Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ผลักดันรัฐใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิล “ลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน”  

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย นำโดย วีระ อัครพุทธิพร อุปนายกสมาคม (กลาง) กลุ่มธุรกิจ โคคา-โคลา ในประเทศไทย โดย นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร (ขวา) และ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส โดย มร.ริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร ความยั่งยืน และทรัพยากรบุคคล (ซ้าย) ประกาศความร่วมมือเพื่อผลักดันให้มีการนำขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มที่ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ Recycled PET (rPET) มาใช้ เพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ (virgin plastic) อันจะเป็นการลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน นับเป็นความร่วมมือกันเพื่อสร้างความเข้าใจถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีรีไซเคิลที่ทันสมัยซึ่งจะทำให้พลาสติกรีไซเคิลมีความสะอาดและปลอดภัย โดยผู้บริหารทั้งสามองค์กรพูดเป็นเสียงเดียว “เร่งให้ข้อมูลและสร้างความเชื่อมั่นกับภาครัฐ เพื่อปลดล็อคกฎหมายที่ยังห้ามใช้พลาสติกรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม” ซึ่งเชื่อว่าหากดำเนินการสำเร็จ จะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก และยังสอดคล้องกับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของทั้งสามองค์กร เริ่มจาก วีระ อัครพุทธิพร อุปนายก สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าวว่า “ในฐานะศูนย์กลางการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สมาคมฯ มีบทบาทสำคัญที่สามารถร่วมแก้ปัญหาขยะพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อมได้ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมฯ ก็เพิ่งจับมือกับภาครัฐร่วมประสานงานให้สมาชิกเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดหรือแคปซีลได้สำเร็จ ในวันนี้ เราเห็นว่าเทคโนโลยีการรีไซเคิลมีความก้าวหน้าไปมากจนสามารถนำพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่มและอาหารได้อย่างปลอดภัย และหลายประเทศก็มีการใช้ขวดเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลมาอย่างปลอดภัยเป็นเวลานานมากแล้ว เราจึงอยากมีส่วนร่วมรณรงค์ในประเด็นนี้เช่นกัน โดยขณะนี้ ทางโคคา-โคลา เป็นผู้ประกอบการรายหลักที่สนใจในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นพันธกิจที่บริษัทแม่ประกาศใช้ทั่วโลก และอินโดรามา เวนเจอร์สก็เป็นผู้ผลิตที่สามารถผลิตขวดชนิดนี้ได้ แต่ต้องส่งออกไปขายต่างประเทศเท่านั้น หากมีการปลดล็อคทางกฎหมายเมื่อใด มั่นใจว่าจะมีผู้ประกอบการสนใจเพิ่มมากขึ้น เพราะสมาชิกทุกรายล้วนมีความมุ่งมั่นในการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม” ด้านโคคา-โคลา นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ของโลกซึ่งใช้ขวดพลาสติก PET เป็นจำนวนมาก บริษัทฯ มีบทบาทที่สำคัญในการช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกได้ โดยหนึ่งในพันธกิจตามวิสัยทัศน์ “World Without Waste” ซึ่งทางบริษัทแม่ประกาศเมื่อต้นปีนั้น บริษัทได้ตั้งเป้าที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ซึ่งผลิตจากวัสดุ รีไซเคิลในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดภายในปี 2573 ซึ่งทำให้บริษัทฯ ต้องเริ่มทำงานทั้งการวางแผนการทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์อย่างอินโดรามา เวนเจอร์ส การนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาครัฐ และการเชิญชวนเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมผ่านทางสมาคมฯ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป” “สำหรับเรื่องการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างรับผิดชอบนั้น บริษัทฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างอีกเป้าหมายหนึ่งที่บริษัทแม่กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ของเราต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2568 นั้น บริษัทฯ ได้ดำเนินการสำเร็จแล้วในปัจจุบัน หรืออย่างเรื่องการพยายามลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ เราก็มีทั้งผลิตภัณฑ์ขวดแก้วที่สามารถนำกลับมาล้างทำความสะอาดและใช้บรรจุเครื่องดื่มใหม่ได้ หรืออย่างน้ำดื่ม ”น้ำทิพย์” เราก็ลงทุนมหาศาลในการติดตั้งเครื่องจักรที่ทันสมัยจนทำให้สามารถใช้ขวด PET ชนิดพิเศษซึ่งลดปริมาณพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์แบบเดิมลงได้ถึง 35 เปอร์เซ็นต์มาตั้งแต่ปี 2555 และพร้อมกับการปรับเปลี่ยนครั้งนั้น บริษัทก็เลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดไปพร้อมกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มมีการรณรงค์กันเสียอีก” นายนันทิวัตกล่าว ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ rPET โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 295 พ.ศ.2548 ข้อ 8 ระบุว่า “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก” โดยวัตถุประสงค์ของกฎหมายในขณะนั้นเป็นไปเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สะอาด แต่ด้วยเหตุผลดังกล่าว บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดในประเทศไทยจึงต้องผลิตขึ้นจากพลาสติกผลิตใหม่ทั้งหมด ซึ่งทำให้ปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับ มร.ริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร ความยั่งยืน และทรัพยากรบุคคล บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส ยืนยันว่า “อินโดรามา เวนเจอร์ส มีเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกจากขวดพลาสติกรีไซเคิล ที่ทันสมัย สะอาด ปลอดภัยและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา และระเบียบคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป บริษัทฯ ให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้วมาคัดแยกก่อน เพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออก ต่อด้วยการชำระล้างทำความสะอาดขวดพลาสติกในอุณหภูมิที่สูงอีกหลายขั้นตอน กำจัดเชื้อโรคและขจัดสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายออกระหว่างทาง ก่อนที่จะใช้ความร้อนสูงถึง 285 องศาเซลเซียสเพื่อนำเกล็ดพลาสติกที่ถูกสับละเอียดไปหลอมต่อ เพื่อให้ได้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงสุด ทำให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจากโรงงาน rPET ของอินโดรามา เวนเจอร์ส ในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีการส่งออกเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสำหรับการผลิตขวดไปจำหน่ายในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ และออสเตรเลีย” ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการผลิตขวดพลาสติกออกสู่ตลาดในประเทศมากกว่า 185,000 ตัน และมีเพียงไม่ถึงครึ่งที่ถูกจัดเก็บ และนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม ส่วนขวดพลาสติกที่เหลือเกือบ 1 แสนตันต้องถูกนำไปฝังกลบ และบางส่วนก็เล็ดรอดออกสู่ทะเลกลายเป็นขยะทางทะเล ที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างในระดับโลก ขณะที่หลายประเทศตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงหันมาส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 28 ประเทศ ให้การยอมรับการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร แสดงให้เห็นว่า เม็ดพลาสติกรีไซเคิลได้มาตรฐานและปลอดภัยที่จะนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร โดยเยอรมนีเป็นประเทศ ที่มีอัตราการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลสูงสุดในสหภาพยุโรปถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในเอเชีย ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศ ที่มีอัตราการนำพลาสติกมารีไซเคิลสูงสุดถึง 83 เปอร์เซ็นต์ “เราเองในฐานะผู้ผลิตพลาสติก PET รายใหญ่ที่สุดของโลก บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด และขอยืนยันว่าพลาสติก PET ไม่ใช่ขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่สิ้นสุดในหลายรูปแบบ หากนำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มด้วย ยิ่งมีการนำพลาสติก PET กลับมาใช้ใหม่ได้มากเพียงใด ก็จะทำให้ความต้องการพลาสติกผลิตใหม่ลดลงมากตามไปด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มอุปสงค์ของบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมรีไซเคิลด้วยการสร้างรายได้ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า และผลักดันให้อุตสาหกรรมรีไซเคิลที่มีบทบาทสำคัญในการคัดแยกพลาสติกออกจากขยะอื่นๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย” มร.ริชาร์ด ย้ำ Manager online 09.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร