Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โชว์นวัตกรรมเครื่องขึ้นรูปจานใบไม้ลดขยะพิษพลาสติก  

โลกกำลังเผชิญปัญหาวิกฤติจากขยะพลาสติกสังเคราะห์ เช่นเดียวกับประเทศไทยกำลังมีปัญหาขยะท่วมเมือง โดยเฉพาะขยะจากบรรจุภัณฑ์ ถุง ภาชนะของใช้พลาสติกนานาชนิดทำให้ประเทศไทยมีขยะในทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ สัตว์ทะเล และห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ ครั้งแรกในประเทศไทย ผศ.ดร.เจษฎา ชัยโฉม นักวิจัย จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมเครื่องขึ้นรูปจานใบไม้รักษ์โลก ด้วยแรงบันดาลใจและแนวคิดที่ต้องการค้นคว้าหาวัสดุชีวภาพมาทดแทนการใช้จานชามพลาสติกหรือโฟม ซึ่งย่อยสลายได้ยากใช้เวลานานกว่า 300 ปี “กระแสทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการลดขยะพลาสติกที่กำลังคุกคามสิ่งแวดล้อมโลก ดังที่หลายประเทศได้ประกาศยกเลิกการผลิตถุงพลาสติก และอุปกรณ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น มีด ช้อน จาน ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ สหรัฐ แคนาดา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินเดีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เคนยา เมียนมา อินโดนีเซีย และนานาประเทศ” ผศ.ดร.เจษฎา ระบุอีกว่า ความต้องการของตลาดภาชนะที่ย่อยสลายได้ง่ายกำลังเติบโตรวดเร็วทั้งในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ โดยรัฐบาลหลายประเทศโดยเฉพาะสหภาพยุโรปต่างก็สนับสนุนให้ภาคเอกชนขยายการผลิตวัสดุชีวภาพ แทนพลาสติกสังเคราะห์ “ทำไมต้องเป็นใบสัก เนื่องจากประเทศไทยมีการปลูกต้นสักเป็นจำนวนมาก และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยได้ปลดล็อค พรบ.ป่าไม้ ให้ชาวบ้านและชุมชนสามารถสร้างสวนป่า ปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจได้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตัวเอง อีกทั้งตัดต้นไม้ในที่ตัวเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาต” ผลิตผลจากต้นสักทั้งลำต้นและกิ่งถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เฟอร์นิเจอร์ หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ มากมาย แต่ต้องรอให้ต้นสักมีอายุราว 20 ปี เพื่อให้ลำต้นได้ขนาดที่ต้องการ ดังนั้น ช่วงเวลาก่อนตัดต้นสัก เกษตรกรจะใช้ประโยชน์จากใบสักได้ตลอด ตั้งแต่อายุต้นสัก 5 ปี จากการสำรวจของผู้วิจัยพบว่า ต้นสักผลิตใบออกมาจำนวนมาก แต่ยังไม่มีงานวิจัยพัฒนาใดที่ใช้ใบสักซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติมาขึ้นรูปเป็นภาชนะ ทั้งนี้การขึ้นรูปใบไม้นั้นต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมด้วย งานวิจัยที่นำมาแสดงในครั้งนี้สามารถแสดงการขึ้นรูปใบสักได้โดยอาศัยแรงอัด ความร้อน ส่วนผสมพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ ผศ.ดร.เจษฎา เปิดเผยว่า สิ่งประดิษฐ์เครื่องขึ้นรูปจากใบไม้นี้ ออกแบบให้ทำงานอัตโนมัติโดยมีวัสดุ 3 ชั้น ชั้นล่างสุดคือ ใบไม้สด ชั้นกลางคือวัสดุพลาสติกชีวภาพที่ทำจากแป้งมันสำปะหลังหรืออ้อยที่จะช่วยให้ภาชนะประเภทชามทรงตัวขึ้นรูปได้เหมาะกับการใช้งาน ส่วนชั้นบนสุดจะเป็นใบไม้สด เครื่องจะผนึกวัสดุทั้ง 3 ชั้น ด้วยความร้อนสูงประมาณ 200 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นการทำให้แห้งและปลอดเชื้อ ถูกสุขอนามัย ถ้าเป็นจานใบไม้ทรงแบน ก็ไม่ต้องใส่ตัวยึดประสาน “ประโยชน์ของงานนวัตกรรมนี้ ส่งเสริมการใช้ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แพร่หลาย ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้ภาชนะใบไม้แทนจานชามพลาสติก ส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนการรีไซเคิลใบไม้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เกษตรกรและผู้ปลูกไม้สักมีรายได้ช่วงระหว่างรอต้นสักโต ส่งเสริมโอกาสการส่งออกจานชีวภาพจากใบสักใบบัวซึ่งมีตลาดกว้างเนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกได้ประกาศเลิกใช้ถุงและภาชนะพลาสติกหลายชนิด และยังสอดคล้องกับสนับสนุนนโยบายรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ตนเองและใช้ประโยชน์ได้” ในการพัฒนาต้นแบบให้เป็นเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ในอนาคตนั้น นักวิจัยกำลังผลิตประมาณนาทีละ 3 ใบ มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จานใบไม้จากใบสักเหล่านี้จะเป็นทางออกที่ตอบโจทย์ผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคหัวใจสีเขียว พร้อมไปกับสร้างงานให้เกษตรกรและสร้างรายได้แก่เอสเอ็มอีทั่วประเทศ รวมทั้งโอกาสในการส่งออก นอกจาก “ใบสัก” แล้วนักวิจัยยังสนใจ “ใบบัว” เนื่องจากโตเร็ว ขึ้นรูปง่าย มีกลิ่นเฉพาะ โดยอาจต้องส่งเสริมทำนาบัวเพิ่มมากขึ้นเพื่อป้อนตลาด รวมทั้ง “กาบกล้วย” ก็เป็นอีกวัสดุที่ผมสนใจ เพราะบ้านเรามีวัตถุดิบต้นกล้วยเยอะเนื่องจากมีสวนกล้วยหอมจำนวนมาก เมื่อเก็บผลผลิตกล้วยแล้ว ต้นกล้วยถูกฟันทิ้งไปอย่างสูญเปล่า จะได้นำมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก นวัตกรรมเด่นชิ้นนี้ จะนำไปแสดงในงาน “วิศวะ’61 หรือ Engineering Expo 2018” วันที่ 11 - 13 ตุลาคม 2561 ณ อาคาร EH103 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ซึ่งจัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ภายใต้ธีม “Business Transformation – ถอดรหัส...ความสำเร็จให้ธุรกิจในยุคดิจิทัล” Manager online 10.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร