Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ก.วิทย์ฯ-สวทช.ร่วมการไฟฟ้า-ขสมก.เตรียมผลิตรถไฟฟ้าจากรถเมล์เก่าครั้งแรกในไทย  

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จับมือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการการพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. เป็นรถโดยสารไฟฟ้าเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ ครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมจัดทำบทวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำรถโดยสารไฟฟ้าที่ได้รับการพัฒนามาขยายผลใช้งาน และความคุ้มค่าในการนำรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก.มาเป็นรถโดยสารไฟฟ้าเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทยให้สูงขึ้น และสร้างขีดความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ประธานคณะกรรมการยานยนต์สมัยใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.ได้หารือกับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กรมการขนส่งทางบก สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ บีโอไอ และสำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง โดยมีการประชุมหารือแนวทางดำเนินการร่วมกันตั้งแต่กลางปี 2560 ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ภาคีเครือข่ายพัฒนาการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าไทย” ซึ่งภาคีดังกล่าวมีความเห็นร่วมกันว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่สามารถผลิตรถโดยสารใช้เองมานาน และการมาของเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่รัฐบาลได้ส่งเสริมให้เกิดการใช้รถไฟฟ้าในประเทศ จึงมีความเห็นร่วมกันที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมสำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพได้พัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของตนไปสู่การผลิตรถโดยสารไฟฟ้า คาดหวังว่าในอนาคตหากมีรถโดยสารไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพภาครัฐจะสนใจนำมาใช้งานในกิจการภาครัฐ โดย ขสมก.มีรถเก่าอยู่พอสมควร เพื่อสร้างมูลค่าของรถด้วยการนำมาปรับปรุงเป็นรถไฟฟ้าเพือก่อให้เกิดความคุ้มค่าได้ จึงเป็นที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้ ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับ กฟน. กฟผ. กฟภ. และ ขสมก.ในด้านการวิจัยและพัฒนา “โครงการการพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้วขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นรถโดยสารไฟฟ้าเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย” โดย สวทช.ได้รับเกียรติจาก กฟน. กฟผ. กฟภ. และ ขสมก.ในการบริหารจัดการกิจกรรม ขณะที่ สวทช.นอกจากบทบาทในการบริหารจัดการกิจกรรมดังกล่าวร่วมกันแล้ว ยังได้สนับสนุนงบประมาณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และการทำนโยบายเพื่อให้โครงการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ในการยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย และได้รถโดยสารไฟฟ้า 4 คันที่พัฒนาต่อยอดจากรถโดยสารประจำทางเก่าของ ขสมก. พร้อมผลศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรถโดยสารไฟฟ้าที่ได้รับการพัฒนามาขยายผลใช้งาน และความคุ้มค่าในการพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้วเป็นรถโดยสารไฟฟ้าของ ขสมก. เพื่อนำผลของกิจกรรมไปดำเนินการต่อยอดในเชิงนโยบายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและประเทศต่อไป นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ รองผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า กฟน.ได้มีการสนับสนุนกิจกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อตอนสนองนโยบายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เช่น การสนับสนุนสถานีอัดประจุ การทดลองใช้ยานยนต์ไฟฟ้านำร่อง การสนับสนุนการทำมาตรฐานเต้ารับเต้าเสียบสำหรับยานยนต์ร่วมกับ สวทช.เสนอ สมอ. ซึ่งเป็นที่มาของมาตรฐานเต้ารับเต้าเสียบสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่ประกาศใช้แล้วขณะนี้ ทั้งนี้ ในกิจกรรมพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถประจำทางใช้แล้วของ กฟน. กฟผ. กฟภ. ขสมก. สวทช.จัดร่วมกันในครั้งนี้ ทาง กฟน.มีความตั้งใจในการสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยในการสร้างขีดความสามารถในการผลิตรถโดยสารไฟฟ้า และเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดการทดลองใช้งานจริงๆ ใน ขสมก. ซึ่งหากผลการดำเนินการของกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว หน่วยงานรัฐและเอกชนของประเทศน่าจะได้แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมรถโดยสารไฟฟ้าที่ชัดเจนยิ่งขึ้น นายภัทรพงศ์ เทพา ผู้ช่วยผู้ว่าการนโยบาย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.มีความตั้งใจในการผลักดันความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากการที่ กฟผ.มีการสนับสนุนให้เกิดการทำวิจัยพัฒนาด้านยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกับ สวทช.มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การสนับสนุนการทำวิจัยด้านการดัดแปลงรถยนต์สันดาปภายในไปเป็นรถไฟฟ้า เช่น การดัดแปลงรถยนต์ฮอนด้าแจ๊ซ รวมทั้งในอนาคตจะมีการดัดแปลงเพิ่มอีก 2 รุ่น คือ นิสสัน อัลเมรา และโตโยต้า อัลทิส รวมถึงการพัฒนาชิ้นส่วนหลักของรถไฟฟ้า เช่น มอเตอร์อินเวอร์เตอร์ ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ และระบบปรับอากาศไฟฟ้า เป็นต้น สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ กฟผ.เห็นว่าเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยทดลองผลิตรถโดยสารไฟฟ้าจากพื้นฐานรถประจำทางเก่าของ ขสมก. และได้ทดลองนำไปใช้จริงในรูปแบบของรถโดยสารประจำทาง เพื่อให้ได้ทราบถึงความเหมาะสมในการนำรถประจำทางเก่าไปใช้งาน และการนำรถโดยสารไฟฟ้าที่ทำการวิจัยไปวิ่งให้บริการจริง ซึ่งหากการนำรถโดยสารไฟฟ้ามาใช้งานในการขนส่งในเขตเมืองทำได้จริงจะเป็นการลดมลพิษทางอากาศให้ประชาชนอีกด้วย นายศรัณย์พงศ์ อาชว์สุนทร ผู้ช่วยผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวต่อว่า การดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว กฟภ.ได้สนับสนุนงบประมาณและข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ สวทช. และผู้ประกอบการในการวิจัยและพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้วเป็นรถโดยสารไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังสนับสนุนบุคลากรร่วมกับ กฟน. กฟผ. สวทช. ขสมก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการพิจารณาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ รวมถึงติดตามการดำเนินงานของโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และการวิจัยในโครงการดังกล่าวจะเป็นเวทีในการพิสูจน์ศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าในประเทศ รวมไปถึงเป็นการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าไปขยายผลใช้งานเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป นายสาคร รุ่งสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถองค์การ 2 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ขสมก.เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม ปัจจุบันมีรถโดยสารให้บริการประชาชนจำนวน 2,674 คัน รองรับเส้นทางเดินรถ 118 เส้นทาง ซึ่งรถโดยสารส่วนใหญ่ใช้ระบบเครื่องยนต์ดีเซล มีอายุการใช้งาน 19-27 ปี มีสภาพเก่าทรุดโทรม และมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูง และยังมีค่ามลพิษจากไอเสียสูง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในแผนฟื้นฟูกิจการของ ขสมก.มีแผนต้องจัดหารถโดยสารใหม่ทดแทนรถเดิม ซึ่งรถใหม่ที่จะต้องจัดหาต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรถโดยสารไฟฟ้าเป็นหนึ่งประเภทที่อยู่ในโครงการจัดหารถใหม่ทดแทนรถเก่าที่ปลดระวาง ซึ่งรถเก่ามีสภาพทรุดโทรม ในโครงการนี้คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมีมติให้บริจาครถปลดระวางจำนวน 4 คันเพื่อเข้าร่วมโครงการ และสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งสถานีอัดประจุสำหรับรถโดยสารไฟฟ้าร่วมกับ สวทช. จำนวน 2 สถานี 4 หัวจ่าย และเมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะมีรถที่ได้มาทดลองวิ่งให้บริการในเขตพื้นที่การเดินรถที่ 1 ต่อไป นอกจากนี้ ผลการวิเคราห์ความคุ้มค่าในการนำรถเก่าปลดระวางมาปรับปรุงเป็นรถโดยสารไฟฟ้า และผลประเมินการทดลองวิ่งรถโดยสารไฟฟ้า จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ ขสมก.ในการนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดหารถโดยสารไฟฟ้าตามแผนฟื้นฟูต่อไป กิจกรรมดังกล่าว โครงการฯ จะสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านงบประมาณไม่เกิน 75% ของมูลค่าโครงการ หรือไม่เกิน 7 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 9 เดือนในการส่งมอบผลงานรถโดยสารไฟฟ้าที่สร้างขึ้นจากพื้นฐานของรถโดยสารประจำทางใช้แล้วที่ผ่านเกณฑ์การจดทะเบียนเป็นรถโดยสารไฟฟ้าตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก โดยประกาศให้ผู้ประกอบการที่สนใจและมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์สามารถยื่นขอรับการพิจารณาสนับสนุนได้ โดยต้องเป็นผู้ประกอบการไทย มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท มีประสบการณ์ดำเนินการด้านการประกอบรถโดยสารหรือผลิตแม่พิมพ์สำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่มาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี และไม่เป็นนิติบุคคลที่ล้มละลาย หรือถูกฟ้องร้อง สามารถส่งข้อเสนอโครงการเพื่อเสนอพิจารณาได้จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th Manager online 22.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร