Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มหาวิทยาลัย No Plastic ขยี้แนวทางประชารัฐ “ลดขยะพลาสติก”  

ปีที่ผ่านมา ตัวเลขการลดขยะพลาสติก ของ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล ลดได้ถึงร้อยละ 80-90 ซึ่งเป็นผลเชื่อมโยงจากการเข้าร่วมโครงการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลก และการจับมือกันเหนียวแน่นของเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ถึงจะมีข้อติง ย้อนแย้งว่า “สังคมมีขนาดย่อมจึงทำได้ไม่ยาก” แต่นั่นคือข้อสังเกตที่ตอกย้ำ แนวทางการแก้ปัญหาของรัฐในสังคมใหญ่ระดับประเทศ ว่าคงคืบหน้าน้อย แถมล่าช้าจนอาจจะสายเกิน เพราะยังมุ่งมั่นในวิธีการรณรงค์มากกว่าการบังคับทางกฎหมาย แม้ในช่วงปีนี้ที่ผ่านมา ภาครัฐ และเอกชน ออกมาร่วมรณรงค์ขับเคลื่อนในการลดใช้พลาสติกมากขึ้น เพื่อจะสร้างแรงกระตุ้นให้คนไทยช่วยกันลดสร้างขยะถุงพลาสติก แก้ว หลอดพลาสติก ช้อนส้อม ขวดน้ำ รวมถึงโฟมที่ใช้แล้วทิ้ง โดยประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยรับแรงกดดันจนต้องออกมาขับเคลื่อนมากขึ้นก็คือหลักฐานที่บ่งชี้ว่า สัตว์น้ำในท้องทะเลไทย โดยเฉพาะ เต่าทะเล วาฬและโลมา ตายด้วยสาเหตุจากการกินขยะพลาสติก และเศษเครื่องมือทำประมงพันขาพันลำตัวจนเสียชีวิต เมื่อผนวกกับประเทศไทยถูกรายงานขยับอันดับปัญหาก่อขยะทะเลจากอันดับ 6 เป็นอันดับ 5 ของโลก ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยกล่าวไว้ในงานเสวนา "วิกฤตขยะบก สู่แพขยะในทะเล : จะแก้อย่างไร?" จัดโดย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าการรณรงค์ให้ประเทศไทยลดการใช้ถุงพลาสติกให้ได้ร้อยละ 30 เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จากปัจจุบันยังลดการใช้ได้ไม่ถึง ร้อยละ 10 หากประชาชนทุกคนไม่ช่วยกัน โดยขยะทะเลเป็นปัญหาสะสมในอีก 10 ปีข้างหน้าที่ใช้เวลาย่อยสลาย 450 ปี ที่สำคัญไทยได้ขยับอันดับปัญหาขยะทะเลจากอันดับ 6 เป็นอันดับ 5 ของโลกที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุด แซงประเทศศรีลังกาแล้ว จาก 192 ประเทศทั่วโลก เป็นรองแค่ประเทศจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ไม่เพียงเท่านั้น ดร.ธรณ์ ยังบอกว่า “ปัจจุบันเราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ดีเลย ขยะทะเลเป็นปัญหาระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะไทยมีประชากรน้อยกว่าหลายประเทศทั่วโลก แต่กลับมีปริมาณขยะในทะเลมากกว่า 1 ล้านตัน ทำให้เสี่ยงต่อการถูกกลุ่มประเทศยุโรป (EU) กดดันไทยในลักษณะเช่นเดียวกับการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU ผมจึงอยากให้คนไทยร่วมมือกันทั้งลดการใช้ถุงพลาสติก และลดขยะตั้งแต่ครัวเรือน เนื่องจากขยะทะเลไม่สามารถย่อยสลายในลักษณะเดียวกับขยะบก และขยะทะเลยังลอยน้ำไปได้ไกลถึงทะเลประเทศอื่น ๆ ดังนั้น ขยะทะเลจำเป็นต้องมีการจัดการในลักษณะเดียวกับก๊าซเรือนกระจก” จากการรณรงค์ที่ผ่านมา พบว่าไม่เคยได้ผลตามเป้าหมาย แม้ว่าจะรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติกมากันเป็นสิบๆ ปี ซึ่งคนไทย เฉลี่ยแล้วใช้ถุงพลาสติก 15 ใบต่อคนต่อวัน แต่ถ้าเทียบกับคนในยุโรปใช้ถุงพลาสติกเพียง 5 ใบต่อคนต่อเดือนเท่านั้น นี่คือสิ่งที่คนไทยต้องตระหนักและหันมาทบทวนกัน เราควรแก้ปัญหาที่ตัวเราก่อน โดยเฉพาะการแบนการกลบฝังขยะ เพราะหากเกิดน้ำท่วมขัง ขยะก็ไหลไปตามสายน้ำอยู่ดี “การนำมาตรการที่ใช้หลักวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการพลาสติก เช่น การให้ผู้บริโภคจ่ายค่าถุงพลาสติก หรือการออกกฎเกณฑ์กับผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์สโตร์ขนาดใหญ่ ที่จริงก็ถูกบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อไหร่เราจะเริ่มเสียที" "คำถามก็คือเราจะเดินหน้าด้วยความเร็วขนาดไหน เพราะแต่ละส่วนก็มองปัญหาพลาสติกในทะเลแตกต่างกัน แต่ผมทำงานในเรื่องนี้ คิดว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบทำ" มหาวิทยาลัยสีเขียว ผลักดันแนวทางลดใช้พลาสติก ในการเข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลก (University Ranking) โดย UI GreenMetric World University Ranking ของมหาวิทยาลัยไทย น่าสนใจมากก็ตรงที่ว่า ปีล่าสุด มี 3 มหาวิทยาลัยไทย ติดใน 100 อันดับ คือ มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 86 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 90 และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 96 และยังมีมหาวิทยาลัยไทยอีก 10 แห่ง ติดอันดับอยู่ด้วย โครงการนี้ทำกันมาตั้งแต่ปี 2010 โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นขนาดของมหาวิทยาลัย ทั้งในแง่จำนวนนักศึกษา ขอบเขตของพื้นที่ และปริมาณพื้นที่สีเขียว ขณะที่อีกส่วนคือข้อมูลการใช้พลังงาน การเดินทางสัญจร การใช้น้ำ การจัดการขยะและการรีไซเคิล รวมถึงความมุ่งมั่นของสถาบันในการดำเนินนโยบายต่างๆ และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเห็นว่าเกณฑ์ด้านการจัดการของเสีย “ขยะพลาสติก” จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แทบทุกมหาวิทยาลัยหยิบยกมาเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน ชูต้นแบบการพัฒนาแก่สังคมใหญ่ เมื่อต้นปี (กุมภาพันธ์ 2561) มหาวิทยาลัยมหิดลและเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน (Sustainable University Network of Thailand : Sun Thailand) ได้ร่วมกันส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหามลภาวะของโลก โดยมีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดำเนินสู่การสร้างให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ พร้อมจัดเสวนาเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน "From Green to Sustainable University"ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ที่น่าสนใจ คือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บรรยายพิเศษเรื่อง "มหาวิทยาลัยไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" โดยกล่าวว่า ยั่งยืน คือการรักษาในอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด แล้วยังสามารถส่งต่อให้ผู้คนรุ่นต่อไปได้ ซึ่งคำว่ายั่งยืนไม่ใช่กระแสหรือแฟชั่นแต่คือสิ่งสำคัญที่ควรตระหนัก เพราะโลกกำลังเผชิญอยู่ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่จำนวนประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในพื้นที่ที่มีขนาดเท่าเดิม จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนที่ก่อประโยชน์และเกิดความสุข พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ตรัสว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม พระองค์ท่านเน้นการดูแล ดิน น้ำ ลม ไฟ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ก็คือธรรมะ ซึ่งเป็นสิ่งที่นำพวกเราไปสู่ความยั่งยืน พระองค์ท่านไม่เคยใช้คำว่ามั่งคั่ง ร่ำรวย แต่ใช้คำว่า ประโยชน์สูงสุด "ฉะนั้นเราควรมองสิ่งแวดล้อม เป็นธรรมะ คือธรรมชาติ (nature) เป็นประโยชน์ที่ควรรักษา เพราะหากเรามองเป็นทรัพยากร (resource) ก็จะเห็นแต่ทรัพย์ราคาเท่านั้น เราจึงควรปลูกฝังการมองสิ่งรอบตัวอย่างเป็นธรรม ซึ่งสามารถเริ่มได้ในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะของปัญญา แต่อย่าทำให้ยุ่งยากซับซ้อน แก้ไขปัญหาเรื่องธรรมชาติอย่างง่ายๆ ธรรมดาจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้" ดร.สุเมธ กล่าว ด้าน ศาสตราจารย์ แท ยุน ปาร์ค ประธาน Korean Association for Green Campus Initiative (KAGCI) จากมหาวิทยาลัยยอนเซ ประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่าด้วยประสบการณ์จากเกาหลีสู่แนวทางเริ่มต้นสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งมหาวิทยาลัยยอนเซ นั้นมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีทั้งด้านกายภาพและการเรียนการสอน จนติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยมีการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยทั้งด้านเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยลดพื้นที่จอดรถ ตลอดจนการลดขยะจากอาหาร การใช้พลังงานทดแทน หรือการบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า "สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการศึกษา และวิจัย เราจึงต้องร่วมมือกันในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการสร้างให้เกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน จะเป็นส่วนสำคัญของการยกระดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศ และเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคม" ล่าสุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 “ปฏิบัติการความยั่งยืน 2561” Action for the Goals (The 3rd Annual Conference “Action for the Goals 2018”) ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระหว่างวันที่ 25 - 26 ตุลาคม 2561 เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ร่วมส่งผลงานหรือแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เข้าร่วมงานการประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Manager online 21.09.61

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร