Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ล้ำจริงๆ นาซาเตรียมวัดการใช้น้ำของพืชจากอวกาศ  

เพราะการวัดอุณหภูมิโลกไม่ง่ายเหมือนการวัดไข้ นาซาจึงใช้วิธีวัดอุณหภูมิโลกผ่านการดูดน้ำของพืช โดยจะส่งเครื่องมือวัดขึ้นไปติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อวัดอุณหภูมิของพืชจากอวกาศ เพื่อศึกษาปริมาณน้ำที่พืชใช้ และภาวะแห้งแล้งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพืช อีโคสเตรส (ECOSTRESS: ECOsystem Spaceborne Thermal Radiometer Experiment) เป็นเครื่องมือวัดรังสีความร้อนที่องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) จะส่งขึ้นไปติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อวัดอุณหภูมิของพืชจากบนอวกาศ การวัดอุณหภูมิดังกล่าวจะช่วยให้นักวิจัยประเมินการใช้น้ำของพืช และศึกษาว่าภาวะแห้งแล้งนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพืชอย่างไร ซึ่งพืชนั้นดูดน้ำจากดิน และได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ และน้ำจะถูกปล่อยออกจากพืชผ่านปากใบด้วยกระบวนการคายน้ำ ซึ่งช่วยทำให้พืชเย็นลง คล้ายกับกรณีเหงื่อออกในคน หากมีน้ำไม่เพียงพอ พืชจะปิดปากใบเพื่อรักษาน้ำไว้ และเป็นเหตุให้อุณหภูมิของพืชสูงขึ้น ขณะเดียวกันพืชก็ใช้ปากใบเดียวกันนี้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศเพื่อสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่พืชเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำให้กลายเป็นน้ำตาลเพื่อเป็นอาหารสำหรับพืช ในกรณีที่พืชขาดน้ำต่อเนื่อง จะทำให้พืชขาดอาหาร หรือร้อนเกินและตายในที่สุด รายงานจากนาซาระบุว่า ข้อมูลจากเครื่องมืออีโคสเตรสนี้ จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในพืช ซึ่งจะเผยให้เห็นลึกลงไปในสุขภาพของพืชและการใช้น้ำของพืชได้ ขณะเดียวกันก็มีเวลาพอให้ผู้บริหารจัดการน้ำ ได้แก้ไขปริมาณทางการเกษตรที่ไม่สมดุลนี้ “เมื่อพืชเครียดจัดจนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลนั้น ถือว่าช้าเกินไปที่พืชจะฟื้นตัว แต่การวัดอุณหภูมิของพืชนี้จะช่วยให้คุณเห็นว่า พืชกำลังเครียดก่อนจะถึงจุดที่แก้ไขไม่ได้” คำอธิบายจาก ไซมอน ฮุค (Simon Hook) ผู้ศึกษาหลักในโครงการอีโคสเตรส ณ ห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน (Jet Propulsion Laboratory) ของนาซา ในพาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย การวัดอุณหภูมิดังกล่าวยังบอกโอกาสที่จะเกิดภัยแล้งได้แต่เนิ่นๆ เมื่อพืชในพื้นที่สำรวจเผยสัญญาณความเครียดของการขาดน้ำจากอุณหภูมิที่ทะยานสูงขึ้น ก็มีแนวโน้มที่เกิดภัยแล้งในพื้นที่เกษตรได้ ซึ่งการมีข้อมูลเหล่านี้นาซาระบุว่า จะช่วยให้ประชาคมเกษตรมีโอกาสเตรียมพร้อมหรือรับมือกับปัญหาที่จะตามมา เครื่องวัดอีโคสเตรสนั้นจะถูกส่งขึ้นไปพร้อมกับยานขนส่งของสเปซเอกซ์ที่ได้ทำสัญญาขนส่งเสบียงและสัมภาระกับนาซา โดยมีกำหนดส่งในวันที่ 29 มิ.ย.2018 นี้ เมื่อยานขนส่่งไปถึงสถานีอวกาศนานาชาติ เครื่องวัดนี้ก็ติดตั้งอัตโนมัติเข้าในส่วนของโมดูลญี่ปุ่นบนสถานีอวกาศ ปีหน้าทั้งปีหลังเครื่องมือวัดนี้ติดตั้งบนสถานีอวกาศแล้ว เครื่องอีโคสเตรสจะใช้ปะโยชน์จากวงโคจรต่ำที่สถานีอวกาศโคจรอยู่ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของหลายพื้นที่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของแต่ละวัน เครื่องมือวัดจะผลิตภาพที่ให้รายละเอียดของพื้นที่ขนาด 40x70 เมตร หรือเป็นพื้นที่ของฟาร์มขนาดเล็กๆ ในทุก3-5 วัน Manager online 23.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร