Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ลุ้น "กัญชา" รักษาโรค 1 ม.ค. 62 ชี้แก้ประเภท "ยาเสพติด" ทำได้ใน 1 เดือน  

ลุ้นใช้ "กัญชา" รักษาโรค 1 ม.ค. 62 "หมอโสภณ" ชี้แนวทางเปลี่ยนจากยาเสพติดประเภท 5 เป็นประเภท 2 ทำได้ใน 1 เดือน ด้าน อภ.เตรียมพร้อมผลิตสารสกัดน้ำมันกัญชารองรับ เล็งนำเข้าสาร CBD เพิ่มเพื่อผลิตให้ทันจำนวนและความต้องการ หลังของกลางล็อตแรกได้สาร THC สูงมาก จ่อขอของกลางเพิ่มอีก 2 ตัน นักกฎหมายชี้หากกัญชาทางการแพทย์ครบวงจร ต้องแยกออกกฎหมายเฉพาะ วันนี้ (18 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แถลงข่าวเรื่อง "กัญชาทางการแพทย์ กับกฎหมาย : จากยาเสพติดสู่ยารักษาโรค" ว่า การปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์ ขณะนี้มีอยู่ 5 แนวทาง คือ 1.ประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ 2.สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ 3.การใช้คำสั่งมาตรา 44 ปลดล็อก ซึ่งล่าสุดมีข่าวว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าจะ เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา ภายในวันที่ 19 ต.ค. 4.การใช้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนประเภทสารสกัดจากกัญชาจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 มาเป็นประเภท 2 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และ 5.การร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ ซึ่งมองว่าวิธีที่รวดเร็วที่สุดขณะนี้ คือ การเปลี่ยนประเภทจากยาเสพติดให้โทษประเภท 2 มาเป็นประเภท 5 ใช้เวลาเพียง 1 เดือน ส่วนการใช้คำสั่ง ม.44 จะต้องมีการออกกฎหมายลูกตามมา ต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน "การยกกัญชาจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 มาเป็นประเภท 2 เคยมีการหารือกันว่า สามารถทำได้ เหมือนการเปลี่ยนยาบ้าจากประเภท 2 ไปเป็นประเภท 1 ซึ่งการออกประกาศตรงนี้ คณะกรรมการควบคุมยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวอาจมีผลกระทบ เนื่องจากเป็นการระบุเพียงสารสกัดจากกัญชาหรือน้ำมันกัญชาเท่านั้น ทำให้กล่มแพทย์แผนไทยไม่สามารถนำใบหรือดอกมาใช้ได้ ส่วนเรื่องของการควบคุมก็จะเหมือนกับมอร์ฟีนที่ยกระดับมา การควบคุมจำหน่ายจะดำเนินการโดย อย." นพ.โสภณ กล่าว นพ.โสภณ กล่าวว่า แม้ตามระยะเวลา อภ.จะต้องเร่งผลิตสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ให้ทันภายใน พ.ค. 2562 แต่เมื่อเปลี่ยนระยะเวลาเร็วขึ้น ให้สามารถใช้ได้ภายใน 1 ม.ค. 2562 อภ.ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเร่งผลิตให้เร็วขึ้น แนวทางที่หารือไว้คือ อาจมีการนำเข้าสารสกัดกัญชา CBD บางส่วนเพื่อให้ได้น้ำมันกัญชา 18,000 ขวดตามที่วางไว้ และสามารถใช้ได้ทันใน 1 ม.ค. 2562 เนื่องจากกัญชาของกลางที่ได้รับล็อตแรกจำนวน 100 กิโลกรัม เพื่อมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต พบว่ามีสาร THC สูง ประมาณ 30-40 ต่อ CBD 1 ส่วน ซึ่งการนำมาใช้รักษาโรคต่างๆ นั้น อัตราส่วนของ THC ต่อ CBD จะไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่จะเป็น 1:1 เบื้องต้นก็มีการหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ซึ่งจับกัญชาของกลางได้ประมาณ 1,800 กิโลกรัม ทาง อภ.จะขอมา 2 ตัน ซึ่งทั้งหมดเป้นการทำในระดับห้องปฏิบัติการที่ อภ.ถนนพระราม 6 "อย่างไรก็ตาม อภ.คงไม่รอใช้แค่ของกลาง สเต็ปที่สอง คือ จะต้องทำระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot Plant) โดยปรับปรุงตึกอาคารโรงงานผลิตยาที่รังสิต โดยจะปรับพื้นที่และปลูกให้เร็วที่สุด และนำเข้าเครื่องสกัดขนาดใหญ่ งบประมาณ 7-8 ล้านบาท ส่วนการทำในระดับอุตสาหกรรมนั้น อภ.มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ ที่ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี เพื่อให้เป็นเฮอร์เบิล คอมเพล็กซ์ โดยมีการปลูกและสกัดแบบครบวงจร ทั้งกัญชาและขมิ้นชัน โดยทำเป็นป่าสมุนไพร และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้วย" นพ.โสภณ กล่าว นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนคำถามที่ว่าหลังจากปลดล็อกแล้วจะดำเนินการอย่างไร ช่วงแรกอาจต้องดำเนินการโดยรัฐเพียงเท่านั้น เพราะหากเปิดให้เอกชนทำ ซึ่งต่างชาติที่มีความพร้อมทั้งเม็ดเงินและเมล็ดพันธุ์เข้ามาลงทุน เราก็อาจวิ่งตามเขาไม่ทัน ซึ่งสุดท้ายจะเป็นอย่างไรก็ต้องถามประชาชนและรัฐบาล สำหรับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์แล้ว หลักๆ มี 4 กลุ่ม คือ 1. รักษาอาการคลื่นไส้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้คีโม 2. โรคลมชักดื้อต่อการรักษาในเด็ก 3. ปลอกประสาทอักเสบ และ 4. อาการปวดรุนแรง และจะมีการพิจารณาข้อบ่งชี้เพิ่มเติม ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 19 ต.ค.นี้ ส่วนข้อเสนอเพื่อการรักษาโรคอื่นๆ เช่น อัลไซเมอร์ และพาร์กินสันนั้นก็จะศึกษาไปพร้อมกัน ผศ.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเลือกวิธีปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์ ขึ้นกับว่าวัตถุประสงค์ทำเพื่ออะไร หากมองในระยะยาว ที่จะทำระบบอย่างครบวงจรตรงเป้า เพื่อคนป่วยอย่างแท้จริง ไม่มีการเมืองหรือทุนเข้าแทรก เข้าใจว่าอาจจะต้องแยกออกมาเป็นกฎหมายเฉพาะ แล้วใช้ ม.44 อำนวยความสะดวกให้กฎหมายเฉพาะนี้คลอดออกมาเร็วกว่าปกติ แต่นี่ก็ไม่ใช่คำตอบเดียว เป็นเพียงทางเลือก อย่างที่ สนช.พยายามทำอยู่ก็เข้าใจ อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า "ปลดล็อก" ไม่ได้แปลว่าฟรีจากการควบคุมหรือปลอดจากการควบคุม ปลดล็อกกัญชาในที่นี้หมายถึงการปลดจากการถูกสาปให้เป็นยาเสติดชั่วนิรันดร์ โดยเอาด้านที่เป็นประโยชน์มาใช้ทำยา แต่ก็ต้องมีกระบวนการกฎหมายควบคุมอย่างเคร่งครัด ทั้งการปลูก การทดลอง การผลิต จนถึงการใช้ ซึ่งมองว่า พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ เอาไม่อยู่ เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อปราบปราม ไม่ได้อำนวยความสะดวกในการผลิตยารักษาโรค ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า กัญชาพันธุ์ไทยมีสาร THC สูง จึงอาจต้องนำเข้าสาร CBD เพิ่มเติม แต่ก็ต้องรอกฎหมายจาก อย.ด้วย ซึ่งเบื้องต้นจะติดต่อซื้อจากจีน ซึ่งผลิต CBD จากต้นกัญชง เพราะสามารถใช้ได้เหมือนกัน ราคาอยู่ที่ 6-7 แสนบาทต่อกิโลกรัม สำหรับสาร CBD เนื่องจากไม่มีฤทธิ์ทางเสพติด หลายประเทศส่วนใหญ่จะผลิต CBD มาจากกัญชง เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป โดยต้องมี THC ผสมไม่เกินตามที่กำหนด เช่น สหรัฐฯ ไม่เกิน 0.3% เป็นต้น โดยปัจจุบันนิยมนำสาร CBD มาผสมลงในอาหาร เช่น น้ำอัดลม น้ำเปล่า คุ้กกี้ เป็นต้น คล้ายเป็นวิตามินเสริมให้ร่างกาย เพราะปกติร่างกายคนเรามีระบบในการรับสารตัวนี้และผลิตในร่างกายอยู่แล้ว แต่เมื่ออายุมากขึ้นก็จะเริ่มเสียสมดุล นอกจากนี้ ยังนำไปทำเครื่องสำอางรักษาสิว แผ่นแปะแก้ปวด หรือแม้แต่อาหารสุนัข เพื่อลดความเครียดการเจ็บปวดในสุนัข ทำให้สงบด้วย Manager online 18.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร