Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เกล็ดเลือดจากสเต็มเซลล์ผิวหนัง จุดความหวังผู้ป่วยโรคเลือด/ไข้เลือดออก  

ทีมนักวิจัยศิริราชฯ ประสบความสำเร็จ 2 โครงการวิจัยด้านเกล็ดเลือด “กระตุ้นเพิ่มอัตราการผลิต 30%” และ “เปลี่ยนเซลล์ผิวหนังให้เป็นเกล็ดเลือด” รับทุนวิจัยลอรีอัลสตรีนักวิทย์ 250,000 บาท แพทย์ศิริราชประสบความสำเร็จ 2 โครงการวิจัยด้านเกล็ดเลือด “กระตุ้นเพิ่มอัตราการผลิต 30% จากเซลล์ต้นกำเนิด” และ “เปลี่ยนเซลล์ผิวหนังให้เป็นเกล็ดเลือด” ได้รับทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2561 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จำนวน 2.50 แสนบาท องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการรักษาผู้ป่วยเกล็ดเลือดพร่องเนื่องจากไขกระดูกสร้างได้น้อย เช่น ผู้ที่อยู่ระหว่างการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ส่วนเกล็ดเลือดจะเป็นส่วนที่สร้างได้ช้า ฉะนั้น ระหว่างรอร่างกายสร้างเกล็ดเลือดได้เองก็ต้องรับเกล็ดเลือดบริจาคทดแทนไปก่อน นอกจากนี้ยังมีผู้ที่สูญเสียเกล็ดเลือดจำนวนมากจากการเสียเลือดจากการผ่าตัดและอุบัติเหตุ ผู้ป่วยไข้เลือดออก เกล็ดเลือดคือส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีบาดแผล ช่วยอุดรอยฉีกขาดของเส้นเลือด ในปัจจุบันเกล็ดเลือดเพื่อการรักษามาจากการบริจาค ซึ่งมีขั้นตอนและใช้เวลานานกว่าการบริจาคเลือดทั่วไปประมาณ 2 ชั่วโมง ส่งผลให้มีผู้บริจาคน้อยและเสี่ยงขาดแคลนในช่วงที่มีการระบาดของไข้เลือดออกหรือช่วงเทศกาลที่มีการเดินทางที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ จากสภาพปัญหาข้างต้นจึงเป็นโจทย์ให้คิดหาวิธีเพิ่มอัตราการผลิตเกล็ดเลือดจากเซลล์ต้นกำเนิด ดร.จันทร์เจ้า ล้อทองพานิชย์ อาจารย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทีมงานใช้เวลาศึกษา 3 ปีกระทั่งพบ “กลไกการสื่อสารระหว่างเซลล์” แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตเกล็ดเลือด แม้จะสามารถผลิตเกล็ดเลือดได้สำเร็จแต่ปริมาณยังน้อยเกินกว่าที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วย เนื่องจากได้รับตัวอย่างสเต็มเซลล์เพื่อการวิจัยในปริมาณน้อย และยิ่งนำมาผลิตเป็นเกล็ดเลือดในแล็บยิ่งได้ปริมาณน้อยลงไปอีก ทีมวิจัยจึงพยายามคิดหาวิธีกระตุ้นให้เซลล์เลือดผลิตเกล็ดเลือดให้ได้มากขึ้น จากการทำวิจัย 3 ปีจึงพบว่ามีสารตัวหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์ เมื่อเติมสารนี้ในเซลล์เลือดจะช่วยกระตุ้นให้ปริมาณเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น 30% นอกจากการวิจัยเพิ่มปริมาณเกล็ดเลือดแล้ว ทีมวิจัยยังศึกษาวิธีเปลี่ยนสเต็มเซลล์ผิวหนังให้เป็นเซลล์เลือดเพื่อนำไปผลิตเกล็ดเลือด โดยนำเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์จากผิวหนังมาเลี้ยงแล้วบังคับด้วยน้ำยาเคมีหลายตัวให้เปลี่ยนเป็นเซลล์เลือด จะแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้บริจาคได้เนื่องจากเซลล์จากผิวหนังมีอยู่มาก เพียงแต่ขั้นตอนการทำเซลล์ผิวหนังให้เป็นเซลล์เลือดจะมีความซับซ้อน จึงเป็นโจทย์ให้ทีมวิจัยขบคิดเพื่อพัฒนาวิธีการให้ง่าย “ขณะนี้เราประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนสเต็มเซลล์ผิวหนังให้เป็นเซลล์เลือดได้แล้ว และอยู่ระหว่างการเลี้ยงเซลล์เลือดให้กลายเป็นเซลล์เกล็ดเลือด เมื่อนำมารวมกับงานวิจัยแรกที่สามารถกระตุ้นเพิ่มเกล็ดเลือดได้ 30% ก็จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยโรคเลือดได้อย่างมาก ทั้งนี้ ทีมวิจัยในโครงการนี้มี 4 คน จุดมุ่งหมายหลักคือ ขยายการเลี้ยงเซลล์สู่ระดับอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้เกล็ดเลือดปริมาณมากๆ ขณะเดียวกันก็ต้องให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีและมาตรฐานความปลอดภัยทางการแพทย์ เพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้จริง” ทั้งนี้ เกล็ดเลือด 1 ยูนิตสำหรับให้ผู้ป่วย 1 ครั้งได้จากผู้บริจาคเลือด 4-6 คน แต่กรณีที่ต้องให้เกล็ดเลือดมากกว่า 1 ครั้งก็ต้องใช้ผู้บริจาคจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ เกล็ดเลือดบริจาคจะมีโปรตีนของผู้บริจาคเจือปนมาด้วย ร่างกายผู้ป่วยก็จะสร้างภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถรับเกล็ดเลือดจากผู้บริจาคคนเดิมก็ต้องหาผู้บริจาคใหม่มาทดแทน แต่ในส่วนของโครงการวิจัยจึงศึกษาการใช้สเต็มเซลล์จากผู้บริจาคเพียง 1 คน แล้วนำมาเพิ่มเกล็ดเลือด ก็จะเพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วย ที่สำคัญคือ เกล็ดเลือดจากห้องปฏิบัติการไม่มีโปรตีนเจือปน ความยากในการวิจัยมีหลายเรื่องคือ การศึกษาหากลไกการสื่อสารระหว่างเซลล์ที่เราทำมาตั้งแต่ต้นก็ยังไม่มีใครรู้ว่า กระบวนการนี้มีหน้าที่ในเซลล์เลือดหรือไม่ ถัดมาก็เป็นการเลี้ยงสเต็มเซลล์เปลี่ยนเป็นเซลล์เลือดในห้องทดลองก็ยังเป็นเรื่องยาก แถมสุดท้ายก็ยังได้เกล็ดเลือดในอัตราต่ำ องค์ความรู้นี้จะตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องได้รับเกล็ดเลือดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อผู้ป่วยได้รับเกล็ดเลือดเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะส่งผลให้สุขภาพดีขึ้น ลดภาระการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ลดภาระค่าใช้จ่าย และยังช่วยเปิดโอกาสให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน เกิดการจ้างงาน ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อสังคมและประเทศชาติได้ ทั้งนี้ ในสหรัฐมีบริษัทที่ผลิตเกล็ดเลือดได้ผนวกรวมเทคโนโลยีกับสถาบันวิจัยในญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคนิคเปลี่ยนสเต็มเซลล์ผิวหนังให้เซลล์เลือด คาดว่าในเร็วๆ นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในวงการแพทย์ Bangkokbiznews 11.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร