Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พบอีกกุญแจไขปริศนาสัตว์ดึกดำบรรพ์วิวัฒนาการจากปลาขึ้นบก  

นักวิทยาศาสตร์พบอีกกุญแจไขปริศนาสัตว์ดึกดำบรรพ์วิวัฒนาการจากปลาขึ้นบก เผยฟอสซิลสัตว์สี่ขายุคดีโวเนียนในอดีตที่ขุดพบจากแอฟริกาใต้ บ่งบอกสัตว์ดึกดำบรรพ์วิวัฒนาการจากปลาขึ้นสู่บกจากทั่วโลก ไม่จำกัดแค่พื้นที่ในแถบเส้นศูนย์สูตร วิวัฒนาการของสัตว์ดึกดำบรรพ์จากปลามาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังสี่ขาหรือเตตระพอด (tetrapods) นั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญ เพราะสัตว์เตตระพอดน้ำหรือสัตว์สะเทือนน้ำสะเทือนบกชุดแรกที่วิวัฒนาการขึ้นมาอยู่บนบกนั้นเป็นบรรพบุรุษของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์เชื่อมานานว่า วิวัฒนาการดังกล่าวเกิดขึ้นในทวีปลอราเซีย (Laurasia ซึ่งเป็นทวีปขนาดเล็กกว่า ในยุคดีโวเนียนเมื่อหลายร้อยล้านปีก่อนที่โลกแบ่งเป็น 2 ทวีปใหญ่) โดยปัจจุบันพื้นที่ของทวีปดังกล่าวคืออเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ และยุโรป เอเอฟพีรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลเตตระพอด 2 ชนิด คือ ตูตูเซียส อัมแลมโบ (Tutusius umlambo) และ อัมแทนเชีย อะเมซานา (Umzantsia amazana) ที่ชายฝั่งเมืองอีสเทิร์นเคป (Eastern Cape) ของประเทศแอฟริกาใต้ใกล้ๆ กับขั้วโลกใต้ การค้นพบล่าสุดบ่งบอกว่า สัตว์สี่ขานี้กระจายอยู่ทั่วโลกตั้งแต่เริ่มวิวัฒนาการแล้ว ขัดกับความเห็นเดิมที่ว่าเตตระพอดน้ำที่อพยพขึ้นมาสร้างอาณาจักรบนบกครั้งแรกนั้น มีวิวัฒนาการอยู่ในแถบศูนย์สูตรที่อบอุ่น ดร.โรเบิร์ต เกส (Dr Robert Gess) หนึ่งในหัวหน้าทีมวิจัยบอกเอเอฟพีว่า ตอนนี้เรามีหลักฐานของเตเตระพอดยุคดีโวเนียนที่พบแถวปลายทวีปกอนด์วานา (Gondwana) หรือเทียบกับปัจจุบันคือแถวๆ ขั้วโลกใต้ ในวงกลมแอนตาร์ติก (Antarctic Circle) ซึ่งฟอสซิลเหล่านั้นก็คือบรรพบุรุษของเรา กอนด์วานาเป็นทวีปใหญ่กว่าลอราเซียในยุคนั้น พื้นที่ในปัจจุบันที่เคยเป็นทวีปกอนด์วานา คือ แอฟริกา อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย แอนตาร์กติกาและอินเดีย แม้ว่าฟอสซิลที่พบจะไม่สมบูรณ์ แต่นักวิทยาศาสตร์เผยว่าเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีลักษณะผสมผสานระหว่างจระเข้และปลา โดยมีหัวและแขนขาที่เทอะทะเหมือนจระเข้ แต่ก็มีครีบเหมือนปลา ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เคยพบและศึกษาฟอสซิลเตตระพอด 12 ตัวอย่าง ซึ่งทั้งหมดเป็นฟอสซิลในแถบศูนย์สูตรของยุคดีโวเนียน คือพบในบริเวณ 30 องศาเหนือและใต้จากเส้นศูนย์สูตร โดยเกือบทั้งหมดนั้น (ยกเว้นสองตัวอย่าง) พบในพื้นที่เคยเป็นทวีปลอราเซียมาก่อน และมีเพียงกรามเตตระพอด 1 กรามที่พบว่ามาจากกอนด์วานา โดยพบที่ออสเตรเลียตะวันออก หรือยุคนั้นคือตอนเหนือทางชายฝั่งแถบศูนย์สูตรของทวีปกอนด์วานา หลักฐานที่พบก่อนหน้านั้น นำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่า เตตระพอดวิวัฒนาการขึ้นแถวๆ แถบศูนย์สูตร หรือมีกำเนิดที่แถบศูนย์สูตร แล้วอพยพขึ้นบกสู่สิ่งแวดล้อมของเขตร้อน ด้วยปัจจัยของทะเลสาบเขตร้อนในยุคดีโวเนียนและสภาพน้ำกร่อยในยุคนั้น น่าจะเป็นกุญแจไขถึงสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่วิวัฒนาการครั้งใหญ่ “ตอนนี้เราก็ทราบว่า ในช่วยปลายยุคดีโวเนียนนั้นเตตระพอดอาศัยอยู่ทั่วโลก ตั้งแต่แถบศูนย์สูตร ไปจนถึงวงกลมแอนตาร์กติก ดังนั้น เป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจจะมีจุดกำเนิดที่ส่วนไหนของโลกก็ได้ และยังอพยพย้ายขึ้นไปส่วนไหนของพื้นดินก็ได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างหลากหลายมากจริงๆ” เกสระบุ ฟอสซิลที่ค้นพบหลังสุดนี้ สนับสนุนแนวคิดว่า การยกพลขึ้นของสัตว์ดึกดำบรรพ์ 4 ขานั้น เกิดขึ้นที่ใดบนโลกก็ได้ สำหรับฟอสซิล ตูตูเซียส อัมแลมโบ ที่ยาวประมาณเมตรนั้นตั้งชื่อตาม อัครมุขนายกกิตติคุณ เดสมุนด์ ตูตู (Archbishop Emeritus Desmond Tutu) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เกสอธิบายว่า เมื่อต้องตั้งชื่อสัตว์ดึกดำบรรพ์ดังกล่าว ชื่อของ อัครมุขนายกกิตติคุณ เดสมุนด์ ตูตู ก็ผุดขึ้นมาในใจ นั่นเป็นเพราะสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ได้บุกเบิกเส้นทางให้แก่บรรพบุรุษของเรา โดยหันหลังให้โลกใต้น้ำที่ไม่อาจหายใจได้และเต็มไปด้วยอันตราย สู่ดินแดนที่อบอุ่นด้วยแสงแดดและอนาคตใหม่ สำหรับการศึกษาครั้งนี้นำโดยมหาวิทยาลัยแห่งวิทวอเตอร์สแรนด์ (University of the Witwatersrand) ของแอฟริกาใต้ และมหาวิทยาลัยอัปซาลา (Uppsala University) ของสวีเดน รายงานระบุด้วยว่า แอฟริกาใต้นั้นเป็นแหล่งข้อมูลของวิวัฒนาการมนุษย์ที่ค่อนข้างครบมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นดินแดนของ Cradle of Humankind ซึ่งเป็นแหล่งสำรวจมนุษย์โฮโม (hominin) ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นถิ่นของ Manager online 09.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร