Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยพบสารสกัดจากเห็ดป้องกัน “โรคผึ้งตายยกรัง”  

ปัญหา “ผึ้งตายยกรัง” เป็นปัญหาที่กำลังคุกคามรังผึ้งทั่วโลก ซึ่งผลกระทบเลวร้ายที่สุดที่ผู้บริโภคอย่างเราอาจจะเจอคือไม่มีน้ำผึ้งให้เราได้กิน อีกทั้งยังจะลุกลามไปถึงผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ที่ต้องอาศัยการผสมเกสรจากผึ้งด้วย ปัญหาผึ้งตายยกรังในปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย (Colony collapse disorder) นี้เพิงถูกยกให้เป็นปัญหานานาชาติเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าต้นตอของปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากไร ไวรัสและการใช้สารเคมีฆ่าแมลง แม้กระทั่งองค์การสหประชาชาติยังออกมาเตือนมาเตือนว่า ครึ่งหนึ่งของแมลงผสมเกสรซึ่งส่วนใหญ่เป็นผึ้งและผีเสื้อนั้น มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ไปจากโลก บางประเทศยังมีมาตรการห้ามสารกำจัดแมลง และคนเลี้ยงผึ้งยังใช้ยาพิษเพื่อจัดการปัญหาไรที่อาจทำลายรังผึ้งทั้งหมด ล่าสุดมีงานวิจัยที่พบว่า สารสกัดจากเห็ดช่วยป้องกันการล่มสลายของผึ้งที่มีสาเหตุจากไวรัสได้ โดยงานวิจัยดังกล่าวได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ไซแอนทิฟิครีพอร์ทส์ (Nature Scientific Reports) และเผยว่าสารสกัดจากเห็ดนั้นช่วยกระตุ้นให้ผึ้งมีภูมิต้านทานต่อไวรัสร้ายแรง งานวิจัยนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการสังเกตว่า ผึ้งกินเห็ดในป่า และมีหลักฐานที่บ่งชี้มากขึ้นว่า ผึ้งรักษาตัวเองได้ด้วยสารสกัดจากพืช ทั้งนี้ มีสารจากเห็ดที่ใช้ต้านไวรัสหลายชนิดในคน และนักวิจัยผู้เขียนรายงานทางวิชาการให้เหตุผลว่า ในกรณีของผึ้งนั้นเห็ดราอาจจะให้สรรพคุณลักษณะเดียวกันด้วย ทางด้าน วอลเตอร์ เชพเพิร์ด (Walter Sheppard) ศาสตราจารย์จากภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตันสเตท (Washington State University) สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ร่วมวิจัยและเขียนรายงานเผยแก่เอเอฟพีว่า งานวิจัยก่อนหน้าที่ทดสอบสารสกัดจากเห็ดว่ามีฤทธิ์ต้านไวรัสในมนุษย์นั้น เป็นความหวังให้แตกแขนงงานวิจัยออกไป ทีมวิจัยได้เริ่มจำกัดขอบเขตงานวิจัยให้แคบลงว่า จะใช้เห็ดราชนิดใดไปทดสอบในผึ้ง และที่สุดได้พุ่งเป้าไปที่ “สารแอมาดู” (amadou) สารคล้ายฟองน้ำที่ผลิตขึ้นจากเห็ดเกือกม้า และสารสกัดจากเห็ดหลินจือ ทีมวิจัยพยายามจะหาคำตอบว่า สารสกัดใดที่จะปกป้องผึ้งจากไวรัส 2 ชนิด ที่สร้างผลร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมเลี้ยงผึ้ง นั่นคือ ไวรัสดีดับเบิลยูวี (deformed wing virus : DWV) และไวรัสแอลเอสวี (Lake Sinai virus : LSV) ในการทดสอบเบื้องต้นทดสอบกับผึ้งในกล่องภายในห้องปฏิบัติการ โดยผึ้งกลุ่มแรกได้รับสารสกัดจากเห็ด ส่วนอีกกลุ่มได้รับน้ำหวานธรรมดา ซึ่งงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากเห็ดแสดงถึงการต้านเชื้อไวรัสได้อย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นการทดสอบได้ขยับสู่ภาคสนาม ซึ่งทีมวิจัยได้สร้างรังผึ้งขึ้นมา 3 จรัง แต่ละรังมีผึ้งนางพญาและผึ้งงานประมาณ 8,000 ตัว และปล่อยให้ผึ้งได้หากินอิสระ และยังให้สารสกัดจากเห็ดแก่ผึ้งงานบางรัง ส่วนบางรังให้น้ำหวานทั่วๆ ไป และพบว่าประชากรที่ได้รับสารสกัดจากเห็ดนั้นพบไวรัสดีดับเบิลยูวีลดลง 79 เท่า ส่วนไวรัสแอลเอสวีลดลงอย่างเห้นได้ชัดถึง 45,000 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มควบคุม เชพเพิร์ดกล่าวว่า การค้นพบดังกล่าวเป็นผลการทดลองที่มีศักยภาพนำไปใช้ได้จริงสำหรับคนเลี้ยงผึ้งที่กำลังมองหาแนวทางปกป้องรังผึ้งของพวกเขา โดยระบุว่า สารสกัดจากเห็ดดังกล่าวนั้นเหมาะสมอย่างยิ่งที่คนเลี้ยงผึ้งจะได้นำไปใช้ เนื่องจากวิธีการสกัดนั้นมีใช้อย่างแพร่หลายอยู่แล้วในอุตสาหกรรมอาหารเสริม Manager online 11.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร