Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยเสนอแนวทาง "คน-ช้างป่า" อยู่ร่วมกันอย่างสันติ  

สกว. จัดนำเสนอ "วิจัยเพื่อท้องถิ่น" แนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 5 พื้นที่ ให้เป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาอย่างสันติ ขณะที่ชุมชนพื้นที่เสี่ย วอนรัฐสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดเวทีสาธารณะนำเสนอผลการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบนฐานการมีส่วนร่วม ภายใต้โครงการ การประชุมวิชาการเพื่อขยายผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัยหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ เวทีดังกล่าวมี ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันพืช , ผศ.ดร.ชูพักตร์ สุทธิสา ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว. และ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร , มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ตลอดจนภาคีเครือข่าย ชนรมคนรักษ์ช้างป่า มูลนิธิฟรีแลนด์ นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ร่วมงานดังกล่าว ดร.ปิ่นสักก์ กล่าวว่า ความพยายามในการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้างป่าในประเทศไทยได้มีมาอย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ประสบกับปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ยังมีอีก 12 ประเทศของภูมิภาคเอเชียที่มีช้างป่า ได้แก่ อินเดีย เนปาน บังกลาเทศ ภูฎาน จีน ศรีลังกา เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ซึ่งทุกประเทศ พยายามที่จะขจัดปัญหาความขัดแย้ง และลดผลกระทบ เช่น การใช้รั้วไฟฟ้า รั้วผึ่ง และ รั้วพริก รวมถึงการปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามแนวทางดังกลาวสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบ ลดความสูญเสียได้ในระดับหนึ่ง ด้าน ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ กล่าวว่า ความพยายามในการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้างป่าในประเทศไทยได้มีมาอย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ประสบกับปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ยังมีอีก 12 ประเทศของภูมิภาคเอเชียที่มีช้างป่า ได้แก่ อินเดีย เนปาน บังกลาเทศ ภูฎาน จีน ศรีลังกา เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ซึ่งทุกประเทศ พยายามที่จะขจัดปัญหาความขัดแย้ง และลดผลกระทบ เช่น การใช้รั้วไฟฟ้า รั้วผึ่ง และ รั้วพริก รวมถึงการปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามแนวทางดังกลาวสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบ ลดความสูญเสียได้ในระด “อย่าลืมวิเคราะห์ในเรื่องของพื้นที่หากินของสัตว์ป่าด้วยว่า มีพื้นที่หากินลดลง โดยพื้นที่เกือบร้อยละ 70 ถูกมนุษย์จับจองเป็นที่ทำกิน และ เป็นที่อยู่อาศัยแต่ในทางกลับกัน พื้นที่อาศัยของสัตว์ป่า และ ช้าง เหลือ เพียงร้อยละ 30 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะลดลงอีก ประกอบกับพฤติกรรมช้างป่าที่ต้องมีพื้นที่หากินขนาดใหญ่ 30-160 ตารางกิโลเมตรในเพศเมีย และ 53-345 ตารางกิโลเมตรในเพศผู้ สำหรับประเด็นนี้ รัฐไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะแก้ปัญหา ทั้งในเรื่องของการแก้ไขปัญหา และ เพิ่มพื้นที่ป่า” รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ กล่าว ขณะที่ ดร.พิเชฐ นุ่นโต นักวิจัยโครงการ การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบนฐานชุมชนมีส่วนร่วม อธิบายถึงพัฒนาการการจัดการความขัดแย้งฯว่า งานวิจัยสามารถดึงคนในพื้นที่ความขัดแย้งมามีส่วนร่วม เริ่มจากปี 2540-2545 เป็นระยะเวลา 5 ปี ที่ชุมชมเกิดการทำงานร่วมกัน โดยการนำปัญหาที่ประสบมาแชร์และหาแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น กุยบุรี สลักพระ ป่าตะวันออก แก่งกระจาน ทองผาภูมิฯ ส่วนปี 2546 เกิดการทำงานในลักษณะภาคีเครือข่ายระหว่าง ชุมชน สกว. และ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ร่วมกันวางระบบการเฝ้าระวัง และ เก็บข้อมูล ประวัติศาสตร์ช้างป่า "ปี 2547-2550 เกิดงานวิจัยและการแก้ไขปัญหาบนฐานชุมชนมีส่วนร่วม โดย สกว. สนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้แก่ชุมชนในพื้นที่ตะวันออก และ ภาคใต้ รวมถึงการเป็นสื่อกลางเชื่อมร้อยเวทีชุมชนผ่าน 3 เวทีหลัก จากชุมชนทั่วประเทศ รวม 10 พื้นที่ที่มีปัญหาคนกับช้าง เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล เรียนรู้ปัญหาร่วมกัน และ ปี 2551-2556 งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเกิดการทำงานร่วมกับเอ็นจีโอ เชื่อมโยงกับภาครัฐ ทั้งในส่วนของการนำเสนอปัญหา และการสนับสนุนของรัฐ" "จากนั้น ปี 2557 รัฐเข้ามาสนับสนุนชุมชน เกิดการทำงานร่วมกัน ซึ่งในช่วงนี้เอง เป็นช่วงชุมชนเกิดความกล้า และ เชื่อมั่นกับข้อมูลที่จะเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ กระทั้ง ปี 2558-2560 กลุ่มนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น นักวิชาการดำเนินการสังเคราะห์ประสบการณ์ชุมชนด้วยงานวิจัย และ ช่วงนี้เองที่ชุมชนมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยสื่อสารกับสังคม และกลุ่มเครือข่ายวิจัยเรื่องช้าง และทั้งหมดนี้ คือ ความพยายามในการแก้ไขปัญหาของชุมชน และ เครือข่าย" โอกาสนี้ ผศ.ดร.ชูพักตร์ สุทธิสา ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว. กล่าวว่า ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ช้างป่าที่มีความสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยา ตกอยู่ในภาวะวิกฤติเสี่ยงสูญพันธุ์ ซึ่ง ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว. เล็งเห็นปัญหาและมุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการวิจัยร่วมกับชุมชน พื้นที่ ดำเนินการวิจัยมาอย่าต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างนักวิชาการ ภาคีเครือข่าย และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการขยายผลงานวิจัย สกว.จึงสนับสนุนให้มีการจัดเวทีสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิจัยที่เป็นนักวิชาการ และ นักวิจัยชาวบ้าน สรุปการประเมินสถานการณ์ และถอดบนเรียนจากประสบการณ์ของชุมชนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน กับ ช้างป่า โดยตัวแทนนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ร่วมเสวนา เรื่อง "เสียงสะท้อนจากชุมชนที่อยู่ร่วมกับช้างป่า" 5 ประกอบด้วย 1.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (กลุ่มป่าตะวันตก) 2. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ อุทยานแห่งชาติทับลาน (กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่) 3. กลุ่มป่าตะวันออก 4.อุทยานแห่งชาติกุยบุรีและอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 5.อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น (กลุ่มเขาหลวงและเขาบรรทัด) "สกว.หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมงาน และ ภาคีเครือข่าย จะนำไปสู่การขยายผลการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สู่ ภาครัฐ นักวิจัยเรื่องช้างป่า นักปฏิบัติการ และ ภาคีเครือข่าย ก่อนนำข้อมูลทั้งหมดมาสังเคราะห์เป็นข้อเสนอในขั้นตอนต่อไป โดยทางออกที่ สกว. นำเสนอแก่ชุมชน และ พื้นที่ คือ การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ให้ชาวบ้านเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทั้งในเรื่องของการเก็บข้อมูล และจดบันทึก เพื่อให้เกิดความพร้อมในการรับมือกับปัญหา ควบคู่กับการทดลองมาตรการป้องกันช้างป่าด้วยมาตรฐานสากล และ การติดตามช้างป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ กระทั้งได้แนวทาง และ ทางออกที่เหมาะสม แม้บางพื้นที่จะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการแก้ปัญหาคนกับช้าง" Manager online 13.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร