Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ลูกๆ สานงานพ่อตีพิมพ์เล่มสุดท้ายของ “ฮอว์กิง”  

ทายาทนักจักรวาลวิทยาผู้ล่วงลับ “ฮอว์กิง” สานต่องานพ่อตีพิมพ์หนังสือเล่มสุดท้าย ซึ่งพยายามตอบคำถามสำคัญๆ ที่ยังคาค้าง ตั้งแต่พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ ไปจนถึงความเป็นไปได้ที่เราจะเดินทางข้ามเวลา สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) นักจักรวาลวิทยาชื่อดัง ได้เริ่มงานเขียนหนังสือ “Brief Answers to the Big Questions” เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา หนังสือดังกล่าวพยายามตอบคำถามสำคัญๆ อย่างพระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ ไปจนถึงความเป็นไปได้ที่เราจะเดินทางข้ามเวลา แต่ยังไม่ทันเขียนหนังสือเสร็จเขาก็เสียชีวิตลงเมื่อเดือน มี.ค.2018 ขณะอายุได้ 76 ปี ทว่าลูกๆ และเพื่อนๆ นักวิชาการของนักฟิสิกส์ทฤษฎีผู้นี้ ได้ช่วยกันจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าวจนเสร็จสมบูรณ์ และเปิดตัวเมื่อวันจันทร์ที่ 15 ต.ค.นี้ ตามเวลาท้องถิ่น โดยอาศัยฐานข้อมูลส่วนตัวเดิมที่มีปริมาณมหาศาล ลูซี ฮอว์กิง (Lucy Hawking) ลูกสาวของศาสตราจารย์ผู้ล่วงลับ เผยระหว่างเปิดตัวหนังสือเล่มสุดท้ายของพ่อที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (Science Museum) ในลอนดอนว่า ฮอว์กิงมักมีชุดคำถามอยู่ชุดหนึ่ง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็พยายามคำตอบที่ใกล้เคียงคำตอบสุดท้าย ชัดเจนและน่าเชื่อถือที่สุด ซึ่งรวบรวมมาจากคำตอบที่ฮอว์กิงได้ให้ไว้ “สิ่งที่เราทั้งหมดคาดหวังก็เพียงแค่เขาจะอยู่ที่นี่เพื่อเห็นด้วยตัวเอง” ลูซีลูกสาวของฮอว์กิงกล่าวถึงพ่อ ทั้งนี้ฮอว์กิงใช้ชีวิตตลอดทั้งชีวิตที่เหลืออยู่บนรถเข็นอัจฉริยะ เนื่องจากทุพพลภาพจากโรคเซลล์ประสาทสังการเสื่อม (motor neurone disease) และแม้เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ แต่เขาก็อุทิศตนทำงานเพื่อไขปริศนาอันลึกลับของเอกภพ ฮอว์กิงกลายมาเป็นผู้มีชื่อเสียงหลังจากตีพิมพ์หนังสือ “A Brief History of Time” เมื่อปี 1988 ซึ่งกลายเป็นหนังสือขายดีทั่วโลกที่ไม่เหมือนหนังสือเล่มใดๆ เลย หนังสือเล่มดังกล่าวมีผู้ติดตามที่ไม่จำกัดแค่แวดลงฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และทำให้ประชาชนเริ่มร้องขอให้เขาเขียนในเรื่องที่กว้างขึน ซึ่งมีคำตอบอยู่ในผลงานหนังสือเล่มสุดท้ายนี้ 10 คำถามที่ค้างคาใจฮอว์กิงมีดังนี้ 1.พระเจ้ามีจริงหรือไม่ 2.สรรพสิ่งต่างๆ นั้นมีจุดเริ่มต้นอย่างไร 3. มีอะไรอยู่ในหลุมดำ 4. เราทำนายอนาคตได้ไหม 5.การเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้หรือไม่ 6.เราจะอยู่รอดต่อไปบนโลกนี้หรือไม่ 7.มีสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาอื่นในเอกภพอีกหรือไม่ 8.เราควรไปสร้างอาณานิคมในอวกาศหรือไม่ 9.สิ่งมีชีวิตทรงปัญญาอื่นจะรุกรานเราหรือไม่ 10.เราจะกำหนดอนาคตอย่างไร ในหนังสือเล่มสุดท้ายของฮอว์กิงระบุว่า มนุษย์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากอพยพออกจากโลก ซึ่งหากไม่ทำอย่างนั้นมนุษย์ก็จะถูกทำลายล้างไปหมด และยังบอกอีกว่า คอมพิวเตอร์จะเอาชนะมนุษย์ในเรื่องความฉลาดในอีก 100 ปีข้างหน้า แต่เราจะต้องสร้างความมั่นใจว่า คอมพิวเตอร์จะมีเป้าหมายที่ไปในทิศทางเดียวกับเรา ฮอว์กิงยังบอกอีกว่า เผ่าพันธุ์มนุษย์จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพทางด้านจิตใจและร่างกาย แต่การดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ได้เผ่าพันธุ์ยอดมนุษย์ที่มีความทรงจำที่ดีเยี่ยมกว่าเราและต้านทานโรคได้ดีกว่าจะกลายเป็นภัยต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ปกติ ทว่าเมื่อถึงเวลาผู้คนก็จะได้ตระหนักว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น สายเกินเยียวยา ส่วนคำอธิบายที่เรียบง่ายที่สุดคือพระเจ้าไม่มีอยู่จริง และไม่มีหลักฐานเรื่องชีวิตหลังความตายที่น่าเชื่อถือ แต่คนเรายังจะมีชีวิตได้ต่อผ่านอิทธิพลและพันธุกรรมที่สืบต่อ โดยฮอว์กิงระบุว่าในอีก 50 ปีนับจากนี้เราจะเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตนั้นมีจุดเริ่มต้นอย่างไร และเป็นไปได้ว่าเราจะได้ค้นพบว่ามีสิ่งชีวิตอื่นที่ไหนสักแห่งในเอกภพนี้ด้วย ลูซีบอกว่าพ่อของเธอวิตกกังวลอย่างมากเมื่อถึงเวลาที่ปัญหาอุปสรรคต่างๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นของทั้งโลกนั้น แต่เรากลับมองเป็นปัญหาเฉพาะถิ่น ถึงเวลานั้นเราต้องเรียกร้องความสามัคคี มนุษยธรรมเพื่อนำเรากลับมารวมกัน และเผชิญหน้ากับปัญหาท้าทายที่อยู่ตรงหน้าพวกเรา ในรายงานทางวิชาการชิ้นสุดท้ายของฮอว์กิงนั้น เขาได้แย้มให้เห็นมุมมองใหม่เกี่ยวกับหลุมดำ และความย้อนแย้งเชิงข้อมูล (information paradox) ด้วยงานชิ้นใหม่ที่คำนวณเกี่ยวกับปริมาณที่บอกถึงความไม่เป็นระเบียบของระบบ หรือ “เอนโทรปี” (entropy) ของหลุมดำ ซึ่งคำอธิบายดังกล่าวได้นำเสนอในรูปแบบแอนิเมชันระหว่างการเปิดตัวหนังสืออ่านสำหรับคนทั่วไปเล่มท้ายนี้ด้วย Manager online 16.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร