Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัย สกว.เทียบบทเรียนแผ่นดินไหวโอซากามาถึงไทย  

นักวิชาการแผ่นดินไหว สกว. ชี้การเสียชีวิตจากเหตุธรณีพิโรธที่โอซากาเกิดจากการละเลยมาตรฐานการออกแบบและก่อสร้าง ไม่เสริมเหล็กให้แข็งแรง พร้อมวิเคราะห์เหตุความรุนแรงเกิดจากรอยเลื่อนมีพลังที่ซ่อนตัวอยู่ และสภาพพื้นที่เป็นแอ่งตะกอนขนาดใหญ่ใกล้เคียงแอ่งในกรุงเทพฯ ทำให้คลื่นแผ่นดินไหวถูกขยายตัวได้อีกหลายเท่า เตือนไทยไม่ควรประสาท เร่งสำรวจและให้ความรู้เตรียมพร้อมรับมือ ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร และนักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยถึงสาเหตุการเสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวที่โอซากา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยมีผู้เคราะห์ร้ายถูกฝาผนังบ้านล้มทับจนเสียชีวิต ว่าผนังหรือกำแพงที่ก่อสร้างจากอิฐบล็อกหรือคอนกรีตบล็อกอาจก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีการเสริมเหล็กในกำแพงหรือเสริมเหล็กน้อยเกินไป จึงถือว่าเป็นจุดบกพร่องของการออกแบบและก่อสร้าง เนื่องจากอาจมองว่าไม่ใช่ส่วนของโครงสร้างที่รับน้ำหนัก ทำให้ละเลยเรื่องนี้และเกิดอันตรายขึ้น เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านๆ มา ไม่ใช่เฉพาะส่วนของโครงสร้าง คานหรือเสา เท่านั้นที่พังถล่มทับคนเสียชีวิต แต่โครงสร้างประเภทผนังอิฐ ทั้งอิฐบล็อก อิฐมอญ และคอนกรีตบล็อก ล้วนอาจเป็นอันตรายได้ทั้งสิ้น เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกั้นบริเวณเท่านั้น ไม่ได้ใช้รับน้ำหนัก จึงมักละเลยการเสริมเหล็กในกำแพง เมื่อมีแรงสั่นสะเทือนก็ทำให้ล้มลงมาทับคนจนเสียชีวิต ดังเช่นแผ่นดินไหวที่เชียงรายเมื่อปี 2557 มีกำแพงคอนกรีตบล็อกล้มทับคนจนพิการ ดังนั้นปัญหาผนังกำแพงไม่แข็งแรงจึงเกิดขึ้นได้ในทุกประเทศ แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการป้องกันที่ดีก็ตาม ขณะนี้ทางการญี่ปุ่นน่าจะสั่งให้มีการสำรวจความแข็งแรงของผนังกำแพง และคงจะกำหนดมาตรการเสริมความแข็งแรงต่อไป ขณะที่ ผศ. ดร.ภาสกร ปนานนท์ นักวิจัยในชุดโครงการเดียวกันจากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่าประเด็นที่น่าสนใจคือเหตุใดแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง จึงก่อให้เกิดความเสียหายในประเทศที่จัดได้ว่ามีความพร้อมในการรับมือแผ่นดินไหวดีมากที่สุดในโลกได้ ซึ่งในมุมมองของนักวิชาการด้านแผ่นดินไหวพบว่า อันดับแรกคือแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ในภาพใหญ่ประเทศญี่ปุ่นเป็นบริเวณที่มีการชนกันและมีการมุดกันของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เป็นบริเวณที่มีการสะสมพลังงานจำนวนมาก และจัดเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สำหรับแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดใกล้ๆ กับบริเวณที่พบรอยเลื่อนมีพลังมาตัดกัน 2 แนว “แนวหนึ่งเป็นแนวรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือตะวันตกเฉียงใต้ที่ต่อเนื่องมาจากรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวโกเบ ในปี 2538 ที่สร้างความเสียหายอย่างมาก ส่วนอีกแนวเป็นกลุ่มลอยเลื่อน Uemachi ที่วางตัวในแนวเกือบเหนือใต้ ซึ่งมองไม่เห็นจากบนพื้นดิน เป็นรอยเลื่อนที่ซ่อนตัวอยู่ เนื่องจากบริเวณนี้เป็นแอ่งตะกอนขนาดใหญ่ แต่ทางการประเทศญี่ปุ่นได้สำรวจธรณีฟิสิกส์รอยเลื่อนดังกล่าวทำให้ทราบว่ามีรอยเลื่อนนี้อยู่จริง และเนื่องจากเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง จึงสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ ดังนั้นแผ่นดินไหวครั้งนี้จึงไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย” “อันดับต่อมาแผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลกระทบได้ค่อนข้างมาก จากการศึกษาของนักวิชาการประเทศญี่ปุ่นเองทำให้ทราบว่าบริเวณนี้มีลักษณะเป็นแอ่งตะกอนขนาดใหญ่ลึกมากถึง 1 กิโลเมตร คล้ายกับแอ่งกรุงเทพฯ ของไทย จึงทำให้คลื่นแผ่นดินไหวถูกขยายตัวได้อีกหลายเท่า จากข้อมูลตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน ในรัศมีประมาณ 20 กิโลเมตรจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว พบว่าค่าอัตราเร่งของพื้นดินมีค่ามากกว่า 20%จี และมีค่ามากที่สุดกว่า 80% จี” “ทั้งที่การคำนวณเบื้องต้นแผ่นดินไหวครั้งนี้น่าจะมีอัตราเร่งสูงสุดประมาณ 12%จี เท่านั้น ซึ่งค่าจี (g) เป็นค่าอัตราเร่งของพื้นดิน 1 จี มีค่าเท่ากับการการตกอย่างอิสระของวัตถุ สำหรับอาคารทั่วไปที่ไม่ได้แข็งแรงมากเป็นพิเศษ ความเสียหายอาจจะเริ่มปรากฏเมื่อพื้นดินเริ่มสั่นสะเทือนตั้งแต่ 10%จี ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของอาคาร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพื้นดินบริเวณนี้ขยายสัญญาณคลื่นแผ่นดินไหว 5-7 เท่า และแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ยังเกิดค่อนข้างตื้น ลึกจากพื้นดินเพียง 13 กิโลเมตร ทำให้การสั่นสะเทือนที่รุนแรงและเกิดความเสียหายมากขึ้น” นักวิจัยผู้รับทุน สกว.กล่าวว่า บทเรียนที่เราควรจะคิดถึงคือ เราทราบหรือยังว่าพื้นที่ใดของไทย โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ มีรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้หรือไม่ โดยเฉพาะรอยเลื่อนที่ซ่อนตัวอยู่ เพราะไม่สามารถตรวจพบได้นอกจากการสำรวจธรณีฟิสิกส์ที่ต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เท่าที่ทราบในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดที่สำรวจรอยเลื่อนมีพลังระดับลึกด้วยวิธีการทางธรณีฟิสิกส์เช่นการสำรวจหาน้ำมัน “ดังนั้นเรายังขาดองค์ความรู้อีกมากเกี่ยวกับรอยเลื่อนขนาดใหญ่ใกล้เมือง และหากเกิดขึ้นจริงจะนำมาซึ่งความสูญเสียที่สูงมาก และอีกสิ่งหนึ่งที่แทบจะไม่ทราบเลยคือ เมืองใหญ่ของไทยที่ตั้งอยู่ในที่ราบจะได้รับผลกระทบจากชั้นตะกอนที่หนาและรูปร่างของแอ่งอย่างไร เพราะความแข็งของตะกอน ความลึกของแอ่งตะกอนและรูปร่างของแอ่งตะกอน ล้วนทำให้เกิดการขยายคลื่นแผ่นดินไหว ส่งผลให้พื้นดินสั่นแรงขึ้นและทำความเสียหายมากขึ้น เราไม่รู้แบบชัดเจนทำให้การประเมินผลกระทบจากแผ่นดินไหวทำได้ยากมาก ซึ่งจะโยงไปถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือแผ่นดินไหวของประเทศในอนาคต การศึกษาทางด้านนี้ให้ครอบคลุมทั้งประเทศจึงเป็นเรื่องที่สำคัญพอ ๆ กับการสำรวจรอยเลื่อนในเมืองใหญ่ ประการสุดท้ายคือ นักวิจัย สกว.ระบุว่า การอบรมและเตรียมความพร้อมต่อการรับมือแผ่นดินไหวของประเทศไทย ให้เอาตัวรอดได้เมื่อเกิดภัยพิบัติเป็นเรื่องสำคัญมากเท่าๆ กับการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารให้สามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้ ซึ่งจะช่วยในการวางแผนรับมือแผ่นดินไหวและเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าประเทศไทยปลอดภัยจากแผ่นดินไหว เพราะจะทำให้เราตั้งตนอยู่ในความประมาท เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะเกิดความสูญเสียอย่างมากดังเช่นแผ่นดินไหวเชียงรายที่ผ่านมา Manager online 19.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร