Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ใช้เทคโนโลยี "ไลดาร์" เฝ้าระวังน้ำท่วม "ทุ่งรับน้ำ" ในภาคกลาง  

จิสด้าติดตั้ง "หมุดวัดน้ำ" ใช้เทคโนโลยีไลดาร์ ส่งข้อมูลผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตถึงศูนย์ควบคุม รวมติดตั้ง 200 จุดใน 12 ทุ่งรับน้ำที่อยู่ในภาคกลางทั้งหมด ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ลงพื้นที่พร้อมสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) เพื่อสำรวจอุปกรณ์วัดระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ ของ จ.พระนครศรีอยุธยา ใน 3 จุด คือ กลางทุ่งนา อ.บางบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.บางบาล และวัดราษฏร์นิยม อ.ผัดไห่ นายธัชชัย แสนเสนา หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ จากจิสด้า ให้ข้อมูลว่า จิสด้าในฐานะหน่วยสนับสนุนการทำงานให้กับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในการวางแผนรับมือและจัดการน้ำท่วมตามคำสั่งของนายยกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการติดตั้งหมุดวัดระดับน้ำขึ้นมาซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ จ.ชัยนาท จ.อยุธยา และมีบางส่วนอยู่ที่ จ.ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา รวม 200 จุด ในพื้นที่ 12 ทุ่งรับน้ำ สำหรับทุ่งรับน้ำดังกล่าว ได้แก่ ทุ่งบางระกำ ทุ่งเชียงราก ทุ่งชัยนาทป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางบาล ทุ่งบ้านแทน ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งโพธิ์พญา ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งพระยาบรรลือและทุ่งรังสิตใต้ ซึ่งเป็นทุ่งที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางทั้งหมดและในการวางหมุดวัดน้ำจะวางกระจายเพื่อให้ได้ตัวแทนของทุกจุดในทุ่งรับน้ำ "ภายในกล่องของหมุดวัดระดับน้ำ ซึ่งเป็นอุปกรณ์วัดระดับน้ำที่จิสด้านำไปติดตั้ง ประกอบด้วย กล่องควบคุมซึ่งจะรับสัญญาณจากเซนเซอร์และส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุม ในส่วนของแบตเตอรีของระบบจะทำงานร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในตอนกลางคืน ในอนาคตถ้าเปลี่ยนเป็นระบบ IOT (Internet of Thing) ตัวกล่องอาจมีขนาดเล็กลงและสามารถติดตั้งได้ง่ายขึ้น" การทำงานของอุปกรณ์วัดระดับน้ำอาศัยเซนเซอร์ที่อยู่บริเวณใต้ตัวกล่องที่อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย 180 เซ็นติเมตร โดยเซนเซอร์จะทำการยิงสัญญาณเพื่อตรวจจับระดับน้ำลงไปที่ฐานของเสา และส่งไปค่าที่วัดได้ไปยังสำนักงานใหญ่ของจิสด้าแบบเรียลไทม์ (real time) เครื่องจะมีเซนเซอร์ในการตรวจวัดระดับความสูงของน้ำ "ถ้าในสถานการณ์ปกติค่าที่เซนเซอร์แปรผลออกมาสู่ระบบจะมีค่าเป็นศูนย์ เมื่อมีน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ๆหมุดวัดน้ำนี้อยู่ เซนเซอร์จะส่งสัญญาณออกมาเป็นความสูงของน้ำในพื้นที่ๆ นั้นว่า น้ำมีระดับความสูงเป็นเท่าไหร่แล้วในทุ่งรับน้ำ ข้อมูลตัวนี้จะถูกส่งไปที่จิสด้า และจิสด้าจะทำการประมวณผลร่วมกับข้อมูลดาวเทียมในเรื่องของความสูงและภูมิประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีความละเอียดสูงที่เรียกว่า ไลดาร์ (LIDAR) ประเมินความสูงต่ำของพื้นที่ออกมาเป็นระดับน้ำในพื้นที่ทุ่ง และสามารถนำไปคำนวณต่อเป็นปริมาตรที่พื้นที่ทุ่งรับน้ำแต่ละทุ่งสามารถรับได้" นายธัชชัยอธิบายด้วยว่า หากระดับน้ำสูงเกินระดับเซนเซอร์ ในกรณีคือที่ระดับ 180 เซ็นติเมตร เซนเซอร์ก็จะไม่สามารถจัดค่าระดับน้ำได้ และจะไม่ส่งค่าที่วัดได้ไปยังศูนย์ควบคุม และช่วงระดับน้ำที่ไม่สามารถวัดได้ก็จะกลายเป็นค่า error แต่หากน้ำท่วมไม่ถึงกล่องควบคุมโดยท่วมถึงแค่แบตเตอรี ก็รอให้น้ำลดระดับแล้วเข้าไปเปลี่ยนแบตเตอรีและเซนเซอร์ จากนั้นก็ใช้งานอุปกรณ์วัดระดับต่อได้เลย แต่ถ้าท่วมถึงกล่องควบคุม ก็ต้องหาที่ตั้งใหม่ที่สูงกว่าเดิม หรือหาพื้นที่ใหม่ที่ความสูงเท่าเดิม "หลังจากได้ผลแล้วข้อมูลดังกล่าวจะเป็นตัวสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในจัดการปล่อยน้ำหรือเข้าช่วยเหลือในแต่ละพื้นที่ รวมถึงในเรื่องของการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนถึงระดับน้ำแก่คนในชุมชน เพื่อการเตรียมรับมือและอพยพไปยังศูนย์พักพิง" สำหรับหลักเกณฑ์ในการเลือกพื้นที่ในการติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำนั้น เลือกจากพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากติดกัน 5 ครั้ง โดยพิจารณาจากข้อมูลย้อนหลัง 10 กว่าปี และเลือกพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชน โดยพยายามเลือกให้ครอบคลุม เพื่อความหลากหลายของข้อมูล และก่อนติดตั้งทางจิสด้าได้เข้ามาคุยกับทางท้องถิ่นก่อนเพื่อให้ได้พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งมากที่สุด "อุปกรณ์ตัวนี้เป็นเครื่องมือตัวแรกที่เป็นหมุดวัดน้ำแบบที่ไม่ได้อยู่ในท้องน้ำ แต่อยู่บนพื้นดิน ในพื้นที่รับน้ำหรือพื้นที่แก้มลิงต่างๆ แต่ด้วยความที่พื้นที่ที่ตั้งหมุดวัดน้ำไม่ได้อยู่ในลุ่มน้ำ จึงทำให้เกิดการแกว่งของข้อมูลอยู่พอสมควร ในตอนนี้ทางทีมงานพยายามปรับแก้ด้วยการปรับข้อมูลที่ได้เข้าหากัน เพื่อให้ข้อมูลมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น ข้อดีของหมุดวัดน้ำตัวนี้คือสามารถถอดไปติดตั้งที่อื่นได้อย่างง่ายดาย เพื่อนำไปติดตั้งในพื้นที่ที่ให้ขัอมูลได้ดีกว่าได้ คาดว่าในอนาคตระบบหมุดวัดน้ำนี้สามารถขยายออกไปยังพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมต่อไปได้" นายธัชชัยอธิบาย Manager online 12.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร