Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไทยทำได้! เปลี่ยน 'แกลบ’ เป็นซูเปอร์แบตฯ   

วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรที่ผ่านมือนักวิจัย มข. เปลี่ยนแกลบเป็นนาโนซิลิกอน สร้างต้นแบบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ในราคาที่ถูกกว่าของนำเข้ากว่า 50% เอกชนรุมจีบ หวังขยายโรงงานต้นแบบที่พร้อมเดินเครื่องปี 63 สู่ธุรกิจสตาร์ทอัพนวัตกรรม จากการสกัดซิลิก้าจากแกลบส่งเข้าประกวดในงานนวัตกรรมข้าวไทย เมื่อปี 2557 ผศ.นงลักษณ์ มีทอง จากสถาบันวิจัยและนวัตกรรมวัสดุนาโนเพื่อพลังงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เดินหน้าขยายโครงการ โดยพัฒนาให้แกลบกลายเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ยานยนต์เพื่ออนาคต เพิ่มค่าของเหลือจากท้องนา แกลบ 1 กิโลกรัม นักวิจัยนำมาสกัดเป็นวัสดุนาโนที่เรียกว่า นาโนซิลิกอนได้ 0.04 กิโลกรัม ที่สามารถใช้เป็นขั้วไดโอดในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ด้วยคุณสมบัติเป็นวัสดุที่ความจุไฟฟ้าทางทฤษฎีสูงถึง 4,200 มิลลิแอมแปร์ชั่วโมงต่อกรัม “นาโนซิลิกอนจากแกลบมีจุดเด่นในการทำขั้วไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่ต่างจากวัสดุอื่น ด้วยมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและศักยภาพการกักเก็บพลังงานสูง ทางทีมวิจัยจึงได้พัฒนาต้นแบบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทรงกระบอกขนาด 18,650 ที่มีสามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้มากกว่าของที่มีในท้องตลาด” แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนดังกล่าวจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้ในปี 2560 มีเอกชนสนใจและสนับสนุนจนเกิดเป็นโรงงานต้นแบบ 2 ส่วนคือ โรงงานต้นแบบผลิตวัสดุนาโนจากแกลบสำหรับขั้วไฟฟ้าของแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน และโรงงานต้นแบบผลิตเซลล์แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนจากแกลบเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า กำลังการผลิต 2 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง หรือ 1 พันก้อนต่อวัน ผศ.นงลักษณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีเอกชนให้ความสนใจแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากแกลบมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมจักรยานยนต์ไฟฟ้า และโดรนเพื่อการเกษตรที่ต้องการแบตเตอรี่ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ประจุไฟฟ้าสูงที่ช่วยให้รอบบินสั้นลง ไม่ต้องชาร์จบ่อย ที่สำคัญ ต้นทุนของวัสดุหลักคือแกลบที่หาได้ง่ายและราคาถูก ทำให้ต้นทุนจะถูกกว่าของนำเข้ากว่า 50% “สำหรับโรงงานต้นแบบจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงเดือน มิ.ย.2562 และเตรียมความพร้อมทั้งอุปกรณ์ บุคลากร คาดว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 จะพร้อมเดินเครื่องผลิต" อย่างไรก็ดี การจะต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ยังมีข้อจำกัดในการขอมาตรฐาน มอก. ที่ต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการผลิต จำหน่ายโดยเฉพาะ ทำให้โรงงานต้นแบบนี้กลายเป็นข้อจำกัด จึงอยู่ระหว่างการหาโมเดลธุรกิจที่จะต่อยอดนวัตกรรมนี้ไปสู่การใช้งานจริง ซึ่งอาจจะเป็นการหาบริษัทรับจ้างผลิต หรือการสปินออฟไปทำแบรนด์ของมหาวิทยาลัย หรืออาจเป็นกลไกการปลดล็อกของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ที่จะผลักดันนวัตกรรมไทย วท. หนุนนวัตกรรมภูมิภาค สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นกลไกเชื่อมกับผู้ประกอบการที่สามารถสร้างนวัตกรรมและมุ่งเน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่เกี่ยวข้องกับพืชเศรษฐกิจ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย พริก สมุนไพรท้องถิ่นและปศุสัตว์ สุกรและไก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ดิจิทัล และอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า ความคืบหน้าในการพัฒนานวัตกรรมจากการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคนี้คืบหน้าไปมาก “โครงการวิจัยมากมาย ผลิดอกออกผลมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์ เกิดความร่วมมือของภาคการวิจัยและภาคเอกชน หลังจากนี้ นวัตกรรมจะต้องมองในมิติของการตลาดให้มาก ก่อนที่จะเริ่มเดินหน้าวิจัยพัฒนา โดยเฉพาะในอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” นอกจากนี้ยังต้องมีกลไกการสนับสนุนนวัตกรรมอีกมาก เช่น การปลดล็อกด้านการเงิน การทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์นวัตกรรม การทำทาเลนท์แมทชิ่ง รวมถึงต้องเติมเรื่องของมาตรการจูงใจจากบีโอไอ กองทุนเพิ่มขีดความสามารถ และฟู้ดอินโนโพลิส รวมถึงการผลักดันให้เกิดเมดิโคโพลิส จากศักยภาพทางด้านนวัตกรรมการแพทย์ของภูมิภาคนี้ Bangkokbiznews 25.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร