและเหมาะสมให้กับองค์กรและ
ดิจิทัล เทรนนิ่ง(Digital Training) ระบบสำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัลโดยผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศสำหรับองค์กรเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ทางด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรที่จะนำไปสู่การเป็นสถานที่ทำงานแบบดิจิทัลให้เลือกนำไปใช้งานได้ในอนาคต
“หัวใจสำคัญคือ การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุน 10 ด้าน เชื่อมโยงการทำงานในทุกภาคส่วน เน้นเพิ่มศักยภาพบุคลากร การสร้างบรรยากาศการทำงานเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และเป็นผู้ช่วยส่งเสริมการทำงานให้สะดวก รวดเร็ว เพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่างแท้จริง” ศิษฏพงศ์ กล่าว

 

Bangkokbiznews 23.05.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร