Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โนเบลแพทย์ 2018 รักษามะเร็งที่ระบบภูมิคุ้มกัน  

คณะกรรมการรางวัลโนเบลมอบรางวัลสาขาแพทย์ให้ 2 นักวิจัยสหรัฐฯ และอเมริกาจากผลงานบุกเบิกบำบัดมะเร็งด้วยการพุ่งเป้าไปที่ภูมิคุ้มกันของร่างกาย แทนการโจมตีเซลล์มะเร็งอย่างเดียว สมัชชาโนเบลที่สถาบันแคโรลินสกา (The Nobel Assembly at Karolinska Institutet) ประกาศผลรางวัลโนเบล สาขาสรีรศาสตร์และการแพทย์ ประจำปี 2018 เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2018 ให้แก่ เจมส์ พี อัลลิสัน (James P. Allison) จากศูนย์มะเร็งเอ็มดีแอนเดอร์สันมหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas MD Anderson Cancer Center) สหรัฐฯ และ ทาสุกุ ฮอนโจ (Tasuku Honjo) จากมหาวิทยาลัยเกียวโต (University of Kyoto) ญี่ปุ่น สำหรับ “การค้นพบวิธีบัดมะเร็งโดยการยับยั้งการควบคุมภูมิคุ้มกันเชิงลบ” ซึ่งเป็นงานที่ช่วยหาวิธีปลดปล่อยการหยุดระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้โจมตีเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ต่างจากการรักษามะเร็งแบบดั้งเดิม ซึ่งมุ่งกำจัดเซลล์มะเร็งโดยตรงและมักส่งผลข้างเคียงที่ร้ายแรง แต่อัลลิสันและฮอนโจพยายามหาวิธีที่จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเองได้จัดการกับเซลล์มะเร็งอย่างทันท่วงที การค้นพบของอัลลิสันและฮอนโจนั้นนำไปสู่การบำบัดที่พุ่งเป้าไปที่โปรตีนซึ่งผลิตขึ้นโดยเซลล์ภูมิคุ้มกัน ที่ทำหน้าที่ “หยุด” กลไกตามธรรมชาติที่ฆ่าเซลล์มะเร็ง คณะกรรมการรางวัลโนเบลในสต็อคโฮล์มระบุว่า การบำบัดดังกล่าวได้ปฏิวัติการรักษามะเร็งในปัจจุบัน และได้เปลี่ยนมุมมองของเราในระดับพื้นฐานว่า เราสามารถจัดการมะเร็งได้อย่างไร เมื่อปี 1995 อัลลิสันเป็น 1 ในสองนักวิทยาศาสตร์ที่จำแนกโมเลกุล CTLA-4 ว่าเป็น “ตัวรับยับยั้ง” (inhibitory receptor) บนเซลล์ที (T-cells) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีบทบาทหลักในการระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกายในการป้องกันโรค คณะกรรมการรางวัลโนเบลยังอธิบายถึงงานวิจัยอัลลิสันซึ่งปัจจุบันอายุ 70 ปีแล้วว่า สร้างความตระหนักถึงศักยภาพของการปลดปล่อย “ตัวหยุด” และปล่อยให้เซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรานั้นโจมตีเนื้อร้าย ในช่วงเวลาที่ฮัลลิสันค้นพบดังกล่าวนั้น ทางด้านฮอนโจก็ได้ค้นพบโปรตีนบนเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ชื่อ ลิแกนด์ PD-1 (ligand PD-1) และท้ายสุดได้ค้นพบว่าโปรตีนดังกล่าวทำงานเป็น “ตัวหยุด” ได้เช่นกัน แต่ทำงานในอีกวิธีที่แตกต่างกัน อัลลิสันกล่าวว่า เขาไม่เคยฝันว่างานวิจัยของเขาจะมาถึงขั้นนี้เลย ยอเยี่ยมมาก เป็นเกียรติอันน่าตื้นตันเป็นพิเศษที่ได้พบผู้ปวยมะเร็ง ซึ่งได้รับการรักษาจนหายขาด ด้วยการปิดกั้นจุดตรวจสอบของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านั้นเป็นข้อพิสูจน์ที่มีลมหายใจ ถึงพลังของวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งตามมาด้วยการเรียนรู้และได้เข้าใจระบบต่างๆ นี้ทำงานอย่างไร ส่วนฮอนโจในวัย 76 ปีก็ปฏิญาณตนที่จะเดินหน้างานวิจัยของเขาต่อไป เพื่อให้การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันนี้ได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม คณะกรรมการรางวัลโนเบลบอกอีกว่า เป็นเวลามากกว่า 100 ปี ที่นักวิทยาศาสตร์พยายามจะดึงระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับมะเร็ง จนกระทั่งมาถึงการค้นพบต้นแบบโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติทั้งสอง กระบวนการสู่การพัฒนาในระดับคลีนิคก็เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง แอนตีบอดี (Antibodies) หรือภูมิต้านทานของร่างกาย ที่ยับยั้งเซลล์ภูมิคุ้มกัน PD-1 นั้น ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration) ว่า เป็นยาตัวใหม่ที่อยู่ระหว่างการศึกษาหาข้อพิสูจน์ และได้พัฒนาขึ้นเพื่อบำบัดรักษามะเร็ง ทีมวิจัยของอัลลิสันได้นำไปสู่การพัฒนายาโมโนโคลนอลแอนติบอดี ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสรัฐฯ (FDA) เมื่อปี 2011 เพื่อบำบัดมะเร็งผิวหนัง ซึ่งมีชื่อทางการค้าที่รูจักกันทั่วไปว่า “เยอร์วอย” (Yervoy) คณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์และการแพทย์นี้ ยังเคยมอบรางวัลให้แก่ผลงานวิจัยด้านการบำบัดรักษามะเร็งอื่นๆ อีก เช่น การบำบัดรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการใช้ฮอร์โมนเมื่อปี 1966 การบำบัดมะเร็งด้วยยาเคมีเมื่อปี 1988 และการปลูกถ่ายไขกระดูกสำหรับรักษาลูคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว เมื่อปี 1990 คณะกรรมการระบุอีกว่า ยังมีมะเร็งที่ยากต่อการรักษา และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยยุทธศาสตร์ในการบำบัดรักษาแบบใหม่ๆ นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองที่ได้รับรางวัลโนเบลปีล่าสุด จะแบ่งเงินรางวัล 870,000 euros ยูโรกันคนละครึ่ง และจะได้พระราชทานเหรียญรางรางวัลจากกษัตริย์ คาร์ล กุสตาฟ (King Carl XVI Gustaf) ที่ 16 ของสวีเดน ภายในงานฉลองอย่างเป็นทางการที่กรุงสตอคโฮล์มในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ซึ่งตรงกับวันเสียชีวิตของ อัลเฟร็ด โนเบล (Alfred Nobel) ผู้ตั้งรางวัลนี้ และได้เสียชีวิตตรงกับวันดังกล่าวเมื่อปี 1896 ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2014 อัลลิสันและฮอนโจได้ร่วมรับรางวัล “ตังไพรซ์” (ang Prize) ซึ่งยกย่องกันว่าเป็นรางวัลโนเบลของเอเชีย จากผลงานวิจัยของทั้งสองเช่นเดียวกันนี้ ส่วนรางวัลโนเบลสาขาอื่นๆ นั้น สาขาฟิสิกส์จะประกาศผลในวันที่ 2 ต.คซึ่งตรงกับวันอังคาร ตามมาด้วยรางวัลสาขาเคมีที่จะประกาศผลในวันพุธที่ 3 ต.ค. จากนั้นในวันศุกร์ที่ 5 ต.ค.จะประกาผลรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และปิดท้ายด้วยรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ที่จะประกาศในวันจันทร์ที่ 8 ต.ค. อย่างไรก็ตามปีนี้รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมจะเลื่อนจะถูกเลื่อนออกไป ตามแรงกระเพื่อมตามกระแส #MeToo เนื่องจาก ฌ็อง-โคลด อาร์โนล (Jean-Claude Arnault) ชาวฝรั่งเศสวัย 72 ปีที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 2 ปี จากคดีข่มขืน โดยเขาได้แต่งงานกับสมาชิกราชบัณฑิตสภาสวีเดน (Swedish Academy ) ที่มีอำนาจในการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม และสโมสรของอาร์โนลยังได้รับทุนอุดหนุนจากราชบัณฑิตสภาด้วย Manager online 2.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร