Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เยือนโรงงานกำจัดขยะเอาของเสียอิเล็กทรอนิกส์ไปทำอะไร?  

          มีการ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่งที่ตัวละครของเรื่องสามารถเปลี่ยนของจากสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งได้ ยกตัวอย่างเช่นตัวเอกที่สามารถเปลี่ยนขยะเป็นต้นไม้ได้ เด็กๆที่ติดตามการ์ตูนเรื่องนี้ก็ต่างพากันอยากมีพลังแบบในการ์ตูนบ้าง แต่ในยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์คงมีแต่เทคโนโลยีเท่านั้นที่จะทำแบบนั้นได้
         ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่พร้อมคณะจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเยี่ยมชมโรงงานรับกำจัด บำบัดและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ของ บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด จ.อยุธยา ซึ่งได้รับใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงานประเภท 105 สำหรับประกอบกิจการคัดแยกและฝังกลบวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และประเภท 106 สำหรับประกอบกิจการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว หรือของเสียจากโรงงาน มาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
โรงงานซึ่งตั้งอยู่ที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคที่จังหวัดอยุธยาแห่งนี้ รับขยะอิเล็กทรอนิกส์มาจากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายในประเทศไทยโดยเฉพาะรอบๆ นิคมอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเศษชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า ฟิล์มเอ็กซเรย์ โดยการประมูลแข่งกับโรงงานรับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์โรงงานอื่นๆ
เมื่อบริษัทผู้ผลิตขยะ แจ้งมาที่โรงงานรับกำจัด บำบัดขยะ ทางผู้รับกำจัด บำบัดจะจ้างบริษัทขนส่งขยะที่ได้รับใบอนุญาติขนส่งจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมและมีใบครอบครองของเสียเพื่อการขนส่ง วอ. 8 ในระหว่างการขนส่ง และทั้งผู้ขนส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผู้รับบำบัด กำจัด รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ผลิตกากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการส่งใบกำกับการส่ง (Menifest)
อุดร สุขีลาภ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงาน บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) เล่าว่าเมื่อขยะอิเล็กทรอนิกส์มาถึงบริษัท มัตซึดะ จะถูกตรวจสอบเพื่อดูว่า ตรงกับข้อมูลในใบกำกับการขนส่งหรือไม่ จากนั้นนำไปเก็บที่โรงเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ และถูกทยอยมาบดด้วยรถบดย่อยขยะ (รถ mobile) เพื่อทำให้ขยะมีขนาดเล็กลง ขยะที่ถูกบดจะถูกส่งไปยังโรงเผาขยะและเผาที่อุณหภูมิประมาน 500-700 องศาเซลเซียส จนขยะที่ไม่ใช่โลหะมีค่าละลาย และระเหยกลายเป็นไอ ไอนั้นจะเข้าไปในส่วนที่เป็นเตาเผาแก๊สที่มีอุณหภูมิ 830 องศาเซลเซียส และถูกดูดเข้าไปยังระบบหล่อเย็น ผ่านต่อไปยังแก็สฟิวเตอร์ และระบบสครับเบอร์ (Scrubber) เพื่อบำบัดอากาศตามลำดับ ส่วนที่เป็นโลหะมีค่าอย่างทองคำ ทองคำขาว พาราเดียม และเงิน จะออกมาพร้อมกับเถ้า (Ash) ซึ่งเถ้าจะถูกนำไปผสมกับไซยาไนด์เพื่อทำละลาย
“สารละลายนั้นจะถูกส่งไปยังโรงสกัดโลหะมีค่า ด้วยกระบวนการการแยกโลหะแต่ละชนิด ออกจากสารละลายด้วยวิธีการทางไฟฟ้าเคมี ด้วยการปล่อยประจุให้โลหะมีค่ามาเกาะอยู่ที่แกน แกนที่มีโลหะมีค่าแต่ละชนิดเคลือบอยู่จะถูกนำไปทำละลายโลหะมีค่าที่เกาะอยู่ด้วยสารละลายกรด แล้วนำสารละลายเข้ากระบวนการทำให้สารละลายมีความเข้มข้นเพื่อให้โลหะมีค่าตกตะกอน ตะกอนเหล่านั้นจะถูกแยกออกมาจากสารละลายด้วยกระดาษกรอง ส่วนของน้ำเสียที่มีส่วนผสมของไซยาไนด์และสารละลายกรดจะถูกบำบัดด้วยวิธีการทางเคมีและปล่อยสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของทางนิคมอุตสาหกรรม”
อุดรบอกอีกว่าโลหะที่ออกมานั้นจะมีความบริสุทธิ์ประมาณ 99.9 % แต่ถ้าจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ต้องเป็นโลหะมีค่าที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ดังนั้นทางโรงงานจึงต้องส่งโลหะมีค่าเหล่านี้ ไปยังบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นผ่านทางเครื่องบิน เพื่อทำให้โลหะมีค่าให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น โลหะมีค่าที่ผ่านการทำให้มีความบริสุทธิ์สูงด้วยเทคโนโลยีของทางญี่ปุ่น ทางโรงงานที่ญี่ปุ่นจะนำโลหะมีค่าเหล่านี้ ไปเป็นวัตถุในโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจร ซึ่งเป็นการลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดจากการระเบิดภูเขาหรือทำเหมืองเพื่อเอาแร่มาทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยปริมาณของเสียอิเล็กทรอนิกส์ต่อปริมาณของโลหะมีค่าเหล่านี้ จะขึ้นอยู่กับประเภทของขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่องจะมีโลหะมีค่าเป็นน้ำหนักรวมประมาณ 10 ppm (part per million)

 

Manager online 02.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร