Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สิงคโปร์ รั้งแถวหน้าโลก “บริหารจัดการขยะ” แต่ยอดการใช้พลาสติกผู้บริโภคกลับไม่ลด  

บรรดาประเทศในโลกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้การยอมรับว่าสร้างผลงานการจัดการขยะที่ดี “สิงคโปร์”ติดหนึ่งในประเทศแถวหน้ามาอย่างยาวนาน แต่ประเด็นน่าสนใจก็คือ ประเทศต่างๆ ที่มีการจัดการขยะที่ดี รวมถึงสิงคโปร์ กลับยังคงปวดเศียรเวียนเกล้าในการบริหารจัดการขยะ เมื่อพบว่าปริมาณขยะพลาสติกที่ยังเพิ่มพูนขึ้นอยู่ทุกวัน สิงคโปร์ ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่มีถนนหนทาง สวนสาธารณะ และชายหาดสะอาดสะอ้าน ปราศจากขยะ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือแม้กระทั่งประเทศไทย ทั้งนี้เพราะขยะในสิงคโปร์ที่ไม่ได้ถูกส่งไปรีไซเคิลใหม่ จะถูกบริหารจัดการเผาให้เป็นเถ้าถ่าน และขยะที่เป็นของแข็งจะถูกขนส่งไปยังเกาะเทียมที่สร้างขึ้นมาจากฝีมือมนุษย์ที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อทับถมให้เป็นผืนแผ่นดิน อย่างเช่นเกาะที่ชื่อ Semakau ถูกวางเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถรองรับความต้องการทิ้งขยะของสิงคโปร์ไปได้ถึงปี 2045 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่น่าวิตก มาจากพฤติกรรมการสร้างขยะในสิงคโปร์นั้นยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนอย่างแท้จริง ทำให้ปริมาณของขยะขยายเติบโตในอัตราที่รวดเร็วซึ่งไม่ได้แตกต่างไปจากอดีตมากนัก จึงมีการคาดการณ์ว่าอาจจะทำให้พื้นที่ของเกาะดังกล่าวถูกถมเต็มพื้นที่เร็วกว่าเป้าหมายถึง 10 ปี แต่ขยะที่จะต้องบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกก็คือขยะพลาสติก ยังเป็นตัวสร้างปัญหาใหญ่ที่สุดของขยะในสิงคโปร์เช่นเดียวกับหลายประเทศในโลก ข้อมูลที่ได้มาจาก National Environmental Agency หรือ NEA ระบุว่าในปีที่แล้ว สิงคโปร์มีปริมาณขยะทั้งสิ้นประมาณ 763,400 ตัน แต่มีเพียง 8% ของขยะพลาสติกที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิล ตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์ของ NEA แสดงว่าขยะพลาสติกต่อคน หรือ plastic waste per capital ได้เพิ่มขึ้นเกือบ 20% ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา หรือเท่ากับพลเมืองสิงคโปร์ทิ้งถุงขยะเฉลี่ย 13 ใบต่อวัน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะรัฐบาลสิงคโปร์ไม่ได้นำมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกหรือภาชนะพลาสติกที่ใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง (SINGLE USE PLASTIC) และยังไม่ได้มีมาตรการที่ชัดเจนใดๆ เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าสิงคโปร์ได้ดำเนินการที่เพียงพอและเหมาะสมโดยการเตรียมกิจกรรมอื่นๆ มาทดแทน หากว่าการนำขยะไปทิ้งเพื่อถมเกาะ Semakau เพียงพอแล้ว ในขณะเดียวกัน มาตรการนำขยะกลับมาใช้ด้วยการรีไซเคิล ที่ดำเนินการประกาศใช้ไปแล้ว ก็มีส่วนช่วยลดปัญหาขยะได้ไม่มาก เมื่อเทียบกับปริมาณขยะจากถังขยะแต่ละวัน เนื่องจากการเติบโตของประชากร และอัตราการเติบโตและขยายตัวทางเศรษฐกิจยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเด็นบ่งชี้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการพลาสติกในภูมิภาคเอเชีย ประการแรก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีประชากรทิ้งขยะพลาสติกมากที่สุดของโลกจนครอง 4 อันดับแรก และมีแนวโน้มสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น หลังจากที่มีมาตรการห้ามการนำเข้าขยะของประเทศจีน ที่เคยใช้เป็นเป้าหมายปลายทางของการจัดการขยะที่เข้ากระบวนการรีไซเคิล ประการที่สอง พบหลักฐานบ่งชี้ว่าขยะพลาสติกคือปัญหาที่ร้ายแรงของโลก เมื่อไม่นานนี้ มีการเสียชีวิตของวาฬ ในประเทศไทยและผลการผ่าพิสูจน์พบการเสียชีวิตมีสาเหตุจากพลาสติก จึงเป็นข้อบ่งชี้ที่ยืนยันให้ทุกประเทศในโลกรับรู้เรื่องราว และมีความจริงจังมากขึ้นในการแก้ไขปัญหา ประการที่สาม สิงคโปร์ได้มีการประชุมพิเศษประเทศในอาเซียน เพื่อหาทางใหม่ๆ ที่มีประสิทธิผลในการจัดการกับเรื่องนี้หนึ่งในมาตรการที่น่าสนใจก็คือ การขอให้ประเทศที่มีความมั่งคั่งเข้ามารับผิดชอบในการติดตาม สอดส่อง การเปลี่ยนแปลงของขยะที่ควรจะถูกนำไปบริหารจัดการอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องการให้บริการส่งสินค้าแบบสะดวกซื้อ ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ประการที่สี่ สิงคโปร์ประกาศเป้าหมายประเทศของตนว่าเป็น Zero Waste Nation หมายความว่า สิงคโปร์ต้องไม่ปล่อยให้เกิดการทิ้งขยะลงบนพื้นดิน แต่ก็ยังไม่ได้ประกาศวันเวลาที่ชัดเจนว่าจะเป็นปีใดหรือเมื่อใด อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ได้ให้เงินทุนที่ใช้สนับสนุนการวิจัยใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการบริหารขยะอย่างยั่งยืน และออกกฎหมายบังคับให้กิจการที่สร้างหีบห่อสินค้าที่จะไปก่อให้เกิดขยะที่รับรู้ตั้งแต่แรกให้รายงานปริมาณหีบห่อที่สร้างและแผนการลดขยะทุกรายภายในปี 2021 ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะทำสำเร็จหรือใช้ได้ผลหรือไม่อย่างแท้จริง Manager online 15.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร