Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยพบ “ไมโครพลาสติก” เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารผ่านยุงได้อีกช่องทาง  

นักวิจัยสังเกตพบ “ลูกน้ำ” ตัวอ่อนของยุงกลืนกิน “ไมโครพลาสติก” ซึ่งอาจผ่านเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่อาหารได้ พบเป็นอีกวิธีที่อนุภาคเป็นมลพิษจะทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ไมโครพลาสติก (Microplastics) นั้นเป็นอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กที่แตกสลายจากผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ตั้งแต่เสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ ยางรถยนต์ และถูกทิ้งเกลี่ยนกลาดไปทั่วมหาสมุทรของโลก ไมโครพลาสติกเหล่านี้ยากที่จะสังเกตเห็นและเก็บกวาด อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในทะเล รวมถึงเชื่อด้วยว่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพลาสติกจิ๋วเหล่านี้เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและปนเปื้อนในน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค ล่าสุดเอเอฟพีรายงานว่า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรีดดิง (University of Reading) ในอังกฤษ เชื่อว่าพวกเขาพิสูจน์ได้เป็นครั้งแรกว่า ไมโครพลาสติกนั้นเข้าสู่ระบบนิเวศของมนุษย์ได้ทางอากาศ ผ่านทางยุงและแมลงอื่นๆ ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้สังเกตว่าตัวอ่อนยุงหรือลูงกน้ำนั้นได้กลืนกินเม็ดไมโครพลาสติก แบบเดียวกับเม็ดพลาสติกเล็กๆ (เม็ดบีด) ที่พบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประจำวัน โดยสังเกตเห็นก่อนที่จะติดตามวัฏจักรชีวิตยุงเหล่านั้นต่อ นักวิจัยยังพบด้วยว่า พลาสติกจำนวนมากยังส่งต่อไปถึงยุงในช่วงโตเต็มวัย ซึ่งแสดงว่าสิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่กินยุงเหล่านั้นในธรรมชาติ ก็จะกลืนกินพลาสติกไปด้วยเช่นกัน อะแมนดา คอลลาแฟน (Amanda Callaghan) นักวิทยาศาสตร์ทางด้านชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยรีดดิง และนักวิจัยหลักของงานวิจัยนี้บอกเอเอฟพีว่า สิ่งสำคัญคือการกระจายลักษณะนี้เกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง และบอกด้วยว่า พวกเขาศึกษายุงเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น ทีมวิจัยยังพบว่ามีแมลงอีกมากที่อาศัยอยู่ในน้ำ และมีวัฏจักรแบบเดียวกับยุง ซึ่งมีตัวอ่อนที่หากินในน้ำ และโผล่ขึ้นมาในแบบตัวเต็มวัย ส่วนสัตว์ที่กินแมลงเหล่านั้นมีหลากหลายสิ่งมีชีวิตหลากหลายสปีชีส์ ทั้งนก ค้างคาว และแมงมุม ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ถูกสัตว์อื่นล่าเป็นอาหารอีกทอดหนึ่ง คอลลาฟานกล่าวว่า นี่เป็นอีกเส้นทางของมลพิษที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน แม้งานนี้ทีมวิจัยจะศึกษายุงภายใต้สภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ แต่ คอลลาแฟนระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่กระบวนการที่สังเกตพบในห้องปฏิบัติการนั้นจะเกิดขึ้นในธรรมชาติแล้วเช่นกัน หลายๆ ประเทศ รวมถึงอังกฤษนั้นได้ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเม็ดไมโครบีด แต่คอลลาฟานกล่าวว่า ปัญหาก็ยังอยู่ นับเป็นปัญหาใหญ่ และพลาสติกเหล่านั้นก็มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว และจะอยู่กับเราไปอีกนานแสนนาน Manager online 20.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร