Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สร้างเครื่องขยายผลึกปุ๋ยจากน้ำเสียฟาร์มหมู  

มจธ.พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ขยายผลึกปุ๋ยสตรูไวท์ที่ผลิตจากน้ำเสียฟาร์มสุกรเพื่อการเกษตร ผศ.ดร.ภาติญา เขมาชีวะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และทีมวิจัย ได้พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ขยายผลึกปุ๋ยสตรูไวท์ที่ผลิตจากน้ำเสียฟาร์มสุกรเพื่อการเกษตร ผศ.ดร.ภาติญา กล่าวว่า น้ำเสียจากฟาร์มสุกรจะมีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ค่อนข้างสูงมาก เมื่อปล่อยลงสู่แม่น้ำจะเกิดปรากฏการณ์สาหร่ายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหรือที่เรียกว่าสาหร่ายเบ่งบาน ฉะนั้นหากสามารถกำจัดธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ในน้ำก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำได้ก็จะป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ การพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ขยายผลึกปุ๋ยสตรูไวท์นั้น ทีมวิจัยใช้แนวคิดคล้ายกับการบำบัดน้ำ แต่เป็นการนำธาตุอาหารที่อยู่ในน้ำเสียหรือน้ำจากฟาร์มสุกรกลับมาใช้ใหม่ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ โดยใช้หลักการตกตะกอนทำให้ธาตุตกตะกอนในรูปแบบผลึก ชื่อทางการเรียกว่า “ผลึกสตรูไวท์” “แต่ปัญหาที่พบคือน้ำมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัสปริมาณมาก แต่แมกนีเซียมมีปริมาณค่อนข้างน้อย ฉะนั้นต้องเติมสารเคมีลงไปเพิ่ม แต่งานวิจัยนี้ทีมวิจัยใช้น้ำทะเลแทนสารเคมี เนื่องจากน้ำทะเลมีแมกนีเซียมที่ความเข้มข้นสูงมาก ซึ่งสามารถตกตะกอนผลึกได้เป็นอย่างดี” ปุ๋ยสตรูไวท์ ประกอบด้วย แมกนีเซียม แอมโมเนียม และฟอสเฟต ลักษณะเป็นผงสีขาว มีอัตราส่วนแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส แอมโมเนียมที่เหมาะสม คือ 1:1:1 มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เป็นเบส แต่ปัญหาเมื่อธาตุตกตะกอนจะมีขนาดเล็กมากขนาดเป็นไมโครเมตร ทำให้แยกออกจากน้ำค่อนข้างยาก ทีมวิจัยจึงคิดพัฒนาเครื่องเพิ่มขนาดผลึกเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถแยกออกจากน้ำเสียได้ง่าย การขนส่งไปใช้งานก็สะดวก ไม่เป็นผงฟุ้งกระจายเหมือนผงแป้ง นางสาวพิชญา วงศ์ผุดผาด กล่าวว่า หลังจากธาตุกลายเป็นผลึกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กมาก แต่เมื่อใช้เครื่องเพิ่มขนาดผลึก พบว่าผลึกมีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิมประมาณ 7 เท่า หลังจากผ่านไป 30 วัน ลักษณะผลึกที่ได้มีขนาดเหมือนกับเม็ดงานำไปโรยลงดินได้ง่ายช่วยบำรุงพืชทางการเกษตร และนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงดินได้ด้วย นอกจากน้ำเสียจากฟาร์มสุกร สามารถใช้น้ำเสียที่มีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม อื่นได้ เช่น ปัสสาวะจากคน น้ำเสียจากเทศบาล น้ำจากโรงงานบางแห่ง งานวิจัยนี้ได้รับรางวัลเหรียญทอง จาก WORLD INVENTION INNOVATION CONTEST (WIC) และรางวัลพิเศษ จาก Asia Invention Creativity Association (AICA) และ Universitas Ubudiyah Indonesia (UUI) จากงานประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ World Invention Innovation Contest 2017 (WiC 2017) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี Manager online 17.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร