Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เครื่องช่วยฟัง-แอพช่วยสื่อสาร สิ่งประดิษฐ์ขายได้  

เครื่องช่วยฟังควบคุมด้วยคลื่นสมอง - แอพพลิเคชันช่วยการสื่อสารสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ตัวอย่างชิ้นงานเด่นในงานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2562 โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ชิงเงินรางวัลกว่า 1 ล้านบาท งานประกวดฯ จัดขึ้นวันที่ 24-25 ก.ย.ที่ห้องประชุม วช.มีผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วม 150 ผลงานใน 9 สาขา เช่น สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาสังคมวิทยา สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย เป็นต้น รางวัลแบ่งเป็น 5 ระดับตั้งแต่ระดับดีเด่นจนถึงชมเชย ส่วนพิธีมอบรางวัลจะจัดในงานวันนักประดิษฐ์ 2 ก.พ.ของทุกปี ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค 2 เทคโนโลยีลดเหลื่อมล้ำ เครื่องช่วยฟังควบคุมด้วยสัญญาณสมอง ผลงานโดย “อนุกูล น้อยไม้” นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาการได้ยินซึ่งอาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุ อุบัติเหตุรวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการรับฟังเสียงที่ชัดเจนขึ้น ขณะนี้มีบริษัทเอกชนติดต่อขอรับถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ คาดว่าไม่เกิน 1 ปีจะสามารถออกสู่ตลาด เครื่องช่วยฟังทั่วไปจะต้องกดปุ่มปิดเปิดเมื่อต้องการใช้งาน ซึ่งไม่สะดวกเท่าที่ควร ทีมงานจึงมีแนวคิดพัฒนาเครื่องช่วยฟังที่ทำงานร่วมกับ EEG sensor ซึ่งจะตีความสภาวะการทำงานของสมอง เพื่อปรับคุณภาพเสียงที่ได้ยินโดยอัตโนมัติ “ส่วนแนวทางการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด โดยทางผู้ประกอบการจะระบุรายละเอียดของฟังก์ชันที่ต้องการ จากนั้นนักวิจัยทำการพัฒนาและทดสอบให้ตอบโจทย์ได้มากที่สุด” อนุกูล กล่าว ขณะที่ผลงานแอพพลิเคชันช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องในการได้ยิน พัฒนาโดย กรรณ จรรยาวุฒิวรรณ อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (มสธ.) ที่ต้องการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษาจึงเริ่มจากการใช้สื่อโซเชียลที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กในยุคนี้เข้ามาเป็นช่องทางในการสื่อสาร โดยเริ่มจากการพัฒนาคลิปวิดีโอให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัว เช่น ทักษะการขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส การติดต่อกับหน่วยงานราชการ การติดต่อกับโรงพยาบาลหรือหน่วยงานให้การให้บริการสุขภาพ เป็นต้น จากนั้นพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อช่วยเหลือด้านการสื่อสาร ซึ่งออกแบบให้มีลักษณะเป็น Universal Design นอกจากผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินจะนำไปใช้ติดต่อสื่อสารแล้ว บุคคลทั่วไปก็สามารถนำไปใช้ได้ด้วย เป็นการผสมผสานสื่อในสังคมออนไลน์ที่ตอบโจทย์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม “2 ปีที่ผ่านมาได้รับผลการตอบรับมากขึ้น อนาคตจะขยายไปเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่บกพร่องในการได้ยินมากขึ้น เช่น การเรียนด้านกราฟิกจากเดิมที่ผู้บกพร่องฯ ส่วนใหญ่มุ่งเรียนการทำอาหาร การเรือน ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์ความสนใจเด็กรุ่นใหม่ นอกจากนี้ยังสอนเรื่องมารยาทการใช้สื่อออนไลน์และการเข้าสังคมที่เหมาะสม จากเดิมที่มีการแนะนำเรื่องเหล่านี้น้อยจนทำให้เกิดความแปลกแยก แต่ทั้งนี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย” กรรณ กล่าว วิจัยมีประโยชน์ขายได้ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนด้านการวิจัยเพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐ ที่ต้องการพัฒนาฐานรากของการวิจัย โดยการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและสนับสนุนนักวิจัย นักประดิษฐ์ในการพัฒนาผลงานให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ในปีนี้เน้นการวิจัยที่สามารถนำมาใช้ได้จริงและขายได้ ที่สำคัญก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน ยกตัวอย่าง งานวิจัยที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เช่น อุปกรณ์วัดกระดูกสันหลังค่อมโดยใช้ระยะผนังและลำแสงอินฟาเรดในการตรวจ เพื่อให้ทราบปัญหาของภาวะกระดูกค่อมและความเสี่ยงกระดูกสันหลังหัก นอกจากนั้นยังเก็บเป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ทางคลินิกได้อีกด้วย รวมถึงอุปกรณ์ให้ข้อมูลป้อนกลับทางสายตาเกี่ยวกับการลงน้ำหนักที่ขาขณะเคลื่อนไหวในท่าต่างๆ เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบว่า สามารถลงน้ำหนักได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถควบคุมด้วยโปรแกรมทางโทรศัพท์ สามารถถอดประกอบได้ เป็นต้น “ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามปลดล็อกปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการทำงานวิจัย เช่น การส่งเสริมให้เปิดตลาดภาครับให้กับนวัตกรรมไทย การสนับสนุนเงินทุนในการทำมาตรฐานให้กับผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับ คาดว่าจะทำให้เกิดแรงกระตุ้นให้นักวิจัยสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพมากขึ้น” ศ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าว Bangkokbiznews 25.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร