Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ร่วมยินดี “โจเซลิน เบลล์” ผู้พบคลื่นพัลซาร์รับรางวัลพิเศษที่ “สตีเฟน ฮอว์กิง” เคยได้รับ  

นักดาราศาสตร์และคนในแวดวงร่วมแสดงความยินดี “โจเซลิน เบลล์ เบอร์แนลล์” ผู้พบสัญญาณพัลซาร์ ได้รับรางวัล Special Breakthrough Prize จากกลุ่มเศรษฐีที่มอบแก่นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบองค์ความรู้ระดับโลก เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561 มีการประกาศผลการพิจารณามอบรางวัล Special Breakthrough Prize สาขาฟิสิกส์พื้นฐานแก่ “ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิง โจเซลิน เบลล์ เบอร์แนลล์” แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยดันดี สหราชอาณาจักร ในฐานะที่เธอมีส่วนร่วมสำคัญอย่างยิ่งในการค้นพบพัลซาร์ รวมถึงเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจต่อวงการวิทยาศาสตร์โลกในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา โจเซลิน ค้นพบพัลซาร์ครั้งแรก ในปี ค.ศ.1967 เมื่อเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร มีศาสตราจารย์ แอนโทนี เฮวิช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ขณะใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่เธอมีส่วนร่วมพัฒนาขึ้นนั้น เธอพบสัญญาณที่ไม่คาดคิด ด้วยความตั้งใจ มานะพยายามและความเฉลียวฉลาดของเธอ จึงพิสูจน์ได้ว่าเป็นสัญญาณจากนอกโลก ซึ่งไม่ใช่สัญญาณจากมนุษย์ต่างดาว หากแต่เป็นสัญญาณจากดาวนิวตรอน ต่อมาจึงได้ตั้งชื่อว่า “พัลซาร์” ส่งผลให้อาจารย์ที่ปรึกษาของเธอ ศาสตราจารย์ แอนโทนี เฮวิช ร่วมกับเซอร์มาร์ติน ริลล์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1974 พัลซาร์ (Pulsar) คือ ดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง จึงแผ่คลื่นวิทยุออกมาทางขั้วเหนือและใต้ของดาว ทุกครั้งที่ขั้วดาวหมุนมาทิศเดียวกับผู้สังเกตบนโลก จึงรับสัญญาณดังกล่าวได้เป็นคาบ เช่นเดียวกับการมองเห็นแสงจากประภาคาร การค้นพบพัลซาร์ในปี ค.ศ. 1974 นับเป็นหนึ่งในการค้นพบอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ ได้พิสูจน์ถึงความมีอยู่จริงของดาวนิวตรอนว่ามิใช่เป็นเพียงในทางทฤษฎี นอกจากนี้ ความแม่นยำจากการศึกษาพัลซาร์ ยังนำไปสู่การทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด และใช้ตรวจวัดการมีอยู่จริงของคลื่นความโน้มถ่วงได้เป็นครั้งแรก ส่งผลให้ ศ. รัสเซลล์ เฮาล์ส และ ศ. โจเซฟ เทย์เลอร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1993 ล่าสุดในปี ค.ศ. 2017 หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงโดยใช้อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ชนิดเลเซอร์ หรือ LIGO ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงโดยตรงเป็นครั้งแรก เกิดจากการรวมตัวของดาวนิวตรอนสองดวง ทำให้เกิดไฮเปอร์โนวา (Hypernova) แหล่งต้นกำเนิดของธาตุหนักต่าง ๆ ในเอกภพ เช่น ทองคำ ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา การค้นพบอันลือลั่นวงการวิทยาศาสตร์นี้ ส่งผลให้ ศ. รายเนอร์ ไวสส์ ศ. แบรรี่ แบริช และ ศ. คิป ทอร์น รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนั้น ตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมา โจเซลินยังเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์โลก เธอมีส่วนร่วมพัฒนาเรียนการสอนดาราศาสตร์ และหลักสูตร STEM ในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยหลายแห่ง และเคยมีบทบาทเป็นผู้นำของหลายสถาบัน เช่น ผู้จัดการโครงการ James Clerk Maxwell Telescope ประธานสมาคมดาราศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร ประธานผู้หญิงคนแรกของสถาบันฟิสิกส์แห่งสหราชอาณาจักรและประเทศไอร์แลนด์ และประธานราชบัณฑิตยสภาของ Edinburgh ฯลฯ รางวัล Special Breakthrough Prize ที่โจเซลินได้รับครั้งนี้ มีมูลค่าถึง 3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 ล้านบาท มีมูลค่ามากกว่ารางวัลโนเบลเกือบ 3 เท่า หลังจากทราบข่าว โจเซลินได้หารือกับสถาบันฟิสิกส์แห่งสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ประสงค์มอบเงินรางวัลเป็นทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกสำหรับผู้ต้องการโอกาสในการศึกษาวิทยาศาสตร์ โจเซลินตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายในวงการวิทยาศาสตร์ “ฉันมีโอกาสทำงานสำคัญที่สุดในชีวิตเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก จึงอยากให้โอกาสนี้แก่เยาวชนรุ่นหลังเหล่านั้นเพื่อค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อไป” โจเซลินกล่าว “โจเซลิน เป็นบุคคลตัวอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างแท้จริงตลอดมา เธอเป็นเสมือนแสงสว่างจากประภาคารให้แก่เหล่านักวิทยาศาสตร์ ในฐานะนักดาราศาสตร์สาขาพัลซาร์ ผมรู้สึกขอบคุณท่านที่ได้ให้พัลซาร์เป็นของขวัญที่น่าตื่นตาตื่นใจให้พวกเรา ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ ผมรู้สึกขอบคุณสำหรับความพยายามที่ไม่หยุดยั้งของเธอ ในการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ และสตรีในสาขาวิทยาศาสตร์” ศาสตราจารย์ มิชาเอล คราเมอร์ ผู้อำนวยการสถาบันดาราศาสตร์วิทยุมักซ์พลังซ์ และดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์นานาชาติของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าว ด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้ความเห็นว่า งานวิจัยดาราศาสตร์นับเป็นโจทย์ยากที่ท้าทาย และขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ผลลัพธ์ที่ได้นอกจากจะเป็นผลงานนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ยากๆ เหล่านั้นแล้ว ระหว่างทางยังทำให้เกิดการพัฒนากำลังคนขั้นสูงจำนวนมากมายในหลากหลายสาขา ที่สามารถไปต่อยอดหรือสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมต่อไปได้ การค้นพบพัลซาร์เมื่อ 50 ปีที่แล้ว เป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่ขณะนั้นยังไม่แน่ใจว่า จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง แต่การมุ่งมั่นศึกษาเชิงลึกของวิทยาศาสตร์พื้นฐานตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากเพียงใด “โจเซลินเป็นแรงบันดาลใจหนึ่งที่ทำให้ สดร. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายความสามารถของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาวิจัยด้านดาราศาสตร์วิทยุที่ สดร. กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ อุปกรณ์ และเครื่องมือหลายอย่าง เราไม่ได้ซื้อมาโดยตรง แต่เรามุ่งเน้นการสร้างและร่วมพัฒนากับหน่วยงานดาราศาสตร์ระดับโลกที่เรามีความร่วมมือ เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศ งานวิจัยด้านพัลซาร์ยังคงเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่น่าตื่นตาตื่นใจอันดับต้นๆ ของโลก” ดร.ศรัณย์บอกอีกว่า ประเทศไทยกำลังผลักดันให้เกิดโครงการจัดตั้งหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ประกอบด้วย กล้องโทรทรรศน์วิทยุหลักขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร ในอนาคตกล้องโทรทรรศน์วิทยุนี้ จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการทำวิจัยด้านพัลซาร์ของไทย ปัจจุบัน มีนักวิจัยรุ่นใหม่ด้านพัลซาร์ที่ปฏิบัติงานในสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 2 ท่าน ได้แก่ ดร. พฤทธิ์ เจริญจิตติชัย และ ดร. ศิรประภา สรรพอาษา ดร.พฤทธิ์ เจริญจิตติชัย นักวิจัยอาวุโสและผู้จัดการโครงการพัฒนาสถานีกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ กล่าวว่า การค้นพบของโจเซลินเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจ ให้นักศึกษาและนักดาราศาสตร์รุ่นใหม่อย่างพวกผม เปิดใจกว้างถึงโอกาสในการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลที่เราสังเกตการณ์ได้และวิเคราะห์อยู่ “ท่านเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ดิฉันตัดสินใจทำวิจัยในสาขาพัลซาร์ และสนใจทำงานเพื่อสนับสนุนในด้านความหลากหลายในวงการวิทยาศาสตร์ ท่านเคยให้คำแนะนำว่า อย่าได้กลัวในสิ่งใด จงตั้งใจทำในสิ่งที่คุณรักและสนใจ อย่าให้ใครมาบอกว่าคุณทำไม่ได้ เพราะคุณทำได้และทำได้ดีกว่าที่พวกเขาคาดคิดอีกด้วย” ดร.ศิรประภา กล่าว ส่วน รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม ที่ปรึกษาด้านวิจัย และอดีตผู้อำนวยการ สดร. ผู้มีโอกาสพบปะโจเซลินในโอกาสต่างๆ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการเป็นผู้บุกเบิกสำคัญระดับโลกด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์วิทยุแล้ว โจเซลินยังเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม และได้รับเชิญไปบรรยายในที่ประชุมระดับนานาชาติมากมาย รวมทั้งประเทศไทย โจเซลินเคยมาบรรยายพิเศษ เรื่อง “ฤาโลกดับแล้ว... ไม่แคล้วปีหน้า: ในมุมมองดาราศาสตร์” ในการประชุมวิชาการสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 11 ซึ่ง สดร. เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี ค.ศ. 2011 ครั้งนั้นมีประชาชนเข้าร่วมฟังมากกว่า 800 คน” รางวัล Breakthrough Prizes ริเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 จากกลุ่มมหาเศรษฐีระดับโลกนำโดย ยูริ มิลเลอร์ นักธุรกิจด้านเทคโนโลยีไอทีชาวรัสเซีย ร่วมกับมหาเศรษฐีอีกหลายคน เช่น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอและผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก เซอร์เกย์ บริน หนึ่งในผู้ก่อตั้งกูเกิล ที่ตระหนักถึงความสำคัญของ “องค์ความรู้” ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติ เป็นสิ่งอธิบายความเป็นไปของธรรมชาติและกำหนดอนาคตของมนุษย์ แบ่งรางวัลออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์พื้นฐาน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต และมีรางวัลพิเศษที่คณะกรรมการสามารถพิจารณามอบให้บุคคลใดก็ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการเสนอชื่อแบบทั่วไป ผู้ที่เคยได้รับรางวัลพิเศษนี้มีทั้ง สตีเฟน ฮอว์กิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ผู้ศึกษาหลุมดำ และทีมนักฟิสิกส์จากโครงการ LIGO ที่สามารถตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงได้ Manager online 17.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร