Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มาตรฐานโลก AS9100 รับรอง "แล็บจิสด้า"   

ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลกำลังผลักดัน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่ง 1 ในอุตสาหกรรมที่หลายฝ่ายให้ความสนใจและอยากลงทุน คือ อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดที่มีบทบาทในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศโดยตรง อย่างไรก็ตามมีหลายหน่วยงานที่มีส่วนร่วมผลักดันอุตสาหกรรมนี้ เช่น BOI ที่ส่งเสริมการลงทุน ให้ tax incentive กับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในระดับสูงสุด หรือ CAAT ที่เป็นผู้กำหนดข้อกฎหมาย และกฎการบินสำหรับประเทศไทย หรือแม้แต่สำนักงาน EEC ที่ร่วมส่งเสริมและผลักดันในทุกๆ อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งอุตสาหกรรมการบินโดยเฉพาะการซ่อมบำรุงอากาศยาน มุ่งเน้นการลงทุนจากต่างขาติในพื้นที่ EEC เช่น โครงการเมืองการบินอู่ตะเภา รวมถึงจิสด้าที่มีภารกิจในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมด้านการบินและอวกาศ การบริการทดสอบเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ เป็นต้น ดังนั้น จึงมีผู้ประกอบการไทยจำนวนไม่น้อยสนใจอยากเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ โดยต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ต้องการที่จะผลิตชิ้นส่วนอากาศยานบ้าง ตามที่รัฐบาลได้สนับสนุน แต่สิ่งที่มักจะเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการไทยคือ “มาตรฐาน” ซึ่ง อุตสาหกรรมการบินและอวกาศมีมาตรฐานหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิตอากาศยานรายใหญ่ที่จ้างผลิตหรือบริการ แต่มาตรฐานอันดับแรกที่มักจะใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมนี้ คือ AS9100 หรือ “ระบบการจัดการคุณภาพ – ข้อกำหนดสำหรับองค์กรการบิน อวกาศ และการป้องกันประเทศ” ซึ่งจะเป็นมาตรฐานในเชิงสัญลักษณ์ว่าองค์กรนั้นๆ มีการบริหารจัดการที่ดี มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะสามารถแสดงถึงความพร้อมในการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ล่าสุด Lloyd's register ได้ประกาศรับรองมาตรฐาน AS9100 ให้กับห้องปฏิบัติการกาแลคซี่ (GALAX) ของจิสด้า ซึ่งถือเป็นหน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานแรกของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ เพื่อแสดงความพร้อมขององค์กรในการผลักดันและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศให้แก่ประเทศไทยให้ทัดเทียมสากล รวมทั้งกระตุ้นความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการประกอบธุรกิจด้านการบินและอวกาศ โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน AS9100 มากที่สุด ตามมาด้วยมาเลเซียและประเทศไทย ด้าน ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล รักษาการหัวหน้าฝ่ายพัฒนาและเชื่อมโยงธุรกิจนวัตกรรมอวกาศ และหัวหน้าห้องปฏิบัติการกาแลคซี่ของจิสด้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทย มีผู้ประกอบการจำนวน 32 หน่วย กว่า 20 บริษัท ที่ได้รับการรับรอง AS9100 ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วน หรือ ซ่อมบำรุงอากาศยานจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ดังนั้น ตัวระบบและมาตรฐานต่างๆ ก็จะมีแบบแผนหรือรูปแบบตามบริษัทหลักจากต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อบริษัทเหล่านั้นเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ก็จำเป็นที่ต้องหา supplier ในประเทศ ซึ่ง supplier ในไทยเหล่านั้น ก็ต้องพยายามอัพเกรดตัวเองให้สามารถรับบริการในอุตสาหกรรมการบินจากบริษัทข้ามชาติเหล่านั้นได้ และ requirement อย่างหนึ่งที่สำคัญคือ มาตรฐาน AS9100 จึงทำให้บริษัทไทยจำเป็นต้องขอการรับรอง AS9100 ด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้ระบบการจัดการมาตรฐานคุณภาพระดับสากลด้านการบิน อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ต้องยอมลงทุนอย่างมากในการตรวจประเมิน แต่หากได้มาตรฐาน AS9100 แล้ว องค์กรนั้นจะได้รับความเชื่อถือในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ แสดงถึงความพร้อมในการประกอบธุรกิจด้านการบินและอวกาศ นอกจากการหาเป้าหมายในประเทศไทย บริษัทที่ได้รับมาตรฐาน AS9100 จะเข้าสู่ระดับสากลได้ โดยอัตโนมัติเนื่องจากผู้ที่ได้รับมาตรฐานนี้จะมีรายชื่อถูกบรรจุในฐานข้อมูลผู้ประกอบการ Aerospace ที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยก็จะเข้าสู่ Global Value chain ในทันที สำหรับห้องปฏิบัติการกาแลคซี่ ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน AS9100D มีภารกิจในการให้บริการทดสอบวัสดุโครงสร้าง หรือวัสดุของอากาศยาน ทั้งธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและการซ่อมบำรุงอากาศยาน และถือเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบอิสระ (independent laboratory) แห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ให้บริการประเภทนี้ได้ ทั้งนี้เริ่มให้บริการทดสอบวัสดุอากาศยานด้านความแข็งแรงและโครงสร้างเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้านชิ้นส่วนอากาศยานและซ่อมบำรุงอากาศยาน ซึ่งมีหลายรายในประเทศ รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยในมหาวิทยาลัย การมีแล็บให้บริการทดสอบประเภทนี้ในประเทศไทยจะสามารถทดแทนการส่งไปใช้บริการและทดสอบในแล็บต่างประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อชิ้นค่อนข้างสูง ขณะนี้ได้เปิดให้บริการและมีหน่วยงานภาคเอกชนติดต่อใช้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลาทดสอบไม่เกิน 7 วัน อัตราค่าบริการต่ำกว่าแล็บต่างประเทศกว่า 50% Dailynews online 03.07.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร