Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไขปริศนา! ทำไม 'หอเอนปิซา' ทนต่อแผ่นดินไหว   

บรรดาวิศวกรสงสัยกันมานานเเล้วว่า ทำไมหอเอนเเห่งเมืองปิซายังยืนหยัดอยู่ได้ เเม้จะเจอกับเเรงสะเทือนแผ่นดินไหวมานานหลายร้อยปี? ส่วนหนึ่งของหอระฆังเก่าแก่แห่งนี้สร้างขึ้นบนพื้นดินที่อ่อนตัว ซึ่งเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด เเละเริ่มเอียงตัวตั้งเเต่ก่อนที่จะสร้างเสร็จเสียอีก และกลายเป็นสถานที่เก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่ง หน้าเว็บไซท์ Phys.org ที่เสนอข่าวสารด้านการวิจัย รายงานว่า หอเอนแห่งเมืองปิซา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิตาลี ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานหลายร้อยปี รวมทั้งสงครามโลกถึงสองครั้ง การเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวหลายล้านคน เเละเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงอย่างน้อย 4 ครั้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1280 เป็นต้นมา เเละหนึ่งในเหตุแผ่นดินไหวมีความเเรงถึงกว่า 6.0 บนมาตรริกเตอร์ ไมลอนนากิส (Mylonakis) ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมที่ศึกษาปฏิกริยาระหว่างธรณีเทคนิคกับโครงสร้างของพื้นดิน กับวิศวกรอีกหลายสิบคน ได้เสนอคำตอบของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เว็บไซท์ Phys.org รายงานว่า วิศวกรเหล่านี้ได้ค้นพบว่า ความสูงของตัวหอระฆังเเละรูปทรงกระบอก ผสมผสานกับความอ่อนตัวของฐานพื้นดิน ทำให้เกิดลักษณะการสั่นของโครงสร้างของหอระฆังรอบจุดสมดุล ที่ถูกปรับเปลี่ยนไปในทางที่ช่วยให้ตัวหอระฆังไม่โยกหรือแกว่งไปมาตามเเรงสะเทือนของแผ่นดินไหว ดังนั้นในระหว่างที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว หอเอนแห่งเมืองปิซา จึงสั่นน้อยกว่าเเรงสั่นสะเทือนใต้พื้นดิน ศาสตราจารย์ไมลอนนากิส กล่าวว่า เป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงที่พื้นดินที่มีความนิ่มตัวจุดเล็กๆ จุดเดียวกันนี้ ที่ทำให้หอระฆังเอียงตัวมาตั้งเเต่ต้นจนเกือบจะล้มนี้ กลับมีบทบาทในการช่วยให้หอระฆังเลื่องชื่อแห่งนี้ผ่านพ้นเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงมาได้หลายครั้งเเล้ว นิตยสารซอนญา รายงานว่า ในปี ค.ศ. 1990 รัฐบาลอิตาลีได้ปิดหอเอนแห่งเมืองปิซาไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เเละเริ่มต้นโครงการบูรณะนาน 10 ปี ทีมงานบูรณะได้นำแท่งตะกั่วน้ำหนัก 900 ตันไปหนุนโครงสร้างทางด้านเหนือของตัวหอระฆังเอาไว้เพื่อถ่วงน้ำหนักและเพื่อเพิ่มความสมดุล ในขณะที่พยายามหาวิธีที่ดีกว่านี้ในการชะลอการเอียงตัวของหอระฆัง เจน มอร์เลย์ (Jane Morley) ผู้สื่อข่าวของวอชิงตันโพสต์ เขียนในรายงานข่าวเมื่อปี ค.ศ. 1998 ว่าปฏิบัติการกู้หอเอนแห่งเมืองปิซา มีการสร้างโครงสร้างรูปตัวอักษรเอขึ้นทางเหนือของตัวหอ เเละต่อสายเคเบิลเข้ายึดตรงกลางของหอระฆังเอาไว้ มอร์เลย์เขียนในรายงานว่า วิธีนี้ช่วยดึงตัวหอให้อยู่กับที่ ในขณะที่ทีมงานค่อยๆ เริ่มขุดเอาดินปริมาณเล็กน้อยจากทางเหนือสุดของหอระฆัง ทำให้พื้นดินในทิศนี้ของตัวหอยุบตัวลงไปเล็กน้อย ช่วยแก้ไขระดับการเอนของหอไปทางทิศเหนือได้ราวครึ่งองศา ทีมวิศวกรยังได้ติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถปรับความดันของน้ำใต้ตัวหอระฆังด้วย เพื่อช่วยควบคุมการเอนตัวของหอ งานบูรณะเหล่านี้ช่วยลดการเอียงตัวของหอระฆังลงมาจาก 5.5 องศา เป็น 3.9 องศาจากมุมตั้งฉาก ในขณะที่ยังช่วยรักษาความเอนเอาไว้ตามชื่อ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น การบูรณะดังกล่าวช่วยป้องกันไม่ให้หอระฆังเสี่ยงต่อการล้มเนื่องจากเเรงโน้มถ่วงของโลก จอห์น เบอร์เเลนด์ (John Burland) หนึ่งในผู้นำในโครงการบูรณะหอเอนแห่งเมืองปิซา กล่าวกับนิตยสารซอนญาว่า มีความเป็นไปได้น้อยนิดมากที่ฐานของหอระฆังจะล่ม เขาคิดว่ามีเพียงสาเหตุเดียวที่อาจจะทำให้หอเอนแห่งเมืองปิซาล้ม นั่นก็คือเหตุแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมาก แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่หอเอนชื่อก้องโลกของอิตาลีแห่งนี้ อาจจะรอดพ้นจากเหตุแผ่นดินไหวต่อไปได้อีกอย่างที่ได้เห็นตลอดเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา Voice of America 24.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร