Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยแนะวิธีแก้ “เครื่องสำอาง” ปลอม ไม่ต้องยกเลิกจดแจ้งออนไลน์  

          อย. ยันไม่ยกเลิกจดแจ้งเครื่องสำอางออนไลน์ ชี้ เป็นการถอยหลังเข้าคลอง ด้านนักวิจัยทีดีอาร์ไอ ชี้ ยกเลิกจดแจ้ง “เครื่องสำอาง” ออนไลน์ ไม่ช่วยแก้ปัญหาสินค้าเถื่อน เหตุเกิดจากการลอบเติมสารอันตราย แนะทางออกแก้ปัญหา เพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบ แจ้งเตือนประชาชนรวดเร็ว ยก อย. สหรัฐฯ มีเพจแสดงรายชื่อสินค้ามีสารพิษเกินเกณฑ์และผิด กม. เสนอว่าจ้างหน่วยงานภายนอกทำหน้าที่แทน
          จากกรณีเครือข่ายผู้บริโภคเคยเสนอให้มีการยกเลิกระบบการจดแจ้งเครื่องสำอางออนไลน์ เนื่องจากทำให้ได้เลขจดแจ้ง อย. ง่าย และเกิดการลักลอบใส่สารอันตรายลงในเครื่องสำอาง ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ปรับระบบการจดแจ้งออนไลน์ โดยผู้ยื่นขอจดแจ้งจะต้องระบุสถานที่ผลิต เป็นโรงงานที่ได้มาตรฐานและอยู่ในระบบของ อย. ซึ่ง อย. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ อยู่ระหว่างการตรวจมาตรฐานโรงงานผลิตเครื่องสำอางเพื่อขึ้นทะเบียนในระบบฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน ส.ค. นี้
นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย. คงไม่ยกเลิกการจดแจ้งเครื่องสำอางผ่านทางออนไลน์หรือระบบ E-Submission เนื่องจากเป็นการถอยหลังเข้าคลอง กลับไปสู่ยุคกระดาษ ผู้จดแจ้งต้องเดินทางเข้ามาพบเจ้าหน้าที่ อย. เพื่อสอบถามและขอจดแจ้ง และต้องลงไปตรวจสถานที่ผลิต ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากและเป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ดี ที่ทำถูกต้อง ซึ่งแต่ละวันมีผู้ยื่นจดแจ้งผลิตเครื่องสำอาง 700 - 800 รายการต่อวัน หากกลับไปแบบเดิมไม่ใช้ออนไลน์ก็จะเกิดปัญหาและความลำบาก ซึ่ง อย. ก็ปรับโดยต้องยื่นสถานที่ผลิตที่เป็นโรงงานที่ได้มาตรฐานของ อย.
ด้าน น.ส.ธารทิพย์ สุวรรณเกศ นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การยกเลิกระบบจดแจ้งเครื่องสำอางออนไลน์ อาจไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น เนื่องจากปัญหาไม่ได้เกิดจากการยื่นจดแจ้ง แต่ปัญหาน่าจะเกิดจากการผลิตสินค้าที่นำมาขายจริงกลับมีการเติมสารที่ไม่ได้แจ้ง อย. หรือผลิตสินค้าโดยปลอมแปลงเลขที่ใบรับแจ้ง ถึงแม้จะมีการจดแจ้งกับเจ้าหน้าที่ อย. โดยตรง เพื่อให้มีการตรวจสอบ แต่การตรวจสอบนั้นจะเกิดเฉพาะในช่วงการขอจดทะเบียนเท่านั้น หากแต่ไม่ได้มีการสุ่มตรวจสอบสินค้าเมื่อวางขายในตลาด นอกจากนี้ การยกเลิกระบบการจดแจ้งเครื่องสำอางออนไลน์ไม่สามารถทำได้ เนื่องด้วยประเทศไทยได้ลงนามในความตกลง Agreement on ASEAN Harmonized Cosmetic Regulatory Scheme (AHCRS)  ทำให้การกำกับดูแลเครื่องสำอางก่อนวางตลาด ซึ่งนอกจากจะมีการกำหนดรายการสารต้องห้ามที่ใช้เป็นส่วนผสม การแสดงฉลาก รวมถึงการจัดทำเอกสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งอาเซียนแล้ว ยังกำหนดให้ประเทศภาคีใช้ระบบการจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่จำหน่ายแทนการจดทะเบียน
น.ส.ธารทิพย์ กล่าวว่า แนวโน้มการกำกับดูแลเครื่องสำอางของทุกประเทศ ปรับไปสู่การจดแจ้งผ่านระบบออนไลน์มากกว่าการไปขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์กับเจ้าพนักงานโดยตรงแล้ว แต่ประเทศเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้าหลังวางขาย (Post Market Surveillance) อย่างมาก อย่างสหรัฐอเมริกา องค์การอาหารและยา (FDA) มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งหมดเกือบ 5,000 คน ทั้งในส่วนกลางและสำนักสาขาทั่วประเทศ โดยสุ่มตรวจสินค้าที่วางขายในตลาดและบริษัทที่ผลิตสินค้าโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า หากตรวจพบว่า สินค้าใดมีการปิดฉลากที่ไม่ถูกต้องหรือมีส่วนประกอบที่ไม่ตรงกับเอกสารที่ยื่นจดแจ้ง จะพิจารณาเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยออกจากตลาดทั้งหมด และดำเนินคดีกับผู้ผลิตหรือผู้ขายอย่างจริงจัง
น.ส.ธารทิพย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน อย. เป็นหน่วยงานที่มีสำนักงานแค่ในส่วนกลางและมีอัตรากำลังเพียง 700 กว่าคน ทำหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด ไม่ได้มีหน้าที่เพียงตรวจสอบและเฝ้าระวังเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบสินค้าเครื่องสำอางที่วางจำหน่ายในตลาดทั้งหมดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระดับท้องถิ่น แม้จะมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องนี้ แต่มองว่า ยังต้องเพิ่มความเข้มงวดในการลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบสินค้าในตลาดและออนไลน์เพิ่มขึ้น ทุก 3 - 4 เดือน พร้อมเปิดเผยการดำเนินงานต่อสาธารณะ หากพบสินค้าที่เป็นอันตรายหรือละเมิดกฎหมาย ต้องส่งต่อให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเร่งกวาดล้าง และประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนรับรู้อย่างรวดเร็ว เช่น FDA สหรัฐฯ ที่มีเพจ “Recalls and Alerts” ที่แสดงรายชื่อสินค้าและผู้ผลิตสินค้าที่ตรวจพบว่า มีสารพิษเกินกว่าเกณฑ์และ FDA สหรัฐฯ ได้แจ้งเตือน หรือออกคำสั่งให้ถอนสินค้าดังกล่าวออกจากตลาด ส่วนในระยะยาว อย. อาจพิจารณาว่าจ้างหน่วยงานภายนอก เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้าหลังวางขาย หากกำลังคนไม่เพียงพอ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะไม่มีการใช้สินค้าที่มีการแอบอ้าง อย. อยู่

 

Manager online 05.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร