Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“ซีเมนต์กระดูก” ช่วยเซลล์กระดูกเจริญเติบโตได้ใหม่ ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย  

นักวิจัย มทส.พัฒนา “ซีเมนต์กระดูก” ที่มีส่วนผสมกระดูกจริง ช่วยกระดูกเซตตัว มีองค์ประกอบเคมีคล้ายกระดูก ไม่เกิดความร้อน สลายตัวได้ช้าๆ ให้รูพรุน ช่วยให้เซลล์เลือด เซลล์กระดูกและของเหลวในร่างกายเข้าไปเจริญเติบโตได้แทนที่โดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต “ซีเมนต์กระดูกแบบฉีดสำหรับทดแทนกระดูกและสภาวะกระดูกพรุน” โดย รศ.ดร.ศิริรัตน์ ทับสูงเนิน รัตนจันทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งได้พัฒนาวัสดุที่เป็นของผสมระหว่างผงของแข็งและของเหลวในอัตราส่วนที่เหมาะสม และมีสมบัติคล้ายซีเมนต์ที่สามารถขึ้นรูปเป็นรูปต่างๆ โดยการปั้นหรือการฉีดผ่านเข็มฉีดยาขนาดเล็ก และเซ็ตตัวได้ในร่างกายโดยไม่เกิดความร้อน “จุดเด่นสำคัญยิ่งที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิมคือ เป็นซีเมนต์กระดูกที่มีส่วนผสมในการเกิดปฏิกิริยาในการเซตตัว และได้องค์ประกอบทางเคมีคล้ายกับกระดูกของมนุษย์ สลายตัวได้ในร่างกาย และช่วยส่งเสริมการเกาะของเซลล์กระดูก โดยการสลายตัวจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และให้รูพรุนที่เป็นโครงสร้างในการให้เซลล์กระดูก เลือด และของเหลวในร่างกายเข้าไปภายใน สามารถเกิดเนื้อเยื่อกระดูกใหม่เจริญเติบโตเข้ามาแทนที่ได้โดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ส่วนผสมประกอบด้วยส่วนเสริมแรง คือ เส้นใยพอลิเมอร์ธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ เพื่อให้เกิดความแข็งแรงเพียงพอในขณะที่เนื้อซีเมนต์บางส่วนสลายตัวไป” รศ.ดร.ศิริรัตน์อธิบายอีกว่า ซีเมนต์เชื่อมกระดูกที่มีขายในปัจจุบันและนำเข้าจากต่างประเทศโดยทั่วไปเป็นประเภท PMMA ซึ่งมีข้อเสียในการนำมาใช้งานทางการแพทย์หลายประการ เช่น เกิดความร้อนขณะเซตตัวซึ่งอาจส่งผลให้เซลล์ตายและเกิดการหลวมระหว่างวัสดุฝังในและกระดูกของผู้ป่วย ไม่สามารถสร้างและยึดเกาะกับกระดูกตามธรรมชาติ และไม่สามารถสลายตัวให้เกิดโครงสร้างยึดเกาะของเซลล์ได้ ทำให้ภายหลังการผ่าตัดวัสดุซีเมนต์เกิดการยึดเกาะไม่ดี หลวม และใช้เวลาในการยึดเกาะนาน ซึ่งจะส่งผลในการผ่าตัดรักษา อาจต้องผ่าตัดซ้ำและเกิดการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้การสลายตัวของซีเมนต์ยังทำให้ความแข็งแรงของซีเมนต์ลดลง ยังเป็นผลงานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ได้ผลักดันสู่เชิงพาณิชย์ด้วยกิจกรรมนำเสนอแผนธุรกิจจับคู่ทางธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจและการลงทุนใน “โครงการส่งเสนริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน” Promoting I with I Espisode 2/2018 Thailand 4.0 โดยร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสพัฒนาโครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ตอบรับนโยบายประเทศไทย 4.0 Manager online 12.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร