Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ธรรมศาสตร์ โชว์ 3 นวัตกรรม ยกระดับสินค้าทางการเกษตรไทย  

ธรรมศาสตร์ โชว์ 3 นวัตกรรม ยกระดับสินค้าทางการเกษตรไทย พร้อมผนึกกำลังตลาดไท แลกเปลี่ยนงานวิจัยเพื่อการพัฒนาสู่ระดับสากล ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ประเทศไทยสามารถสร้างรายได้จำนวนมหาศาลจากการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม อันหมายถึงพืช ผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ทั้งในรูปแบบอาหารสดและผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยในช่วงเดือน 7 เดือนแรก ของปี 2561 ประเทศไทยสามารถสร้างรายได้จากส่งออกสินค้าเกษตรกรรมได้กว่า 4.2 แสนล้านบาท เพื่อรักษาการสร้างรายได้ ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประเทศจากสินค้าในกลุ่มนี้ “มธ.จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับผู้มีส่วนร่วมในวงจรการผลิตสินค้าทางการเกษตร อาทิ เกษตรกร ผู้ขายและผู้บริโภค อย่างต่อเนื่อง ดังเช่น 3 นวัตกรรม ดังต่อไปนี้” 1. นวัตกรรมแถบสีบอกความสุกผลไม้ (Bio-ripeness indicator) และนวัตกรรมชะลอการสุกมะม่วง โดย รศ.ดร.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. นวัตกรรมลดอัตราการเสียหายของสินค้าการเกษตรเมื่อวางจำหน่าย จากการถูกบีบหรือกดในการเลือกซื้อ และยกระดับคุณภาพสินค้าทางการเกษตรสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นวัตกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย สารละลายกระตุ้นการสร้างสารสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll supplement) ให้มีปริมาณที่มากขึ้น พร้อมชะลอการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายคลอโรฟิลล์ในมะม่วง สามารถชะลอการสุกได้สูงถึง 30 วัน โดยที่ไม่ทิ้งสารตกค้าง ถุงห่อแอคทีฟ (Active Bag) ทีมีช่องให้แสงผ่านพลาสติก เพื่อให้เกิดการสร้างคลอโรฟิลล์ได้มากที่สุด และแถบสีอินดิเคเตอร์ (Indicator) แถบสีแสดงการสุกของเนื้อมะม่วงใน 4 ระยะ คือ สีเขียว-เนื้อมะม่วงที่ยังดิบ สีเหลืองอ่อน-เนื้อมะม่วงที่เริ่มสุก สีเหลือง-เนื้อมะม่วงที่พร้อมรับประทาน และ สีเหลืองเข้ม-เนื้อมะม่วงที่สุกเกินมาตรฐาน 2. แอปพลิเคชัน ออร์แกนิค (Organic Ledger) โดย ผศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ จากสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. แอปพลิเคชันบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ชื่อเกษตรกร ชื่อฟาร์มและสถานที่ตั้ง ช่องทางการติดต่อ ขั้นตอนการเพาะปลูกของเกษตรกร รวมถึงวันและเวลาที่เก็บเกี่ยวอย่างชัดเจน พร้อมตรวจสอบลักษณะของผลผลิตดังกล่าวว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากลของผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตามฐานข้อมูลของมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทยหรือไม่ นอกจากนี้ทางนักวิจัย มธ. ยังเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกขั้น โดยการออกใบรับรองแบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับฟาร์มหรือผู้ผลิตที่มีผลิตสินค้าทางการเกษตรแบบไร้สารปนเปื้อน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงง่าย ๆ ได้เพียงการแสกน คิวอาร์ โค้ด (QR Code) ที่จะแปะอยู่กับสินค้า 3. ฟิล์ม ทู ฟลาย (Film to Fly) โดย ผศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ จากสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ร่วมกับนางสาวพรรณวดี จันทร์ทอง นักศึกษา สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อยกระดับการส่งออกสินค้าทางเกษตร โดยเป็นนวัตกรรมชะลอความสุกพืชผลเกษตรจากใบยี่หร่า ชะลอสุก “กล้วยหอม” นาน 2 เดือน ด้วยเทคนิคการเคลือบแบบบริโภคได้ (Edible Coating) โดยไม่ทิ้งสารเคมีตกค้าง พร้อมรักษาสภาพผิวให้สวยงาม และป้องกันการเกิดโรคขั้วหวีเน่าในผลผลิตได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการเก็บเกี่ยวและระหว่างการขนส่ง เพียงชุบในสาร 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ชะลอสุกได้กับมะละกอ และมะม่วงน้ำดอกไม้อีกด้วย ด้าน รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวเสริมว่า แม้การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร จะเป็นสิ่งที่ มธ. ทำมาโดยตลอด แต่เพื่อการส่งเสริมและยกระดับนักวิจัยของ มธ. จึงเป็นที่มาของการร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่าง มธ. และบริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด หรือตลาดไท โดยมีเป้าประสงค์เพื่อ 1) สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 2) แลกเปลี่ยนข้อมูล บุคลากรและนักวิจัยของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ 3) เชื่อมโยงเครือข่ายและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลวิจัยและนวัตกรรมไปใช้จริง “การร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเพิ่มพูนองค์ความรู้ของนักวิจัยทั้ง 2 ฝ่าย กล่าวคือ นักวิจัย มธ. จะมีโอกาสได้สัมผัสปัญหาและความต้องการของผู้ค้า ตลอดจนกระบวนการการจัดการที่เกิดขึ้นในพื้นที่จริง และนักวิจัยของตลาดไทนั้น สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพการดูแลพื้นที่และให้บริการของตลาดไท ทั้งนี้ การร่วมมือในครั้งนี้ยังคงมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคมและประเทศในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของ มธ. ที่มุ่งมั่นสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อการพัฒนาประเทศชาติในทุกด้าน” ขณะที่ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด (ตลาดไท) กล่าวว่า “ตลาดไท” มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการเป็น “ตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรครบวงจร” ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยดำเนินธุรกิจค้าส่งเคียงคู่คนไทย และสนับสนุนเกษตรกรไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานถึง 21 ปี และเดินหน้าด้วยความมุ่งมั่นในการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสินค้าเกษตร ผู้ค้า และเกษตรกรร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนในเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีความหลากหลายจากทั่วประเทศไทยและเกือบทุกมุมโลกผ่านตลาดไท “มีสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดไทถึง 12,000 ตันต่อวัน สนับสนุนเกษตรกรกว่า 200,000 คน และมีมูลค่าการค้าถึง 1.8 แสนล้านบาทต่อปี ตอกย้ำความแข็งแกร่งของตลาดไทในฐานะตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรครบวงจรใหญ่ที่สุดในอาเซียน แนวทางดังกล่าวจึงสอดรับกับภารกิจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการส่งเสริม สนับสนุนงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่าย การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องตลอดจนบุคลากรของทั้งสองฝ่าย เพื่อพัฒนาศักยภาพและพัฒนาธุรกิจในด้านต่างๆ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และตลาดไท” สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับ มธ. ในครั้งนี้ นายประดิษฐ์เชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดโดยตรงทั้งแก่ผู้ประกอบการไทย เกษตรกรไทย และสังคมไทยได้อย่างแท้จริง อีกทั้งจะเป็นอีกหนึ่งกลไกที่สามารถช่วยขับเคลื่อนงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของ มธ. ให้สัมฤทธิ์ผลและเป็นจริงได้ต่อไป ทั้งนี้ การลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และบริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด (ตลาดไท) ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีตัวแทนจากทั้ง 2 ฝ่าย เข้าร่วมลงนามเป็นจำนวนมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th/news Manager online 07.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร