Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

แพทย์จุฬาฯ ลุยเฟสสอง "ยาต้านมะเร็ง" จากภูมิคุ้มกัน พร้อมวิจัยเซลล์บำบัด-วัคซีนรักษามะเร็ง  

คณะแพทย์ จุฬาฯ พร้อมวิจัยเฟส 2 ทันที "ยาแอนติบอดี" ต้านมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน หลังคนบริจาคเกิน 10 ล้านบาทแล้ว วอนบริจาคต่อเนื่อง เหตุยังต้องใช้เงินอีกมาก หวังสำเร็จช่วยราคายาถูกลงจาก 8 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าวิจัยเซลล์บำบัด และวัคซีนรักษามะเร็ง ความคืบหน้ากรณีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าวิจัยยาต้านมะเร็งจากภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งขณะนี้สำเร็จในเฟส 1 แล้ว กำลังเข้าสู่เฟส 2 เพื่อปรับปรุงแอนติบอดีให้คล้ายมนุษย์ที่สุด เบื้องต้นต้องใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท และตลอดทั้ง 5 เฟสต้องใช้งบ 1,500 ล้านบาท จนป้นที่มาของการชักชวนให้ประชาชนร่วมบริจาคทำการวิจัยนั้น วันนี้ (24 ต.ค.) ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ​ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ​และ ผอ.รพ.จุฬาลงกรณ์​ สภากาชาดไทย​ แถลงข่าวแพทย์จุฬาฯ ก้าวไกล... สร้างนวัตกรรมการรักษามะเร็ง​ ว่า​ ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น​ โดยเฉพาะไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้พบโรคมะเร็งมากขึ้น​ จุฬาฯ จึงมียุทธศาสตร์ในการวิจัย​ การเรียน การสอนเพื่อให้คนไทยได้รับการดูแลเรื่องโรคมะเร็งอย่างครบวงจร​ โดยจุฬาฯมีความพร้อมในทุกศาสตร์ของโรคมะเร็ง​ และเพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยเข้าถึงสิทธิในการรักษาอย่างเท่าเทียม​ โครงการรักษาด้วยแอนติบอดี้จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จุฬาฯทำการวิจัยพัฒนาเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริงต่อสังคม​ ซึ่งต้องใช้เวลานานและมีงบสนับสนุนต่อเนื่อง นพ.ไตรรักษ์​ พิสิษฐ์กุล​ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบคณะแพทยศาสตร์​ จุฬา​ฯ​ กล่าวว่า​ มะเร็งจะสร้างเซลล์พีดีแอล-1 ขึ้น เพื่อจับกับเซลล์พีดี-1 ของทีเซลล์หรือเซลล์ภูมิคุ้มกัน เพื่อหลอกว่า เป็นเซลล์ปกติ ทำให้ไม่เกิดการทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งขณะนี้ทีมวิจัยได้ค้นหาแอนติบอดีต้นแบบ 1 ตัว ที่สามารถหยุดการทำงานไม่ให้พีดี-1 และพีดี-แอล1 มาจับคู่กันได้ ให้ผลในหลอดทดลองใกล้เคียงกับยาแอนติบอดีของต่างประเทศ​ ซึ่งปัจจุบันมีการรับรองให้ใช้รักษาในมะเร็ง 15 ชนิด​ อาทิ​ มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง​ มะเร็งไต มะเร็งต่อมน้ำเหลือง​ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ​ มะเร็งปากมดลูก​ เป็นต้น กำลังเข้าสู่เฟส 2 ในการปรับปรุงแอนติบอดีให้มีความคล้ายของมนุษย์ ซึ่งสามารถเริ่มได้เลย เพราะได้รับเงินบริจาคเกิน ​10 ​ล้านบาทแล้ว​ ​แต่ยังสามารถบริจาคเข้ามาได้เรื่อยๆ เพราะต้องการงบ 200​ ล้านบาท​ ในการพัฒนาผลิตเข้าโรงงาน อย่างไรก็ตาม จะมีการทำแอนติบอดี้ต้นแบบจากหนูเพิ่มอีก 10 ตัว​ เนื่องจากมีโอกาสเพียง 10% ที่ยาต้นแบบที่เราพัฒนาได้จะไม่ซ้ำกับของประเทศอื่น "ตั้งเป้าว่าภายในปี 2566 จะมียาใช้ทดลองในผู้ป่วยได้ และหากได้ยาแอนติบอดีมาก็อยากให้เป็นสิทธิบัตรของสภากาชาดไทย​ รวมถึงให้สภากาชาดไทยเป็นผู้กระจายยาดังกล่าว​ ทั้งนี้ การที่เราทำการศึกษาวิจัยพัฒนายารักษามะเร็งขึ้นเองในประเทศไทย​ เพราะขณะนี้เราต้องนำเข้ายาดังกล่าวจากต่างประเทศ 100% ยากลุ่มนี้จึงมีราคาแพง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงการรักษาการผลิตยาใช้เองในประเทศจะทำให้เราสามารถควบคุมราคาค่ารักษาได้และสามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยาของผู้ป่วยด้วย" นพ.ไตรรักษ์ กล่าว​ ศ.ดร.พญ.ณัฏฐิยา​ หิรัญกาญจน์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ​ กล่าวว่า​ แอนติบอดีไม่ได้ใช้ได้กับทุกคน ใช้ได้เฉพาะบางคน​เท่านั้น​ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยรายใดใช้แอนติบอดีรักษาไม่ได้ก็จะต้องใช้วิธีอื่น​ ซึ่งจุฬาฯ กำลังทำการวิจัยพัฒนา​ต่อยอด​ เช่น​ การ​ใส่เซลล์เม็ดเลือดขาวหรือที่เรียกว่าเซลล์บำบัด​ แต่วิธีนี้ต้องทำในที่ที่มีความสะอาดและปลอดภัยเท่านั้น​ นอกจากนี้ ยังมีวิธีการผลิตวัคซีนรักษาโรคมะเร็ง โดยเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกัน​ เป็นต้น ​ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ จุฬาฯ กำลังต่อยอดทำวิจัยอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยาแอนติบอดี้ยังมีราคาสูง​เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ​ ซึ่งผู้ป่วย 1 รายต้องจ่ายเงินในการรักษาเองประมาณ​ ​8​​ ล้านบาท​ หากจุฬาฯ พัฒนาสำเร็จค่าใช้จ่ายจะถูกลง​ หวังว่าราคาน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน​ 1​ ล้านบาท​ หรือถูกลง​ 10​ เท่า​ ​ถือว่ามีความคุ้มค่าในการรักษา​ และเชื่อว่ารัฐบาลอาจมีการนำยาเข้าสู่หลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสิทธิบัตรทอง​ ดังนั้น เราต้องรีบทำการวิจัยและพัฒนาให้ได้ยามาใช้โดยเร็วที่สุดภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย ผู้สนใจสามารถสมทบทุนได้ที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขบัญชี 408-004443-4 ชื่อบัญชีคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เงินบริจาคเพื่อการวิจัย) ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาสภากาชาดไทย และบัญชีใหม่ที่เพิ่งเปิดเลขที่บัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ 045-304669-7 ชื่อบัญชีบัญชีคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เงินบริจาคเพื่อการวิจัย) ข้อมูลจากเอเอฟพีระบุด้วยว่าการผลิตพลาสติกทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว และปัจจุบันมีการผลิตมากถึงปีละ 400 ล้านตัน และประมาณกันว่ามีพลาสติก 2-5% ที่ถูกพัดพาลงสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นแหล่งที่พลาสตอกจะแตกสลายเป็นอนุภาคเล็กๆ Manager online 24.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร