Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

แยกขยะอิเล็กทรอนิกส์อันตราย ชาวบ้านรู้แต่ก็ทำ เพราะรายได้ดี กรมการแพทย์ลั่น 1 ต.ค.ทุก รพ.ในสังกัดเลิกใช้ถุงพลาสติกใส่ยา  

          ดีเดย์ 1 ต.ค. รพ. 30 แห่งสังกัดกรมการแพทย์ เลิกใช้ถุงพลาสติกใส่ยาใช้ “ถุงผ้า” แทน ลดใช้ถุงพลาสติกได้ 9 ล้านกว่าใบ ประหยัดงบ 2.5 ล้านบาทต่อปี ห่วงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ทำประชาชนป่วยจากพิษโลหะหนัก บางหมู่บ้านแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ขาย รู้ว่าไม่ปลอดภัย แต่ต้องทำเพื่อปากท้อง
          วันนี้ (4 มิ.ย.) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก วันที่ 5 มิ.ย. 2561 ว่า วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิ.ย. 2561 มีคำขวัญว่า “รักษ์โลก เลิกพลาสติก” กรมฯ อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหา ซึ่งจากข้อมูลปี 2560 พบว่า โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ 30 แห่ง มีการใช้ถุงพลาสติกใส่ยาให้ผู้ป่วย 9,010,164 ใบ คิดเป็นเงิน 2.5 ล้านบาท ดังนั้น กรมฯ จึงดำเนินโครงการใช้ถุงผ้าใส่ยาให้กับผู้ป่วยแทนการใช้ถุงพลาสติกแล้วในสถานพยาบาล 18 แห่ง เพื่อช่วยลดโลกร้อนและประหยัดงบประมาณ โดยอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 12 แห่ง ซึ่งกำหนดว่าตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2561 เป็นต้นไป รพ. ทั้ง 30 แห่งในสังกัดกรมการแพทย์จะเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าใส่ยาแทนถุงพลาสติกทั้งหมด ซึ่งการดำเนินการใช้ถุงผ้า มีทั้งที่ รพ. จัดหามาให้ผู้ป่วยฟรีในครั้งแรก แต่มีการกำชับให้นำมาในครั้งต่อไป หากไม่นำมาจะถูกเก็บเงินเพิ่ม และมีทั้งให้ผู้เข้ารับบำบัดยาเสพติดของสถาบันธัญญารักษ์เป็นคนเย็บถุง ซึ่งจากการสำรวจประเมินความเห็นประชาชนพบว่าเข้าใจและเห็นด้วยกับมาตรการนี้ และสนับสนุนให้ดำเนินการต่อ
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะนี้จะเห็นว่ามีข่าวการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ มาทิ้งในประเทศไทย ซึ่งต้องเรียนว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์หากกำจัดไม่ดี จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพิษจากตะกั่วจะทำให้เด็กโลหิตจาง กระทบกับพัฒนา การเรียนมีปัญหา สมาธิสั้น ในผู้ใหญ่ก็จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และโรคผิวหนัง นอกจากนี้ อาจจะได้รับผลกระทบจากสารปรอท ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ทำให้ตับวาย ไตวาย กระทบเส้นประสาท นอกจากนี้ ปัจจุบันยังพบปัญหาโรคภูมิแพ้ผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสสารพิษเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นเพราะป่วยเพิ่มจริงๆ หรือเพราะเข้าถึงการตรวจรักษามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ตนเคยเป็นผู้ตรวจราชการเขต 9 เคยพบปัญหาประชาชนใน จ.บุรีรัมย์ มีปัญหาสุขภาพ เพราะมีการเอาคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์มาทิ้งรวมกันห่างจากประปาหมู่บ้านเพียง 20 เมตร
“ที่ผ่านมา ได้มีการหารือกันของหน่วยงานด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังผลกระทบจากขยะอิเล็กทรอนิกส์กับสุขภาพ เพื่อหาข้อมูลว่าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบมากน้อยอย่างไรบ้าง แต่ยังไม่ได้สรุป อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การห้ามประชาชนเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการเก็บของเก่าขาย ซึ่งประชาชนรู้ว่ามีอันตราย แต่ก็ทำ เพราะรายได้ดีกว่ามาก ซึ่งเขาบอกว่าป้องกันแล้วสวมถุงมือ สวมหน้ากากแล้ว คือเรื่องเศรษฐกิจ คือ ลมหายใจของเขา ก็ห้ามยาก จึงต้องเฝ้าระวัง” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

Manager online 04.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร