Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

คัด 11 ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ ตะลุยญี่ปุ่น  

สวทช. จับมือ สถานทูตญี่ปุ่น คัด 11 ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ ตะลุยญี่ปุ่นในโครงการ JENESYS 2018 รอบ 1/2561 สัมผัสเทคโนโลยี วัฒนธรรม เพิ่มพูนประสบการณ์วิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ความร่วมมือสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คัด 11 เยาวชนไทยพร้อมจัดปฐมนิเทศเตรียมความพร้อมก่อนตะลุยญี่ปุ่นในโครงการ JENESYS 2018 (9th Batch Exchange for “Monozukuri (Manufacturing)” and Technology (Thailand) หรือโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศอาเซียน จำนวน 8 วัน ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 6 พฤศจิกายน 2561 ณ กรุงโตเกียว และจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยมี นายมาซาฮารุ คูบะ (Mr. Masaharu Kuba) เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และนางอติพร สุวรรณ หัวหน้างานส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง (JSTP) ฝ่ายพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย สวทช. ร่วมแสดงความยินดี นายมาซาฮารุ คูบะ (Mr. Masaharu Kuba) เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทยกล่าวว่า โครงการ JENESYS หรือ Japan-East Asia Network of Exchange for Students and Youths ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ในการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศญี่ปุ่น กับประเทศในกลุ่มอาเซียนและโอเชียเนีย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเสริมสร้างความเข้าใจในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นในมุมที่กว้างขึ้น โดยโครงการ JENESYS 2018 สำหรับประเทศไทย ในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ 9th Batch Exchange for “Monozukuri (Manufacturing)” and Technology (Thailand) “น้องๆ จะได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มิไรคัง ที่กรุงโตเกียว และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในจังหวัดฮอกไกโด ซึ่งแม้จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่น้องๆ จะได้รับความประทับใจ และความสนุกสนานกลับมาแน่นอน โดยในการทัศนศึกษา น้องๆ จะได้พบเห็นวัฒนธรรมญี่ปุ่น การศึกษา และเทคโนโลยีในระดับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เมื่อดูแล้วอยากให้ลองตั้งคำถามกับสิ่งที่พบเจอ และหาคำตอบว่าเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น ทำไมคนญี่ปุ่นถึงสร้างเทคโนโลยีนั้นออกมา โดยกิจกรรมมีระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จึงมีโปรแกรมทัศนศึกษาที่เข้มข้นมาก และคิดว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนในอนาคตสำหรับน้องๆ ได้ ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นมุ่งหวังให้เมื่อน้องๆ กลับมาประเทศไทยแล้วได้เผยแพร่สิ่งที่ได้รับผ่านโซเชียลมีเดีย สู่ครอบครัว และเพื่อนๆ ได้รับทราบทั่วถึงกัน เพื่อเป็นรากฐานที่จะผูกสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในอนาคตต่อไป” นางอติพร สุวรรณ หัวหน้างานส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง (JSTP) ฝ่ายพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย สวทช. กล่าวว่า สวทช. โดยงานส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง ฝ่ายพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย ได้ให้ความร่วมมือแก่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในการดำเนินการคัดเลือกเยาวชนไทยเข้าร่วมโครงการ JENESYS มาแล้วหลายรุ่น โดยในรอบ 1 ประจำปี 2561 ได้คัดเลือกเยาวชนไทยจำนวน 11 คนจากทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ JENESYS 2018 ซึ่งถือเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ที่จะได้เดินทางไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น พร้อมแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่าสำหรับน้องๆ เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมากกว่าการเดินทางไปแบบส่วนตัว ด้าน 2 เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ น.ส.ชุติกาญจน์ ศรีสอาดรักษ์ (มิ้นท์) นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนดรุณสิกขาลัย (โครงการ วมว.) กรุงเทพฯ เผยว่า หลังจากที่กลับมาจากโครงการ JENESYS 2018 นี้ ตั้งใจจะนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และการที่เราได้ไปรู้จักคนอื่น คนที่มีพื้นฐานแตกต่างจากเรา เราจะได้เห็นในเรื่องของกระบวนการทางความคิดหรือ mindset ของเขา “เพราะการที่เราคนไทยได้ไปเจอคนญี่ปุ่นหรือเพื่อนที่มาจากต่างประเทศ เราจะมีมุมมองแตกต่างกัน ดังนั้น เวลาเรามองสิ่งหนึ่งแล้วเราจะได้เห็นมุมมองเขาว่า เขาสามารถมองสิ่งนี้เป็นแนวคิดอย่างไร และเราจะได้เห็นอะไรหลากหลายยิ่งขึ้นจากสิ่งที่เราเคยเจอ” ขณะที่ นายพุฒิเมธ เลขะกุล พรหมอินทร์ (แทน) นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา เผยว่า มีความคาดหวังจากโครงการ JENESYS 2018 อยู่สองส่วน ในส่วนแรกคือในด้านเทคโนโลยี คือจากหัวข้อของค่ายนี้เราจะไปเยี่ยมชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในด้านเทคโนโลยี จุดเด่นคือเขาสามารถนำเทคโนโลยีให้มาอยู่ในชีวิตประจำวันของคนได้อย่างใกล้ชิด สิ่งที่ผมต้องการทราบคือเขาทำอย่างไร แล้วเราจะได้นำมาปรับใช้กับประเทศเรา ส่วนที่สองคือเรื่องมารยาทของผู้คนและเรื่องการฝึกงาน “คนญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องความมีมารยาท ความรับผิดชอบ และคุณภาพของบุคลากร ผมอยากเห็นว่าคนญี่ปุ่นเขามีการฝึกคนในเรื่องดังกล่าวอย่างไร” Manager online 24.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร