Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“สมคิด” จี้เอกชนตื่นตัวแนวคิด ศก.หมุนเวียน ใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่า-กลับมาใช้ซ้ำลดขยะ  

“สมคิด” หนุนภาคเอกชนร่วมสร้างการตระหนักรู้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจัดการขยะกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความยั่งยืน ด้านเอสซีจีจับมือ ดาว เคมิคอล นำร่องนำขยะพลาสติกรีไซเคิลมาผสมใช้ทำถนนยางมะตอย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)ในงาน “SD Symposium 2018” ที่จัดโดยเครือซิเมนต์ไทย (SCG) วานนี้ (9 ก.ค.) ว่า แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ใช่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นสำคัญระดับโลกที่จะต้องร่วมมือกันและสร้างการตระหนักรู้เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสียให้ถูกนำกลับมาเป็นทรัพยากรหมุนเวียนใช้ใหม่เพื่อประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถูกมองเป็นเรื่องไกลตัว โดยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจหลายครั้ง ไม่ว่าจะวิกฤตต้มยำกุ้งที่ทำให้เศรษฐกิจได้รับความเสียหาย จึงไม่มีความคิดเรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน แต่ปัจจุบันประเทศดีขึ้นแล้ว จึงเป็นจังหวะที่เหมาะสม รัฐต้องการปฎิรูปประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเปลี่ยนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ถือเป็นนวัตกรรมและเป็นปัจจัยหนึ่งที่เกื้อกูลต่อความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจประเทศอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ภาครัฐได้กำหนด 6 ยุทธศาสตร์ชาติภายใต้แผนระยะเวลา 20 ปี โดยกำหนดกรอบนโยบายที่มุ่งเน้นการอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับว่าเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องนี้ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ สัปดาห์ที่แล้วก็มีการพูดคุยในเรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยจะให้การส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับ Circular Economy รวมทั้งการประชุม ครม.ก็มีการหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาขยะที่ยังไม่เป็นองค์รวมด้วย ขณะที่ภาคเอกชนต้องร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวของภาคสังคมโดยดึงตลาดหลักทรัพย์ฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยให้เข้ามีบทบาท มีการจัดสัมมนาให้ความรู้ในเรื่องนี้อย่างจริงจังทั่วประเทศเพื่อให้เกิดการตื่นตัว โดยภาคเอกชนควรนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจ แม้ว่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตในช่วงแรกเพิ่มขึ้นแต่จะส่งผลดีต่อธุรกิจในระยะยาว ส่วนภาคประชาชนควรตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ขยะต่างๆ ที่เป็นผลพวงจากการอุปโภคบริโภคได้หมุนเวียนกลับมาใช้อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยสร้างประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต Mr. Peter Bakker ,President and CEO of World Business Council for Sustainable Development กล่าวว่า แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นนวัตกรรมที่ปฏิวัติรูปแบบการผลิตและปริโภคครั้งใหญ่ของโลก ทำให้มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยต้องเริ่มที่จิตสำนักของผู้บริหารบริษัทเพื่อสร้างการตระหนักถึงปัญหาและร่วมกันเปลี่ยนแปลงโลกและยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นายเจฟ วูสเตอร์ ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน บริษัท ดาว เคมิคอล กล่าวว่าเนื่องจากทรัพยากรโลกไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลกในอนาคต ทำให้ต้องมีแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อนำทรัพยากรที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำ โดบริษัทตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำด้านนี้ โดยตะเริ่มตั้งแต่เลือกวัตถุดิบ การออกแบบ เพื่อให้สะดวกในการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี2568 บริษัทมีเป้าหมายนำขยะพลาสติกโพลีเอทิลีนกลับมาใช้ใหม่ในรูปเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนหรือนำมาผสมใช้ทถนนยางมะตอย เพือลดปัญหาขยะและวัตถุดิบในการผลิตยางมะตอย นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือซิเมนต์ไทย (SCG) กล่าวว่า ในปี 2573 ความต้องการใช้ทรัพยากรของโลกจะเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวจากปัจจุบัน เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเอเชีย ขณะที่โลกกำลังเผชิญความเสี่ยงจากทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจะเป็นทางออกในปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรของโลกได้เป็นอย่างดี ล่าสุดบริษัทฯ ได้ร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ในการนำพลาสติกรีไซเคิลมาเป็นส่วนผสมในการทำถนนยางมะตอย เพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกในทะเลและชุมชน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของถนนจากคุณสมบัติของพลาสติก และช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการทำถนนได้ โดยตั้งเป้าปีแรกจะดำเนินการนพำลาสติกรีไซเคิลมาทำถนนยางมะตอยให้ได้ 40 กิโลเมตร ทั้งนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย Manager online 09.07.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร