Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ถอดบทเรียน Chula Zero Waste “เก็บค่าถุงพลาสติก ถึงลดขยะได้”  

สู่ปีที่ 2 โครงการ Chula Zero Waste เดินหน้าลดขยะอย่างมีระบบ โดยตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคมนี้ คงได้เห็นโรงอาหารหลักจุฬาฯ 7 แห่งนำร่องใช้ Zero-Waste Cup หรือแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ ที่ย่อยสลายได้ 100% และจะขยายไปสู่โรงอาหารทั้งหมดในจุฬาฯ รวม 17 แห่งภายใน 3 เดือน พร้อมประเมินว่าจะลดขยะจากแก้วพลาสติกได้มากกว่า 2 ล้านใบต่อปี กระทุ้งรัฐอีกที ออกกฎหมายบังคับห้างค้าปลีก “เก็บเงินค่าถุง” ก่อนหน้านี้ทางโครงการ Chula Zero Waste มีการให้ข้อมูลและทำความเข้าใจทั้งในส่วนของผู้บริหาร ผู้ค้าในโรงอาหาร ตัวแทนนิสิตนักศึกษา โดยพบว่าทุกฝ่ายให้การตอบรับค่อนข้างดีถึงตัดสินใจขับเคลื่อน เช่นเดียวกับผลสำเร็จในช่วงปีแรกที่ลดขยะ “ถุงก๊อบแก๊บ” หรือถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ผ่านโครงการลดถุงพลาสติกของ Chula Zero Waste ซึ่งขณะนี้คงงดแจกถุงฟรีในจุฬาฯ อย่างเด็ดขาด และเปลี่ยนเป็นเก็บเงิน 2 บาทต่อ 1 ถุง ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste บอกว่า “เราใช้เวลา 1 ปี 7 เดือน ลดไปราวๆ 2 ล้านใบ และเตรียมต่อยอดขยายไปสู่ตลาดนัดจุฬา และฝั่งแพทย์ ซึ่งก่อนจะเริ่มโครงการนี้ เรามีปริมาณการใช้ถุงประมาณ 130,000 ใบต่อเดือน ช่วงแรกเราเริ่มจากการรณรงค์ซื้อของน้อยไม่รับถุงได้ไหม? ก็ลดไปได้ 30% ต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมาถึงตัดสินใจงดแจกถุงฟรี แล้วเปลี่ยนเป็นเก็บเงิน 2 บาทต่อ 1 ถุงหากผู้ซื้อต้องการใช้ถุง ผลลัพธ์คือลดไปเกือบ 90% จำนวนถุงที่ใช้เหลือแค่หลักหมื่นต่อเดือน แต่ร้านสะดวกซื้อบางส่วนก็จะมีข้อยกเว้น เช่นถุงสำหรับใส่ของร้อน แต่สหกรณ์ของจุฬาฯ นี่เข้มข้นถึงขนาดไม่มีถุงให้ลูกค้าเลย” ผลสำเร็จจากปฏิบัติการที่ต่อเนื่อง “ไม่ใช่โครงการทำแล้วจบภายในปีเดียว แต่เราทำต่อเนื่องอย่างเป็นกระบวนการเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในช่วงปีแรกใช้งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการก่อน แต่เข้าสู่ปีที่สองเป็นต้นมา ใช้งบของทางมหาวิทยาลัยในการทำระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายในมหาวิทยาลัย” แผนปฏิบัติการของโครงการจุฬา Zero-Waste 2560 เริ่มต้นเมื่อเดือนตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นการนับตามปีงบประมาณ นี่ก็เข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว เป้าหมายเราวางไว้ 2 ส่วน ส่วนแรกตั้งเป้ากว้างๆ คือการลดขยะเหลือทิ้งไม่น้อยกว่า 30% ในสิ้นปีที่ 5 ของแผน กับอีกส่วนปรับเปลี่ยนค่านิยมองค์กรให้คนของจุฬา ตระหนัก ใส่ใจ Zero-Waste “โจทย์สำคัญอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรบ้างให้คนในจุฬาตระหนักถึงปัญหาลดขยะ เหตุดังกล่าวเราจึงมีการจัดประชุม สัมมนาเกี่ยวกับ Zero-Waste เพื่อให้ทุกส่วนงานคิดเหมือนกัน เมื่อก้าวมาถึงตอนนี้เราถือว่ากำลังก้าวไปได้ด้วยดี เพราะหลายส่วนงานของจุฬาฯ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เขาร่วมแสดงถึงความตระหนักลดขยะ ลดพลาสติก โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ใหญ่จากภายนอกมากระตุ้นด้วย เช่นข่าววาฬบริโภคขยะพลาสติกเข้าไปโดยมีต้นเหตุจากคนที่เป็นผู้สร้างขยะทะเล เป็นต้น” จี้รัฐเดินหน้าออกกฏหมายบังคับ เมื่อมีนโยบายจากทางจุฬาฯ เราก็ได้พยายามบอกภาครัฐเสมอว่า “ออกได้แล้วในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย” เพื่อให้ห้างค้าปลีกเก็บเงิน งดแจกฟรี ซึ่งจะต้องอาศัยการออกกฎหมายเฉพาะ ซึ่งตอนนี้บ้านเรายังไม่มีกฎหมายอะไรรองรับในเรื่องนี้ ถ้าเป็นฝั่งของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องออกกฎหมายเฉพาะ แต่ถ้าเป็นฝั่งของกระทรวงการคลัง เขาก็มีเครื่องมือจาก พ.ร.บ.สรรพสามิต อย่างเดียว แต่ภาษีสรรพสามิต เขาเก็บที่โรงงานอย่างเดียวที่หน้าโรงงาน แต่จะได้ผลนั้นควรจะเก็บกันที่ห้างค้าปลีก ผู้บริโภคถึงจะตระหนัก เรื่องนี้ก็มีหลายต้นแบบจากต่างประเทศที่เขาทำกันมาก่อน ถึงแม้ว่าโรงงานทำให้ราคาถุงพลาสติกสูงขึ้นก็จริง แต่ผู้บริโภคคงไม่ได้ตระหนักว่าราคาถุงมันแพงขึ้น ถ้าหากเขายังใช้ถุงฟรี คงจะช่วยจูงใจให้ร้านค้างดแจกถุงฟรีน้อยลง แต่ไม่ช่วยปลายทางได้สักเท่าไหร่ เราจึงเสนอว่าน่าจะมีกฎหมายมารองรับ แต่อาจจะมีห้างค้าปลีกอ้างว่า market share ที่เขาใช้ถุงมีแค่ 30% ส่วนอีก 70% พวกร้านค้าตลาดสด ร้านค้ารายย่อยต่างหากที่ใช้เยอะกว่า ก็อยากจะบอกว่า ร้านค้าย่อยคงให้เขาเก็บเงินจากลูกค้าคงทำยาก เขาไม่ได้มีระบบแคชเชียร์ เราก็เลยบอกว่าร้านรายย่อยขอให้เป็นลำดับถัดไปได้ไหม ถ้าห้างค้าปลีกนำร่องก่อน แม้ได้เพียง 30% ถ้าทำได้ก่อน เราเชื่อว่าจะเกิดเป็นกระแสสังคมงดใช้ถุงพลาสติกเอง และการใช้ภาษีสรรพสามิตที่เก็บหน้าโรงงานจะทำให้ราคาถุงพลาสติกแพงขึ้น ก็จะลดแรงจูงใจให้พ่อค้าแม่ค้าร้านค้าย่อยลดปริมาณใช้ถุง เรียกว่าเราต้องอาศัยหลายเครื่องมือมาช่วยเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายลด-งดใช้ถุงพลาสติกอย่างยั่งยืน Manager online 09.07.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร