Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สกว.จับมือเบลเยียมวิจัยใช้ประโยชน์จากของเสีย  

สกว.ลงนามความร่วมมือกับสถาบันวิจัย VITO แห่งเบลเยียม เพื่อพัฒนางานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาและเทคโนโลยี มุ่งจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสีย แปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นพลังงานทดแทน และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ Mr. Bruno Reyntjens ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย The Flemish institute for Technological Research (VITO) ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยมีนายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เป็นสักขีพยาน เพื่อพัฒนางานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการจัดการและการใช้ประโยชน์จากของเสีย การแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นพลังงานทดแทนและการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รศ. ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สกว. กล่าวว่า สถาบันวิจัย VITO เป็นหน่วยงานวิจัยระดับนานาชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศเบลเยียมและยุโรปที่มีสาขาในประเทศจีนและตะวันออกกลาง เป็นหน่วยงานที่สร้างองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนทางด้านพลังงาน เคมี วัสดุศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดย VITO จะให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการดำเนินการวิจัยร่วมกับ สกว. ซึ่งมีบทบาทหลักในการสนับสนุนและบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนานักวิจัย สร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม สำหรับความร่วมมือกับ VITO ครั้งนี้ รศ. ดร.พงศ์พันธ์ระบุว่า สกว.จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง VITO และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนโครงการความร่วมมือทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรให้ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการหารือต่อเนื่องร่วมกันมาหลายครั้ง และทาง VITO ได้เดินทางมาเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งพัฒนาโจทย์ในการทำงานร่วมกับ สกว. มาหลายเดือน “การลงนามครั้งนี้นับเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่นแนวทางและเทคโนโลยีสำหรับการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียในโครงการ “การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการบำบัดของเสียและน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตกาแฟคั่ว” ที่มี รศ. ดร.สุเมธ ไชยประพัทธ์ นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหัวหน้าโครงการ และมีมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงราย เป็นผู้ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยร่วมกับ VITO ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและนักวิจัยร่วมในโครงการนี้ โดยมีสำนักประสานงานชุดโครงการ “อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ” ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับข้อเสนอโครงการและการเจรจาความร่วมมือกับ VITO” ในโอกาสนี้คณะผู้บริหาร สกว. ได้ประชุมหารือความร่วมมือกับ ศ.กีโด้ รองประธานด้านองค์กรระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเกนต์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของเบลเยียม โดยเฉพาะในประเด็นการแลกเปลี่ยนนักศึกษาปริญญาเอก ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาโครงการปริญษาเอกกาญจนาภิเษกของ สกว. มาทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และยังทำหน้าที่เป็นประธานนักศึกษาไทยในเบลเยียมด้วย โดย สกว. และผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะหารือในรายละเอียดต่อไปเพื่อลงนามความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต นอกจากนี้ยังได้เข้าเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแอนต์เวิร์ป เมืองท่าสำคัญของเบลเยียมและยุโรป รวมถึงโครงการ City of Things (CoT) ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์ IMEC ซึ่งเป็นองค์กรด้านการวิจัยและพัฒนาระดับโลก และศูนย์กลางนวัตกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์นาโนและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนรายใหญ่ทั้งซัมซุง แอปเปิล หัวเหว่ย เป็นต้น โดยเมื่อสองปีที่ผ่านมา IMEC ได้รวมตัวกับองค์กรไม่แสวงหากำไรอย่าง iMinds ที่มีความเชี่ยวชาญสูงด้านซอฟต์แวร์ ทำให้เสริมความเข้มแข็งของ IMEC ได้เป็นอย่างดี โครงการ City of Things เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนหลักจากภาครัฐ ที่มุ่งการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีและการแก้ปัญหาด้านเมืองอัจฉริยะ โดยเน้นทำงานภายใต้ความร่วมมือจาก 4 ฝ่าย ที่เชื่อมโยงกับชุมชน เอกชน นักวิจัย และภาครัฐ ตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์เพื่อลดการต่อต้าน และเปิดรับฟังความต้องการของชุมชน โครงการสำคัญที่กำลังดำเนินการอยู่ ได้แก่ ไฟจราจรอัจฉริยะ โลจิสติกส์ แสง ตัวควบคุมคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ และสัญญาณเตือนภัยและหลีกเลี่ยงน้ำท่วม ทั้งนี้ เมืองแอนต์เวิร์ปได้กำหนดให้มีโซนอัจฉริยะอยู่ใจกลางเมือง มีขนาดพื้นที่ประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตร เพื่อทดสอบแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากการพยายามประสานกับทุกภาคส่วน นอกจากนี้โดยรอบมหาวิทยาลัยยังมีซิตีแล็บที่ติดตั้งอุปกรณ์ IoTs เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการส่งข้อมูลด้วย Manager online 28.06.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร