Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“พุดดิ้งผัก” งานวิจัยจากมหิดลช่วยผู้สูงวัยกินผักไม่ต้องเคี้ยว  

เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของผู้สูงวัยก็ร่วงโรย ฟันก็เป็นอีกอวัยวะที่ร่วงหลุดและผุพังจนเป็นอุปสรรคต่อการกินอาหาร เป็นเหตุให้ผู้สูงวัยที่ร่างกายอ่อนแอ ยิ่งขาดสารอาหารที่จำเป็น “พุดดิ้งผัก” ผลงานของนักโภชนาการจากมหิดล เป็นอีกตัวช่วยให้ผู้สูงได้รับอาหารที่มีประโยชน์ “พุดดิ้งผัก” เป็นผลงานของ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนนการวิจัย (สกว.) ซึ่งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์พุดดิ้งผักสำหรับผู้สูงวัยที่มีสารอาหารครบถ้วน 3 รสชาติ คือ มันเทศเหลือง ข้าวโพดหวาน และฟักทอง เพื่อเพิ่มปริมาณใยอาหาร วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ และแคโรทีนอยด์ รวมทั้งมีเนื้อสัมผัสที่เหมาะสมกับการสูญเสียฟันในแต่ละระดับ ผลิตภัณฑ์พุดดิ้งผักพร้อมบริโภคบรรจุในถ้วยพลาสติกปริมาณ 120 กรัม ปิดผนึกด้วยแผ่นฟิล์มพลาสติก ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการสเตอริไรเซชั่น สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้เป็นเวลานานถึง 6 เดือน หากเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่านั้นก็จะยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้นโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น น้ำหนักเบาพกพาง่าย รับประทานได้ทันที เหมาะสำหรับเป็นอาหารระหว่างมื้อหรือขนมหวาน เพื่อให้ผู้สูงวัยได้รับสารอาหารสำคัญเพิ่มขึ้น คุณค่าทางโภชนาการพบว่าในพุดดิ้ง 1 หน่วยบริโภค มีพลังงานทั้งหมด 120 กิโลแคลอรี มาจากไขมัน 25 กิโลแคลอรี สัดส่วนการกระจายตัวของพลังงานที่มาจากไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเหมาะสม เป็นไปตามคำแนะนำที่กำหนดให้มีสัดส่วนการกระจายตัวของพลังงานจากไขมันร้อยละ 25-35 โปรตีนร้อยละ 10-15 และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55-65 นอกจากนี้ยังปราศจากน้ำตาลนม เป็นแหล่งของใยอาหารและแคลเซียมตามหลักเกณฑ์ในการกล่าวอ้างทางโภชนาการบนฉลากอาหารของกระทรวงสาธารณสุข “พบว่าปริมาณสารแคโรทีนอยด์ในพุดดิ้งผักแต่ละชนิดค่อนข้างสูง โดยในพุดดิ้งฟักทองพบ ลูทีน, ซีแซนทีน และเบต้าแคโรทีน ขณะที่พุดดิ้งมันเทศเหลืองและข้าวโพดหวานพบเพียงลูทีนและซีแซนทีนเท่านั้น นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีปัญหาด้านการเคี้ยว รวมทั้งยังสามารถนำค่าเค้าโครงเนื้อสัมผัสไปเป็นหนึ่งในการจัดตั้งมาตรฐานอาหารผู้สูงวัยต่อไป หรือนำไปต่อยอดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้สูงวัยในอนาคตได้อีกด้วย เนื่องจากมีสูตรและองค์ประกอบที่เหมาะสม เพื่อให้พุดดิ้งมีความคงตัว ทนต่อความร้อนจากการฆ่าเชื้อ จึงสามารถใช้เป็นสูตรต้นแบบในการผลิตในโรงงานจริง” ดร.ธัญญ์นลินแนะนำสรรพคุณของพุดดิ้งผัก พุดดิ้งผักยังเป็นผลงานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ได้ผลักดันสู่เชิงพาณิชย์ด้วยกิจกรรมนำเสนอแผนธุรกิจจับคู่ทางธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจและการลงทุนใน “โครงการส่งเสนริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน” Promoting I with I Espisode 2/2018 Thailand 4.0 โดยร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสพัฒนาโครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ตอบรับนโยบายประเทศไทย 4.0 Manager online 11.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร