Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

4 หน่วยงาน ผนึกสร้างเครือข่าย นักธุรกิจ-นักนโยบาย-นักวิจัย รุ่นใหม่ “รับมือโลกร้อน”  

ปัจจุบัน ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียกำลังประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเผชิญกับความท้าทายด้านการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (adaptation finance) จะเห็นว่าเมืองใหญ่อย่างเช่นกรุงเทพฯ ที่สร้างบนชั้นดินอ่อนสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงแค่ 1.5 เมตร กำลังจะเป็นเมืองหนึ่งที่สุ่มเสี่ยงถูกผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก เทียบเท่ากับเมืองใหญ่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จาการ์ต้า และ มะนิลา "เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สภาพอากาศจะแปรปรวน เช่น พายุไซโคลนและไต้ฝุ่นที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน และสภาวะฝนแล้งสลับกับน้ำท่วม ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงและถี่ขึ้น” ศาสตราจารย์ ดร. อุฟ มูสเลเนอร์ หัวหน้าแผนกวิจัยของแฟรงค์เฟิร์ตสคูล กล่าว แฟรงค์เฟิร์ตสคูลร่วมกับศูนย์วิจัยด้านภูมิอากาศและการเงินของความยั่งยืนด้านพลังงาน (FS UNEP Center) มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อระบุปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่ในด้านการเงินเพื่อมาตรการปรับตัว และได้พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และให้บริการที่ปรึกษาแก่ลูกค้าต่างประเทศเพื่อหาทางออกเพื่อรับมือกับสภาพอากาศและการจัดหาเงินทุน “ในหลาย ๆ กรณีเราไม่ได้เตรียมความพร้อมต่อความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่เรากำลังเผชิญอยู่ เงินลงทุนในวันนี้เพื่อการเตรียมการที่ดี จะสามารถปันผลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต” ศ.ดร. มูสเลเนอร์กล่าว ปัจจุบันแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับตัวส่วนมากมาจากการระดมทุนของภาครัฐและองค์กรระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กระบวนการลงทุนของรัฐสามารถปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ถูกผลกระทบสามารถปรับตัวฟื้นกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างยั่งยืน ยิ่งกว่านั้น "เราพบว่า ภาคเอกชนยังมีส่วนร่วมลงทุนเพื่อปรับตัวในระดับที่จำกัดมาก ทรัพยากรมนุษย์ในหลายประเทศกำลังพัฒนาถือเป็นข้อจำกัดหลักในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับตัว นอกจากนี้ ขีดจำกัดในปัจจุบันยังมาจากการขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการวิจัยด้านนโยบายการเงินเพื่อการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล การเตรียมจัดทำโครงการที่ดี และการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่มีศักยภาพ ไปจนถึงความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และอุปสรรคในการระบุแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและวิธีการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเหล่านั้น” ดร. บิม อดิการี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจาก ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Research Center : IDRC) จากประเทศแคนาดา กล่าว เพื่อให้การลงทุนในการปรับตัวสามารถเกิดผลลัพธ์ได้มากที่สุดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ แนวทางการจัดการจึงต้องใช้วิธีแบบองค์รวม แฟรงค์เฟิร์ตสคูล และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จึงร่วมกันจัดทำ แผนงานทุนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ Adaptation Finance Fellowship Program (AFFP) ในปี พ.ศ. 2559 โดยมี IDRC เป็นผู้สนับสนุนแผนงานนี้ โดยให้ทุนแก่ผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ที่โดดเด่นในการเงินเพื่อการปรับตัวด้านสภาพภูมิอากาศ จำนวน 36 ราย ตลอดระยะเวลาโครงการ 4 ปี ด้าน มาร์ค เรดวูด กรรมการที่ปรึกษาโครงการ AFFP และรองผู้บริหารบริษัทโควอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า "เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปรับตัวที่เหมาะสม การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และการสร้างตลาดที่นักลงทุนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เราจำเป็นต้องเชื่อมโยงการวิจัยเกี่ยวกับการเงินและองค์ประกอบทางเศรษฐกิจของการปรับตัว เข้ากับความเป็นจริงในทางปฏิบัติของธุรกิจและการกำหนดนโยบาย การรวมกันของทั้งสามมุมมองจะทำให้แนวคิดดีๆ ถูกนำมาใช้จริงให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อการนี้จึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านนี้" ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา 18 ตัวแทนจากภาคเอกชน นักนโยบาย และนักวิจัย จากห้าทวีปทั่วโลกได้เข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมผ่านระบบเรียนรู้ออนไลน์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการในแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และที่กรุงเทพฯ "สิ่งสำคัญคือ เราต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ ไม่เพียงแต่มีความรู้ทางเทคนิคที่สลับซับซ้อนเท่านั้น แต่ต้องมีทักษะในการติดต่อสื่อสารเพื่อให้พวกเขาสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาปรับใช้ในโลกจริง และสามารถเรียนรู้จากกันและกันได้ คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่เหล่านี้คืออนาคตที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และจะเป็นผู้นำไปสู่โลกที่สามารถตอบสนองต่อสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้" ดร. บาร์บาร่า เดร็กซเล่อร์ ผู้อำนวยการโครงการ AFFP และรองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ที่แฟรงค์เฟิร์ตสคูลกล่าว ประเด็นหลัก คือ ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้จะสามารถนำมาปฏิบัติจริงได้อย่างไร? ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ AFFP และนักวิชาการเกียรติคุณจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยกล่าวว่า " ในแผนงาน AFFP นักวิจัยรุ่นใหม่ทั่วโลกจากประเทศกำลังพัฒนา จะได้รับทุนในการทำวิจัยนวัตกรรมเรื่องแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยเฉพาะการปรับตัวของเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งการตอบคำถามว่าทำไมเกษตรกรบางรายถึงเข้าร่วมระบบประกันพืชผล ในขณะที่เกษตรกรบางรายตัดสินใจไม่เข้าร่วม ที่สำคัญคือ โครงการ AFFP นั้นจะจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่เหล่านักวิจัยจะสามารถมาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องผลการวิจัยของพวกเขา โดยมีอาจารย์และนักวิชาการจากนานาชาติคอยสนับสนุนและให้คำปรึกษา ซึ่งจะทำให้นักวิจัยสามารถระบุแนวโน้มและแนวทางใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้" วิธีดังกล่าวก่อให้เกิดผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ โดยนักวิจัยในโครงการ AFFP 4 คนได้นำเสนอผลการวิจัยในงานประชุม the Biannual Adaptation Futures 2018 ที่จัดขึ้น ณ เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา "เราภูมิใจที่ได้เห็นผลสำเร็จของโครงการ เราสามารถเห็นได้ถึงแรงจูงใจและความมุ่งมั่นของนักวิจัยในโครงการ ซึ่งนั้นชี้ให้เราเห็นว่างานของเรากำลังเดินหน้าไปเรื่อยๆ และเรามาถูกทางแล้ว” ความสำเร็จล่าสุด ของโครงการ AFFP คือ การร่วมมือครั้งใหม่กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อเป็นหัวหอกในการนำสิ่งที่เราเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลในประเทศไทย ซึ่งในอีก 18 เดือนข้างหน้า สกว. จะจัดหาทุนวิจัยให้แก่นักวิจัยไทยสองคน เพื่อเข้าร่วมในโครงการ AFFP รอบที่สอง รองศาสตราจารย์ ดร. ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กล่าวว่า "ด้วยความร่วมมือกับสถาบันที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการ AFFP เราอยากจะนำหัวข้อการวิจัยเรื่องการเงินเพื่อการปรับตัวมาขยายผลในประเทศไทย เป้าหมายของเราคือการสนับสนุนความพยายามส่วนบุคคลของนักวิจัยไทยที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อเพิ่มการแบ่งปันองค์ความรู้ในด้านการเงินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และช่วยพัฒนานักวิจัยไทยให้กลับมาเสริมสร้างชุมชนท้องถิ่นของเรา” ด้าน อภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้กล่าวว่า “หลายปีมานี้ เรากำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดมาจากสภาวะโลกร้อน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่จะกระทบต่อลูกค้าของเราซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย แต่ยังรวมไปถึงผลการดำเนินการด้านสินเชื่อของ ธกส. ซึ่งในปี พ. ศ. 2560 ค่าเบี้ยประกันภัยพืชผลโดยรวมทั้งหมดมีมูลค่าสูงถึง 2,527 ล้านบาท เราจึงตระหนักดีว่านี่เป็นเรื่องเร่งด่วน และเราจำเป็นที่จะต้องลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็น เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการส่งพนักงานของ ธกส. ไปเข้าร่วมโครงการ AFFP จะทำให้พนักงานของเรามีความรู้และทักษะที่ดี และจะช่วยให้เรามีแนวคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะสามารถพัฒนาองค์กรของเราให้กลายเป็นผู้นำด้านการปรับตัวของเกษตรกรในระดับภูมิภาค” Manager online 26.09.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร